อองซาน ซูจี ผู้นำพลเรือนของประเทศเมียนมาร์ ถูกรัฐสภายุโรปเรียกคืนรางวัลซาคารอฟ ‘Sakharov Prize Community’ หลังจากเธอยอมรับการก่ออาชญากรรมต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมชาวโรฮิงยา
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: อองซาน ซูจี ถูกถอดรางวัลอันทรงเกียรติอีกครั้ง
อองซาน ซูจี ผู้นำพลเรือนของประเทศเมียนมาร์ ถูกรัฐสภายุโรปเรียกคืนรางวัลซาคารอฟ ‘Sakharov Prize Community’ หลังจากเธอยอมรับการก่ออาชญากรรมต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมชาวโรฮิงยา
นางซูจี ซึ่งเป็นอดีตนักรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ได้รับรางวัลดังกล่าวในฐานะผู้ต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น จากที่ประชุมสหภาพยุโรปในปี 1990 ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งปีก่อนที่เธอจะได้รับรางวัลโนเบล โดยเธอจะไม่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่องค์กรผู้มอบรางวัลจัดขึ้น
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวรัฐสภาแห่งยุโรประบุว่า รางวัลที่เธอได้รับที่มาจากผลงานที่ทำก่อนปี 1990 จะไม่สามารถเรียกคืนได้ แต่เท่านี้ก็ถือเป็นการลงโทษอย่างรุนแรงที่สุดจากองค์กรรัฐสภายุโรปแล้ว
ผู้นำกลุ่มและโฆษกของชุมชนรัฐสภาแห่งยุโรป ได้แชร์แถลงการณ์ซึ่งระบุถึงการตัดสินใจครั้งนี้ ว่า การกระทำของซูจีเป็นความล้มเหลว เพราะเธอเห็นด้วยกับการก่ออาชญากรรมต่อชาวมุสลิมโรฮิงยา
ประเทศเมียนมาร์ มีประชากรส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธ และยังคงมีการเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม ทั้งที่เป็นพลเมืองดั้งเดิมในเมืองหลวง และชาวโรฮิงยาในแคว้นยะไข่ ซึ่ง 3 ปีก่อนหน้านี้ มีชาวโรงฮิงยาราว 740,000 คน อพยพลี้ภัยการกวาดล้างไปอาศัยอยู่ในบังคลาเทศ
ในอดีต นางซูจี เคยเป็นนักโทษการเมืองที่ต่อสู้กับการปกครองของทหาร เธอเคยได้รับการเชียร์ให้เป็นแชมป์แห่งเสรีภาพทั่วโลก แต่ปัจจุบันเธอเป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐ ที่มีอำนาจสูงสุดฝ่ายพลเรือน และถูกกล่าวหาว่า แสร้งทำเป็นไม่เห็นหรือไม่ยอมยืนหยัดต่อสู้กับการทำทารุณกรรม
อนึ่ง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในเมียนมาร์เริ่มต้นขึ้นในสัปดาห์นี้ โดยพรรคการเมืองของซูจี ที่คาดหวังว่าจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปี 2015 จะเข้าร่วมชิงชัยอีกครั้ง เป็นการปกป้องบทบาทและพยายามต่อต้านกระแสการปกครองของกองทัพเมียนมาร์อันแข็งแกร่ง
ที่มา: www.theislamicinformation.com
http://news.muslimthaipost.com/news/34473
- มุสลิมโรฮิงญาเกือบ 300 คนขึ้นฝั่งอินโดนีเซีย
- สุดระยำ! ทหารเมียนมาร์สารภาพ ถูกสั่งฆ่าโรฮิงยาทุกคน ข่มขืนไม่เลือก
- มุสลิมโรฮิงญา ติดโควิด-19 ตายศพแรกในบังคลาเทศ
- ชมภาพประวัติศาสตร์ มัสยิดทั่วโลกเงียบเหงา ร้างผู้คนในเดือนรอมฎอน
- มุสลิมโรฮิงยา 2 แสนตบเท้ารำลึก“วันฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”
- 'เมียนมาร์'ไม่ยอมรับคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของ UN