สำนักข่าวมุสลิมไทย สถานการณ์บุรก้าในยุโรป
ถึงแม้จะมีการรณรงค์ทางการเมือง แสดงความไม่เห็นด้วยกับการแต่งกายแบบบุรก้า หรือนิกอบ ของสตรีมุสลิมในที่สาธารณะ แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีประเทศตะวันตกประเทศใดสั่งห้ามการแต่งกายชนิดนี้อย่างเด็ดขาด มาดูสถานการณ์ในแต่ละประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
ฝรั่งเศส ปี 2004 ฝรั่งเศสออกกฎหมายห้ามคลุมฮิญาบ รวมทั้งห้ามใส่ หรือแขวนสัญลักษณ์อื่นที่สื่อถึงศาสนาในโรงเรียนรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (30/03) ฝ่ายบริหารสูงสุดของประเทศกล่าวว่า ไม่มีกฎหมายพื้นฐานที่สามารถจะนำมาใช้บังคับ กับการห้ามแต่งกายชนิดนี้อย่างเด็ดขาดในที่สาธารณะ โดยระบุว่า สามารถห้ามสวมชุดที่คลุมทั้งหมดได้ในเพียงบางสถานที่ เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัยเท่านั้น
เบลเยี่ยม เมื่อวันพุธที่ผ่านมา คณะกรรมการรัฐสภาเพิ่งเริ่มถกเถียงกันในร่างกฎหมายที่อาจจะมีการห้ามสวมบุรก้าหรือนิกอบในที่สาธารณะ บางเขตการปกครองท้องถิ่นมีการออกกฎห้ามสวมบุรก้าในที่สาธารณะแล้ว และให้สิทธิตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายห้ามการสวมหน้ากากปิดหน้าออกนอกบ้าน ยกเว้นในการแสดงคาร์นิวาลเท่านั้น
เดนมาร์ค เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา รัฐบาลแสดงความตั้งใจที่จะออกกฎหมายห้ามคลุมหน้า แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด
เนเธอร์แลนด์ มีการถกเถียงกันในร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการคลุมหน้า รวมทั้งมาตรการที่จะห้ามครู และข้าข้าราชการพลเรือนแต่งกายแบบบุรก้าด้วย
อิตาลี ปี 1975 มีการออกกฎหมายที่ระบุว่า การปกปิดใบหน้าในที่สาธารณะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ทั้งนี้มีจุดประสงค์ที่จะปกป้องระเบียบในสังคม และมีการนำมาปรับใช้กับการคลุมหน้าของผู้หญิงมุสลิมด้วย ปัจจุบันผู้ว่าราชการในบางท้องถิ่น โดยเฉพาะในเขตปกครองของกลุ่มนอร์เธิร์น ลีก ซึ่งต่อต้านผู้อพยพ ออกกฎห้ามสตรีคลุมหน้าในที่สาธารณะแล้ว
อังกฤษ ในอังกฤษไม่มีกฎหมายที่ใช้สนับสนุน ในการบีบบังคับเรื่องแต่งกายตามศาสนา อย่างไรก็ตามในเดือนมีนาคม 2007 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกคำแนะนำที่ระบุว่า ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือโรงเรียนทางศาสนาต่างๆ มีสิทธิที่จะพิจารณาอนุญาตให้สวมนิกอบในสถานที่นั้นๆ
ออสเตรีย Gabriele Heinisch-Hosek รัฐมนตรีกิจการสตรีจากพรรคโซเชียล เดโมเครติค กล่าวว่า เธออยากให้ออกกฎหมายห้ามการแต่งกายแบบบุรก้าในที่สาธารณะ หากเห็นว่าผู้หญิงที่แต่งกายแบบนี้มีจำนวนมากขึ้นกว่านี้ www.msulimthai.com