เมืองโบราณยะรัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร "ลังกาสุกะ"


 เมืองโบราณยะรัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร "ลังกาสุกะ"

เมืองโบราณยะรัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร "ลังกาสุกะ"
ประวัติความเป็นมา

 
เป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วงปี พ.ศ. 700 – 1400 ทิศเหนือติดต่อเมืองสงขลา และพัทลุง ทิศใต้แผ่ไปจนสุดแหลมมลายู ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลทั้งสองฝั่ง มีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยและทวราวดี เมืองโบราณยะรังเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นอย่างมาก อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักร "ลังกาสุกะ" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดอาณาจักรหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู มีหลักฐานอยู่ในเอกสารจีน อาหรับ ชวา และมลายู ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 และสันนิษฐานว่าน่าจะมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลคลุมไปถึงรัฐไทรบุรี ของสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย อีกทั้งจะต้องเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และเป็นดินแดนที่มีความมั่นคง มีบทบาททางการเมือง ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอและได้ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12

 เมืองโบราณยะรัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร "ลังกาสุกะ"


เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทยและเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า “ลังกาสุกะ” หรือ “ลังยาเสียว” ตามที่มีหลักฐานปรากฎในเอกสารของจีน ชวา มลายู และอาหรับ ลักษณะของเมืองโบราณยะรัง สันนิษฐานว่า มีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่มีการสร้างทับซ้อนกันถึง 3 เมือง ขยายตัวเชื่อมต่อกัน ประกอบไปด้วย

 เมืองโบราณยะรัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร "ลังกาสุกะ"

- เมืองโบราณบ้านวัด มีศูนย์กลางเป็นลานจัตุรัสกลางเมือง ล้อมรอบด้วยคูน้ำและมีซากเนินดินโบราณสถานกระจายอยู่โดยรอบกว่า 25 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือในบริเวณพื้นที่บ้านจาเละ

- เมืองโบราณบ้านจาเละ มีศูนย์กลางอยู่ที่สระน้ำ โอบล้อมด้วยคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมถัดจากกลุ่มโบราณสถานบ้านวัดขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร

- เมืองโบราณบ้านปราแว เป็นเมืองคูน้ำ คันดินขนาดเล็กที่มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่ามีป้อมดินทั้ง 4 มุมเมือง และมีคลองส่งน้ำต่อเชื่อมกับคูเมืองโบราณบ้านจาเละสี่มุมเมืองด้านทิศเหนือทั้ง 2 ด้าน

นอกจากร่องรอยของคูน้ำ  คันดินคูเมืองโบราณทั้ง 3 แห่งแล้วภายในกลุ่มเมืองโบราณนี้ ยังปรากฎซากโบราณสถานเนินดินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 แห่ง  การเดินทางไปสู่แหล่งเมืองโบราณสามารถใช้เส้นทางสิโรรส (ทางหลวงหมายเลข 410) จากจังหวัดปัตตานีลงไปทางจังหวัดยะลาประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือสายยะรัง-มายอ (ทางหลวงหมายเลข 4061) ประมาณ 1.2 กิโลเมตร เข้าสู่เขตเมืองโบราณและเลี้ยวซ้ายขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ  400 เมตร ถึงเขตโบราณสถานบ้านจาเละ

 เมืองโบราณยะรัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร "ลังกาสุกะ"
ลักษณะทั่วไป
มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดประมาณ 500 X 550 เมตร มีคูน้ำ ดันดินล้อมรอบทั้งสี่ด้านและที่ป้องทั้งสี่มุม และมีคูน้ำขุดล้อมต่อลงมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมของเมืองขยายทางทิศใต้ คือเมืองโบราณบ้านจาและ


หลักฐานที่พบ

จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุหลายประเภท ได้แก่

1. สถูปจำลองดินดิบ ดินเผาจำนวนมาก ประกอบด้วยประติมากรรมนูนต่ำ รูปท้าวกูเวระ พระพุทธเจ้าประทับนั่งขนาบด้วยสถูปจำลองทั้งสองข้าง

2. พระพิมพ์ดินเผาและพระพิมพ์ดินดิบรูปแบบต่าง ๆ เช่น

    2.1 พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปเดี่ยว แบบสาญจี(โอคว่ำ) ด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
   2.2 พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปจำลอง ฐานสูง ๓ องค์เรียงกันด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
    2.3 พระพิมพ์ดินดิบ รูปพระพุทธเจ้าประทับยืนในท่าติกังก์ และทางวิตรรกะมุตรา

3. เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเปอร์เซียเคลือบสีฟ้าอมเขียว

4.เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเซลาคอน สีเขียวมะกอก โบราณวัตถุเหล่านี้เปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปะร่วมสมัยศิลปทวาราวดี ทางภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งกำหนดอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 – 11

 เมืองโบราณยะรัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร "ลังกาสุกะ"
สถานที่ตั้ง อยู่ในบริเวณ หมู่ที่ 3 ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
เส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณยะรัง
จากตัวเมืองปัตตานี ไปทางทิศใต้ตามถนนสายปัตตานี - ยะลา ประมาณ กิโลเมตร ถึงอำเภอยะรัง เลี้ยวซ้ายสู่เมืองโบราณ ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร

 เมืองโบราณยะรัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร "ลังกาสุกะ"

 เมืองโบราณยะรัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร "ลังกาสุกะ"

ที่มา                  www.pattanilocal.go.th

อัพเดทล่าสุด