นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด <<<<<< ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย


นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย

ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราเป็นเสมือนต้นกำเนิดแห่งลมหายใจที่บริสุทธิ์และอากาศที่สะอาดสดใสและสดชื่น “ป่าพรุโต๊ะแดง” ผืนป่าแห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ก็เช่นกัน คืออีกหนึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เป็นป่าพรุที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีเนื้อที่มากที่สุดในบรรดาพรุที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทย


ป่าพรุโต๊ะแดงมีความกว้างประมาณ ๘ กิโลเมตร และยาวประมาณ ๒๘ กิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมอาณาเขตของอำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๒๐๙,๗๕๕ ไร่ พื้นที่ป่าพรุมีแหล่งนํ้าสำคัญ ๓ สายไหลผ่านคือ แม่นํ้าบางนรา คลองสุไหงปาดี และคลองโต๊ะแดง อันเป็นที่มาของชื่อป่าแห่งนี้ โดยได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มนํ้าลำดับที่ ๑๑๐๒ ของประเทศไทยเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๔

นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย


ลักษณะเฉพาะของป่าพรุโต๊ะแดงพบว่าเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งมีความหลากหลายค่อนข้างสูง สภาพเปราะบางต่อการถูกทำลาย แต่ป่าพรุโต๊ะแดงก็สามารถสร้างประโยชน์ให้กับธรรมชาติและราษฎรในพื้นที่ได้อย่างมหาศาล ทั้งในเรื่องการเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะเป็นแหล่งพันธุกรรมของพรรณไม้ป่าที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ และพรรณไม้ที่หายากอีกหลายชนิดในประเทศ รวมทั้งยังมีพรรณไม้ป่าพรุอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ เช่น หมากแดง หมากงาช้าง เต่าร้าง กะพ้อ รัศมีเงิน เป็นต้น พรรณไม้ป่าพรุหลายชนิดอาจจะนำ มาใช้คัดเลือกพันธุ์หรือใช้เป็นต้นตอในการสร้างสวนผลไม้ เช่น มะมุด มะม่วงป่า เงาะป่า และหลุมพี ปาล์มและหวายบางชนิดใช้ในการก่อสร้างและทำครัวเรือน เช่น หลาวชะโอน หวายตะคล้าทอง พรรณไม้หลายชนิดเป็นอาหารของสัตว์ป่า เช่น หลุมพี สะเตียว หว้าหิน ชมพู่เสม็ด เงาะป่า สะท้อนพรุ มะมุด มะม่วงป่า และมะเดื่อต่าง ๆ รวมทั้งพืชสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น จันทนากาพุ่ม เทพี สักชี อบเชย ข่าลิง หลาว จันทน์แดง บอนจีน ฯลฯ

นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย


ประโยชน์ของป่าพรุโต๊ะแดงนอกจากจะประกอบด้วยไม้และของป่าที่อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์แล้ว ยังเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดและยังมีปลาบางชนิดที่พบเฉพาะในป่าพรุด้วย เช่น ปลาดุกรำพัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบความหลากหลายของชนิดสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าพรุดั้งเดิมกับพื้นที่อื่น ๆ รอบป่าพรุ เช่น ป่าเสม็ด ทุ่งนา ทุ่งกระจูด ฯลฯ พบว่า สัตว์ป่าชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจจะอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ส่วนใหญ่ยังสามารถพบเห็นได้ในป่าพรุดั้งเดิม


นอกจากนี้ เรายังพบว่า ป่าพรุยังให้ข้อมูลด้านการวิวัฒนาการของสังคมพืช การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศของท้องถิ่นครั้งอดีตกาล ข้อมูลเหล่านี้ ได้จากการวิเคราะห์ซากเรณูดอกไม้ ที่ถูกเก็บรักษาคงสภาพไว้อย่างดี ปะปนอยู่ในชั้นดินตะกอนและชั้นอินทรียวัตถุของพืชและจำนวนเรณูของพืชและจำนวนของเรณูแต่ละชนิดในชั้นต่าง ๆ ตามวิธีการวิเคราะห์ซากเรณู ที่บ่งบอกอย่างชัดแจ้งถึงวิวัฒนาการของพื้นที่พรุตั้งแต่แรกเริ่มจนกลายมาเป็นสังคมพืชป่าพรุในปัจจุบันได้

นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย


จากประโยชน์อันมหาศาลของป่าพรุโต๊ะแดงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งที่เราควรที่จะร่วมอนุรักษ์และดูแลรักษาป่าพรุโต๊ะแดงผืนนี้ให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน ดังเช่น ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการดูแลรักษาป่าพรุโต๊ะแดงได้ดำเนินการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชน รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาในพื้นที่ผ่านทางกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการทำความดีถวาย “พ่อ” ไม่ฆ่า… ไม่ขาย… ไม่กิน… สัตว์ป่า ป่าพรุโต๊ะแดง

นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย


เราคงไม่สามารถแยก “คน” กับ “ธรรมชาติ” ออกจากกันได้ เพราะมีสายใยแห่งชีวิตเชื่อมโยงทั้งสองสิ่งให้ต้องเดินก้าวย่างไปพร้อม ๆ กัน ไม่เพียงแต่การเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันเท่านั้น แต่มนุษย์ยังต้องคอยปกป้องและดูแลรักษาธรรมชาติ ซึ่งเป็นลมหายใจที่ยิ่งใหญ่และบริสุทธิ์ให้อยู่ยั่งยืนและคงอยู่เคียงข้างมนุษย์ไปตราบนานเท่านาน “ป่าพรุโต๊ะแดง” ก็เช่นกัน คือลมหายใจที่สำคัญของคนไทย โดยเฉพาะคนในพื้นที่ภาคใต้ ที่เราควรห่วงใยและดูแลให้พื้นที่ป่าพรุแห่งนี้ยังคงความอุดมสมบูรณ์และสร้างความหลากหลายให้กับระบบนิเวศทางธรรมชาติเช่นนี้ตลอดกาล

นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย


ป่าพรุโต๊ะแดง คือผืนป่าชุ่มนํ้าผืนสุดท้ายของประเทศไทย ซึ่งเป็นป่าในแอ่งนํ้าบนพื้นที่แสนกว่าไร่มีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังถูกพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าพรุ ที่สร้างเป็นสะพานไม้กว่า 1,200 เมตรเป็นทางเดินเยี่ยมชมธรรมชาติที่สวยงาม อีกทั้งยังมีหอสูงสำหรับชมวิวเบื้องล่าง ให้คุณได้เดินลัดเลาะเข้าไปในป่าพรุ ซึ่งแต่ละจุดจะมีแผ่นป้ายบอกรายละเอียดของพันธุ์ไม้แปลกๆ ที่นี่จัดเป็นห้องเรียนธรรมชาติที่อัดแน่นไปด้วยเรื่องราวมากมายจะคู่ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมาสัมผัสให้ได้สักครั้งในชีวิต และสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวที่ดีที่สุด แต่คุณก็ต้องเตรียมยากันยุง กล้องถ่ายภาพ และสำหรับนักดูนกคงไม่ลืมนำกล้องส่องทางไกลมาด้วยล่ะ

นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย


หากคุณเป็นนักท่องเที่ยวอีกหนึ่งคนที่ชื่นชอบการเที่ยวป่า เดินป่า แต่จะเที่ยวป่าที่ไหนถึงจะสนุกสนานเท่ากับการไปเที่ยว ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ป่าพรุแห่งสุดท้ายของประเทศไทยนั่นเอง 

นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย


ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร เปิดทุกวันเวลา 08.00-16.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม และยังมีห้องจัดนิทรรศการให้ความรู้แก่คนที่มาเที่ยวชมอีกด้วย 
        
การเดินทาง หากเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯจะค่อนข้างสะดวกกว่า เพราะสถานีปลายทางอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก หากมิได้นำรถมาเองสามารถใช้บริการรถรับจ้างจากตัวเมืองสุไหงโกลกได้โดยสะดวก 
        
ทางรถยนต์จากอำเภอตากใบใช้เส้นทางตากใบ - สุไหงโกลก (ทางหลวงหมายเลข 4057) ประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีทางแยกเล็กๆ เข้าสู่ถนนชวนะนันท์ เข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 2 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางเข้าสู่ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรเป็นระยะ สอบถามรายละเอียดที่ ตู้ ปณ. 37 อำเภอสุไหงโกลก นราธิวาส 96120 

นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย

นราธิวาส มนต์เสน่ห์เมืองห้ามพลาด   <<<<<<  ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนสุดท้ายของประเทศไทย

ที่มา                    www.rdpb-journal.in.th

อัพเดทล่าสุด