ทางการบังคลาเทศทำการย้ายผู้ลี้ภัยมุสลิมโรฮิงยา อีกราว 4,000 คน ไปยังเกาะอันห่างไกลในอ่าวเบงกอล ในวันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์นี้ โดยเจ้าหน้าที่กองทัพเรือ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: บังคลาเทศปล่อยเกาะมุสลิมโรฮิงยาเพิ่ม 4,000 คน
บังคลาเทศปล่อยเกาะมุสลิมโรฮิงยาเพิ่มอีก 4,000 คน หลังรัฐบาลอ้างเตรียมการป้องกันแล้ว
ทางการบังคลาเทศทำการย้ายผู้ลี้ภัยมุสลิมโรฮิงยา อีกราว 4,000 คน ไปยังเกาะอันห่างไกลในอ่าวเบงกอล ในวันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์นี้ โดยเจ้าหน้าที่กองทัพเรือ รอชีด ซัตตาร์ กล่าวจากเกาะบาซานชาร์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ว่า ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา มีการย้ายผู้อพยพชาวโรฮิงยาไปยังเกาะบาซานชาร์ (Bhasan Char) แล้วราว 7,000 คน แม้หลายฝ่ายจะมีความกังวลเกี่ยวกับภัยธรรมชาติจากพายุ และน้ำทะเลหนุน
ทางการบังคลาเทศ กล่าวว่า ผู้อพยพอาสาสมัครด้วยความเต็มใจ แต่บางคนที่อพยพไปในกลุ่มแรก กล่าวว่า มีการบังคับให้อพยพไปโดยไม่สมัครใจ
รัฐบาลบังคลาเทศยังกล่าว ว่า ไม่ต้องกังวลในเรื่องความไม่ปลอดภัย เพราะมีการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมแล้ว รวมทั้งการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้อพยพ 100,000 คน แต่ผู้ที่อพยพไปแล้วจะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากเกาะ ซึ่งอยู่ห่างจากท่าเรือเมืองจิตตะกอง ทางตอนใต้ของบังคลาเทศ หากจะเดินทางด้วยเรือต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง
บังคลาเทศถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่เต็มใจที่จะหารือกับหน่วยงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ และหน่วยงานช่วยเหลืออื่น ๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยบังคลาเทศ และยังไม่ยอมให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าไปประเมินความปลอดภัย และความสามารถในการใช้ชีวิตอยู่บนเกาะดังกล่าวได้อีกด้วย
โมฮัมมัด ชัมซุด ดูซา รองเจ้าหน้าที่รัฐบาล ทำหน้าที่ดูแลผู้ลี้ภัยของบังคลาเทศ กล่าวว่า กระบวนการเคลื่อนย้ายชาวโรฮิงยาจะดำเนินต่อไป และพวกเขาจะไปอยู่ที่นั่นอย่างมีความสุข และมีชีวิตที่ดีขึ้น
“สิ่งที่บังคลาเทศต้องการ และคิดว่าสำคัญที่สุด ก็คือ การส่งพวกเขากลับบ้านเกิดอย่างมีเกียรติและยั่งยืน”
บังคลาเทศเรียกร้องให้เมียนมาร์เดินหน้ากระบวนการส่งตัวกลับบ้านโดยสมัครใจของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยา หลังจากมีแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากนานาชาติ ต่อผู้นำทางทหารเมียนมาร์หลังการรัฐประหารเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ลดความหวังของผู้ลี้ภัยโรฮิงยาในการกลับสู่รัฐยะไข่ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพวกเขา
ที่มา: www.news18.com