ทฤษฏีลวงโลกของ สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller)
บทความโดย : อะห์หมัดมุสตอฟา โต๊ะลง
ในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมาได้ปรากฏทฤษฏีต่างๆ มากมายถึงวิธีการกำเนิดมนุษย์บนโลกใบนี้ เราจะขอเริ่มกล่าวจากจุดที่ว่า ไม่มีคนหนึ่งคนใดเคยเห็นการเริ่มสร้างมนุษย์และไม่มีรองรอยใดๆที่ชี้ถึงวิธีการสร้าง เเน่นอนพระองค์อัลลอฮ์ (ซุบฮาฯ) ได้ทรงตรัสเอาไว้เเล้วถึงเรื่องราวดังกล่าวว่า
ความว่า: “ข้ามิได้ให้สิทธิเเก่พวกมัน(อิบลีสเเละลูกหลานของมัน)ที่จะร่วมเป็นสักขีพยาน(รู้เห็น)การสร้างบรรดาชั้นฟ้าเเละเเผ่นดิน เเม้ในการสร้างพวกมันเอง เเละข้ามิได้เอาพวก (ชัยตอนมารร้าย) ที่ทำให้ผู้อื่นหลงผิดมาให้ความช่วยเหลือ” (อัลกะฮฺฟฺ: 51)
ทฤษฏีลวงโลกของ สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller)
จากโองการนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทฤษฏีต่างๆ ที่พูดถึงการเริ่มสร้างมนุษย์เป็นเพียงเเค่การคาดคะเนเอาเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องจริงเสมอไป เเน่นอนไม่ว่าจะเป็นทฤษฏีใดๆ มันก็เป็นเพียงเเค่การคาดคะเนเท่านั้น บางทีก็ถูกบางทีก็ผิด
สาเหตุที่เราได้ยกเรื่องนี้มากล่าวก็เพราะว่า ทฤษฏีการสร้างมนุษย์ถือว่าเป็นพื้นฐานที่มาจากความคิดของผู้ปฏิเสธ เเละเพราะว่ามีบางคนยังคงพูดและให้ความเชื่อถืออยู่กับทฤษฏีที่ผิดๆ พฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมของพวกที่ต้องการเป็นศัตรูกับศาสนาอิสลาม
ทฤษฏีลวงโลกของ สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller)
และอะไรคือหลักฐานของเราที่จะยืนยันว่า ความคิดเเละการคาดคะเนของพวกเขานั้นผิดพลาด?
เราขอตอบว่า พวกเขาได้กล่าวถึงเรื่องการสร้างมนุษย์โดยไม่มีเเนวทางทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง และแนวทางทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องก็คือ การวางความเป็นไปได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยไว้ภายใต้การศึกษา เเละวางทรรศนะที่เห็นพ้องต้องกันเเละเเตกต่างกันไว้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อนำไปสู่ความถูกต้องโดยไม่เอนเอียงไปยังทรรศนะหนึ่งทรรศนะใด เเละทฤษฏีหนึ่งทฤษฏีใด ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซุบฮาฯ) ได้ทรงตรัสเอาไว้ว่า
ความว่า : “เจ้า (มูฮัมหมัด) จงประกาศเถิด! โอ้ชาวคำภีร์ทั้งหลาย พวกท่านจงมาสู้ถ้อยคำเเห่งความเสมอภาค ระหว่างเราเเละระหว่างพวกท่านเถิด (นั่นคือ) เราจะไม่ทำการนมัสการ (สิ่งใดทั้งสิ้น) นอกจากอัลลอฮฺ เเละเราจะไม่ตั้งสิ่งใดขึ้นเป็นภาคีกับพระองค์ทั้งสิ้น…” (อาละอิมรอน:64)
ทฤษฏีลวงโลกของ สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller)
ดังนั้น แนวทางทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องในการวิจัยนั้นก็คือ การวางทรรศนะ 2 ทรรศนะที่เเตกต่างกันไว้อย่างเท่าเทียมกัน ส่วนเจ้าของทฤษฏีว่าด้วยการกำเนิด พวกเขาแกล้งทำเป็นไม่รู้ถึงความเป็นไปได้อื่นๆ ในเรื่องนี้โดยที่พวกเขาไม่ยินดีกับมัน เเละพวกเขาก็ออกห่างจากการวิจัยอย่างสิ้นเชิง และเมื่อมีคนอ้างถึงหลักฐานความถูกต้องของทฤษฏี พวกเขาก็กำหนดทฤษฏีอื่นๆ เเละการคาดคะเนใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ซึ่งการคาดคะเนดังกล่าวจะถูกเรียกว่า Spontaneous generation (การเกิดของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นสมมุติฐานของคริสโตเติ้ล) ต่อมาพวกเขาก็ได้วางทฤษฏีว่า อากาศในโลกยุคอดีตประกอบมาจากก๊าซเเอมโมเนีย ไนโตรเจน มีเทนเเละไอน้ำ เเละพวกเขาก็ได้วางทฤษฏีอีกว่า กรดเเอมโมเนียต่างๆ ประกอบมาจากก๊าซเหล่านี้ ธาตุโปรโตพลาสเซียมประกอบมาจากกรดเเอมโมเนีย และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เป็นสัตว์เซลเดียวก็เกิดขึ้นมาจากธาตุโปรโตพลาสเซียม หลังจากนั้นก็จะมีเซลต่างๆ มากมายเกิดขึ้น นายสแตนลีย์ มิลเลอร์ได้ทำการทดลองโดยรวมก๊าซต่างๆ เหล่านี้ไว้ในขวดที่มีน้ำ
หลังจากนั้นก็ปล่อยให้ปะจุไฟฟ้าไหลผ่านเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังจาก 1 สัปดาห์เขาก็พบว่ามีบางกรดจากกรดแอมโมเนียในขวดน้ำนั้นเพิ่มขึ้นมาซึ่งเป็นผลจากปฏิกิริยาทางเคมี และพวกเขาได้ถือว่าหลักฐานดังกล่าวชี้ว่ามนุษย์เริ่มเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้โดยบังเอิญ ก็เพราะเนื่องจากการมีก๊าซต่างๆ เหล่านี้และมีประกายฟ้าเเลบและฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นมากมายในโลกยุคอดีต
ทฤษฏีลวงโลกของ สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller)
เราขอโต้ทฤษฏีเหล่านี้ด้วยกับ 3 คำถาม
1. เพราะอะไรพวกเขาถึงไม่ถามตัวเองว่า ใครเป็นผู้สร้างก๊าซต่างๆ ไอน้ำและประกายไฟฟ้า? มันสร้างตัวของมันเองโดยไม่มีผู้สร้างกระนั้นหรือ? พวกเขาไม่เคยที่จะถกถึงเรื่องที่สำคัญนี้และไม่เคยวิจัยถึงเรื่องนี้เลย
2. นักวิทยาศาสตร์อวกาศค้นพบว่า มีก๊าซมีเทนเเอมโมเนียและไนโตเจนมากมายในบรรยากาศของดาวพฤหัส ดาวศุกร์และดาวอื่น ๆ และแน่นอนดวงดาวต่างๆ ก็ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับโลก แต่ทำไมถึงไม่พบสิ่งมีชีวิตบนดวงดาวต่างๆ เหมือนกับโลก? พวกเขาก็ไม่เคยที่จะถกและวิจัยถึงเรื่องนี้อีกเช่นกัน
3. กรดแอมโมเนียซึ่งเกิดขึ้นจากการทดลองของนายสตานลีมีลเลอร์ชี้ให้เห็นถึงปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างก๊าซต่างๆ ที่มีพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นกรดแอมโมเนียนั้นมันจึงไม่ได้ถูกสร้างมาจากการไม่มี และกรดแอมโมเนียที่เกิดขึ้นจากการทดลองนั้นเป็นกรดที่ไม่มีชีวิต เป็นไปไม่ได้ที่สิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญจากธาตุที่ไม่มีชีวิต แน่นอนชีวิตจะต้องเกิดมาจากชีวิต แล้วใครล่ะเป็นผู้ให้ชีวิตกับสิ่งที่มีชีวิตบนโลกใบนี้ ?
แน่นอนมันคือคำถามทั้ง 3 ข้อซึ่งเจ้าของทฤษฏีดังกล่าวไม่สามารถที่จะให้คำตอบได้
แปลมาจากบทความของ ดร. อะฮฺหมัด เชากีย์ อิบรอฮีม