ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวมุสลิมที่มีเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น ทำให้มีการเปิดสถานที่ละหมาดเพิ่มมากขึ้นตามศูนย์การค้า ศูนย์ช้อปปิ้งต่างๆ ทั่วประเทศ แต่จำนวนของผู้ที่มาใช้บริการยังคงมีจำนวนน้อย อันเนื่อง
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ห้องละหมาดญี่ปุ่นเปิดบริการเพิ่มขึ้น แต่มีผู้ใช้น้อย เพราะเหตุใด?
ฮิโรชิม่า – ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวมุสลิมที่มีเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น ทำให้มีการเปิดสถานที่ละหมาดเพิ่มมากขึ้นตามศูนย์การค้า ศูนย์ช้อปปิ้งต่างๆ ทั่วประเทศ แต่จำนวนของผู้ที่มาใช้บริการยังคงมีจำนวนน้อย อันเนื่องมาจากไม่รู้ว่ามีการจัดที่ละหมาดไว้ให้ หรือจัดไว้ในจุดที่ยากแก่การเข้าถึง
อ้างอิงจากเว็ปไซท์ที่ให้บริการข่าวสารแก่มุสลิม ในประเทศญี่ปุ่นมีห้องละหมาดประมาณ 170 แห่ง และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวมุสลิมจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดินทางมามากขึ้น การท่องเที่ยวแห่งชาติของญี่ปุ่น เปิดเผยตัวเลขว่า เฉพาะในปี 2017 นักท่องเที่ยวจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย มาเยือนญี่ปุ่นราว 700,000 คน เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีที่แล้วประมาณ 7 เท่า
การเปิดห้องละหมาดเพิ่มมากขึ้นในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายเช่นกัน ยกตัวอย่างห้องละหมาดในช้อปปิ้งมอลล์ ที่เขตฮิโรชิม่า ทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น มีผู้ใช้เพียง 2-3 ครั้งใน 1 เดือน ลูกค้าบางคนถึงกับเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ของการใช้ห้องละหมาด และพยายามจะเข้าไปใช้ห้องเพื่อการพักผ่อน ซึ่งเจ้าหน้าที่กล่าวว่า เป็นเรื่องยากสำหรับการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการใช้ห้องละหมาดนี้
ที่ LaLaport Expocity ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้งหลักในเขตซูอิตะ (Suita) เมืองโอซาก้า มีห้องละหมาดที่ไม่ได้ใช้เฉพาะนักท่องเที่ยวมุสลิม แต่มุสลิมในท้องถิ่นที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้ใช้ประโยชน์ด้วย ศูนย์การค้านี้เปิดขึ้นตั้งแต่ปี 2015 และมีผู้มาใช้บริการประมาณ 30 ครั้งใน 1 เดือน
ซาชิโกะ กาโตะ ซึ่งเป็นผู้ดูแลห้องละหมาดที่นี่ กล่าวว่า ข่าวการสร้างห้องละหมาดถูกบอกต่อ ปากต่อปาก ทำให้จำนวนผู้มาละหมาดเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ห้องละหมาดที่นี่แม้จะมีคนมาใช้เยอะ แต่ก็ยังต้องมีการปรับปรุง เนื่องจากคนที่จะมาใช้บริการจะต้องขอให้เจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์บริการไปปลดล๊อคห้องให้ มีป้ายที่ระบุถึงคำแนะนำนี้ แต่มีเพียงภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น ผู้ที่ไม่รู้ทั้งภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น จึงไม่อาจเข้าถึงห้องละหมาดได้
เคน มิอิชิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่คณะเอเชีย-แปซิฟิคศึกษา มหาวิทยาลัยวาเซดะ ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มห้องละหมาดไม่เป็นการเพียงพอเสียแล้ว สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ ต้องสร้างความเข้าใจว่า ห้องดังกล่าวสร้างไว้เพื่ออะไร โดยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของมุสลิม หลังจากนั้น ต้องพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้ห้องละหมาด เข้าถึงได้อย่างง่ายดายด้วย
- เฮลั่น! เปิดแผนสร้างมัสยิดใหม่ที่วิทยาลัยอิสลาม
- ห้องละหมาดสวยๆ ภาพตกแต่งห้องละหมาด มุมอิบาดะห์ในบ้าน
- ห้องละหมาด ในงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว ครั้งที่ 2
- เปลี่ยนจากโบสถ์เป็นมัสยิด แห่งแรกในเยอรมัน เกิดจากเหตุนี้!!
- มัสยิดลอนดอนได้รับการยกสถานะเป็นมรดกที่สมควรปกป้อง
- สุดชุลมุน! หมูป่าเคราะห์ร้ายบุกเข้าเยี่ยมมัสยิดไล่ชนหนีจ้าละหวั่น
- สถานีโคขุน ฮาลาล เปิดใหม่ เกษตร-นวมินทร์ พร้อมโปรเด็ดที่คุณต้องลอง!!
- เปิดแล้ว!! มัสยิดเรซ่า ญาเมี๊ยะ มูลค่าเกือบ 400 ล้านบาท (ชมภาพ)
- มุสลิมฝรั่งเศสร่วมละหมาดกลางแจ้งประท้วงการปิด'ห้องละหมาด'
- ชารีอะฮฟุจิซัน โรงแรมฮาลาลใกล้ภูเขาฟูจิ ญี่ปุ่น สุดฟิน สวยจริง จนอยากบอกต่อ
- ห้องละหมาด ไอคอนสยาม ICONSIAM
ที่มา: www.english.kyodonews.net