นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พศ2488 โลกของเราก็เผชิญกับปัญหาผู้ลี้ภัย ครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 2558 เท่าที่มีการเก็บข้อมูลของสหประชาชาติพบว่า
เปิดปม โครงการบริจาคซับน้ำตาผู้ลี้ภัย ปี2563
นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ.2488 โลกของเราก็เผชิญกับปัญหาผู้ลี้ภัย ครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 2558 เท่าที่มีการเก็บข้อมูลของสหประชาชาติพบว่า ปลายปี 2558 มีผู้คนจำนวนกว่า 65 ล้านคนที่ถูกบังคับให้ต้องพลัดพรากจากบ้านของพวกเขาด้วยเหตุแห่งความขัดแย้ง การถูกประหัตประหาร ความรุนแรงที่ท าในวงกว้าง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ จากข้อมูลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย แห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees หรือ UNHCR) ระบุว่า ปัจจุบัน โลกเรามีผู้ลี้ภัยถึง 21.3 ล้านคน และ 49% ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงและเด็กผู้หญิง ซึ่งมีความเปราะบางมากกว่า ผู้ลี้ภัยอื่น ๆ 57% ของผู้ลี้ภัยทั่วโลกมาจาก 5 ประเทศหลัก คือ
1. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศซีเรียจำนวน 6.3 ล้านคน
2. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศอัฟกานิสถาน มีจำนวน 2.6 ล้านคน
3. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศซูดานใต้ มีจำนวน 2.4 ล้านคน
4. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศเมียนมาร์ มีจำนวน 1,391,000 คน
5. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศโซมาเลีย มีจำนวน 1,091,270 คน
ซึ่งมากกว่า 80% เป็นมุสลิม ในประเทศไทยเอง มีผู้ลี้ภัยกว่าหนึ่งแสนคน อาศัยอยู่ในค่ายพักพิง 9 แห่งในจังหวัดชายแดนระหว่างไทยและพม่า โดยผู้ลี้ภัยเหล่านี้ส่วนมากเป็นชนกลุ่ม น้อยที่หนีการสู้รบมาจากประเทศพม่า
นอกจากนี้ ยังมีผู้ลี้ภัยในเขตเมืองที่พักพิงอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีกกว่า 9,000 คน ซึ่งประกอบด้วยชนชาติต่างๆไม่น้อยกว่า 30 ประเทศ ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน ภาคีหรืออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยใดๆ ทั้งยังไม่มีกฎหมายที่จะให้การคุ้มครองให้แก่กลุ่มคนดังกล่าว ดังนั้นสถานะของพวกเขาจึงถือว่าเป็น “คนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย” ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัวต่อการ โดนจับกุม กักกัน หรือผลักดันกลับไปสู่ประเทศของตน อีกทั้งยังตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ที่ต้องการ ใช้ประโยชน์จากผู้ลี้ภัย
จากนโยบายการกวาดลางจับกุมผู้ลี้ภัย ในปีที่ผ่านมา ยิ่งทำให้มีจำนวนผู้ต้องกักในห้องกักของตรวจคนเข้าเมืองจำนวนมาก สภาพความเป็นอยู่อย่างแออัด ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำผู้ต้องกักเจ็บป่วยและล้มตาย ลง โดยเฉพาะชาวอุยกูร์และโรฮิงยาที่กระจายไปอยู่ในห้องกักตามภูมิภาคต่างๆมามากกว่า 5 ปี ผู้ต้องกัก เหล่านี้หลายคนมีครอบครัวอยู่ข้างนอก ไม่มีอาชีพ เด็กไม่ได้เรียนหนังสือ อาศัยเงินช่วยเหลือจากองค์กรหรือ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเป็นครั้งคราวแต่ก็ไม่เพียงพอ ทำให้เด็กๆ ขาดสารอาหารและเจ็บป่วยบางครั้งต้องเข้า โรงพยาบาลแต่ไม่สามารถจะจ่ายค่ารักษาได้ บางครอบครัวที่ลงทะเบียนกับ UNHCR ได้รับโอกาสในการไปอยู่ ในประเทศที่ 3 แต่ก็ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับที่อยู่เกินกำหนด (Overstay) หรือค่าตั๋วเครื่องบิน ก็ไม่สามารถเดินทางไปได้ สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดให้มี โครงการตั้งทุนเพื่อซับน้ำตาผู้ลี้ภัยขึ้นในวันที่ 30 31 ตุลาคม -1 พฤศจิกายน 2563 ณ สนามกีฬาหัวหมาก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุและสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดผู้ลี้ภัยและการแสวงหาที่พักพิง
2. เพื่อเผยแพร่สถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ให้เกิดความเข้าใจในสถานะความเป็นอยู่ ความทุกข์ ความเดือดร้อนของผู้ลี้ภัย
3. เพื่อให้เกิดความร่วมมือในประเทศในระดับองค์กรและบุคคลในการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเพิ่มมากขึ้น ให้ผู้ลี้ภัยสามารถลี้ภัยไปดำเนินชีวิตได้อย่างถูกกฎหมายและมีความปลอดภัยในประเทศต่าง ๆ
4. เพื่อจัดหาทุนจากการขายบัตรน้ำชาการกุศลซับน้ำตาผู้ลี้ภัยและเงินบริจาคเพื่อใช้ในการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย
เป้าหมาย : ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ปีละ 4 ล้านบาท
ผู้เข้าร่วมงาน : ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปทั่วประเทศ
วัน เวลา : 30 31 ตุลาคม -1 พฤศจิกายน 2563
สถานที่ : ณ สนามกีฬาหัวหมาก กทม.
ประมาณการค่าใช้จ่ายรายปี ดังนี้
1. ช่วยค่าจ่ายค่าปรับที่อยู่เกินกําหนด Overstay และค่าประกันตัวผู้ลี้ภัย
- มีค่าปรับที่ต้องจ่ายคนละ 20,000 บาท ช่วยเหลือ 58 คนต่อปี >>> ในงบ 1,160,000 บาท
- ค่าประกันตัวผู้ลี้ภัยจากห้องกักคนละ 50,000 บาท ประกัน 10 คนต่อปี >>> ใช้งบ 500,000 บาท
2. ช่วยค่าที่พักอาศัยครอบครัวผู้ลี้ภัย
- เฉลี่ยครอบครัวละ 1,500 บาทต่อเดือน ช่วย 50 ครอบครัวต่อปี >>> ใช้งบ 900,000 บาท
3. ช่วยค่ารักษาพยาบาล และช่วยเหลือค่ายา
- เฉลี่ยคนละ 3,000 บาทต่อเดือน ช่วย 10 คนต่อเดือน >>> ใช้งบ 360,000 บาท
4. ช่วยอาหารผู้ลี้ภัย เสริมอาหารตามหลักโภชนาการและฮาลาลแก่ผู้ต้องกักตาม ตม. ต่างๆ
- สัปดาห์ละ 1 วัน เฉลี่ยคนละ 30 บาท ช่วย 600 คนต่อสัปดาห์ >>> ใช้งบ 864,000 บาท / ต่อปี
5. ช่วยด้านการศึกษา ค่าเดินทางไปเรียนและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอื่นๆ
- เฉลี่ยครอบครัวละ 2,160 บาท ช่วย 100 ครอบครัวต่อปี >>> ใช้งบ 216,000 บาท
รวมทั้งหมด 4 ล้านบาทต่อปี
ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ประธานจัดงานรวมพลังซับน้ำตาผู้ลี้ภัย ครั้งที่2 ในงานมุสลิมไทยแฟร์ ครั้งที่6