คืบหน้าการพิจารณาคดีฆาตกรรมนักกฎหมายมุสลิมในพม่า อัยการมั่นใจโดนประหาร
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: คืบหน้าการพิจารณาคดีฆาตกรรมนักกฎหมายมุสลิมในพม่า อัยการมั่นใจโดนประหาร
ย่างกุ้ง / เมียนมาร์ – อัยการศาลพม่า ยื่นเรียกร้องศาลลงโทษประหารชีวิตชาย 3 คน ที่ถูกกล่าวหาว่า วางแผนสังหารทนายความมุสลิมผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นถึงที่ปรึกษาของนางอ่อง ซาน ซูจี ผู้นำประเทศ
นาย Ko Ni เป็นผู้ผลักดันให้มีการปฏิรูป ซึ่งเป็นการท้าทายการกุมอำนาจของทหารพม่า ถูกยิงที่ศีรษะในระยะเผาขนกลางวันแสกๆ ที่ด้านนอกสนามบินย่างกุ้ง เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ขณะเขากำลังอุ้มหลานชาย
นาย Ko Ni ทนายความมุสลิม ที่ปรึกษาของนางอ่อง ซาน ซูจี
มือปืนถูกนำเข้ามาต่อหน้าศาล Insein ในย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ในสภาพใส่กุญแจมือติดกับผู้ร่วมวางแผนก่อเหตุอีก 2 คน ซึ่งทนายของพวกเขาได้ยื่นคำแถลงต่อสู้ครั้งล่าสุด
อัยการ Nay La กล่าวกับสื่ออัล-จาซีร่า หลังฟังคำแถลงต่อสู้จากทนายความของจำเลย ว่า พวกเขาจะต้องได้รับโทษประหาร เนื่องจากเป็นการกระทำที่อุกอาจ ต่อหน้าสาธารณะชน และตั้งใจยิงที่ศีรษะเพื่อประสงค์ให้ตายทันที ถึงแม้เมียนม่าร์ จะยังคงมีการกำหนดโทษประหาร แต่ในหลายสิบปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีการประหารนักโทษเกิดขึ้น
คำแถลงต่อสู้ของจำเลยระบุว่า มือปืน Kyi Lin ซึ่งมีภาพชัดเจนปรากฏในกล้องวงจรปิดว่าเป็นผู้จ่อปืนขนาด 9 มม. และลั่นไกสังหาร Ko Ni กระทำไปเพราะถูกข่มขู่ หลังก่อเหตุเขาพยายามจะหลบหนี แต่ถูกคนขับแท็กซี่ในบริเวณนั้นช่วยกันล้อมจับตัวไว้ได้ โดยมีพลเมืองดีคนหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตไปด้วย มือปิน Kyi Lin อ้างว่า เขาไม่ได้ตั้งใจยิงคนขับแท็กซี่ และขอให้ศาลผ่อนผันให้เขาในกรณีนี้
คำแถลงของทนายฝ่ายจำเลย ยังเรียกร้องให้ปล่อยตัว จำเลยร่วม 2 คน คือ Zeyar Phyo อดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองทางทหาร ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้วางแผนและจ้างวานด้วยเงินจำนวน 80,000 ดอลล่าร์ และ Aung Win Zaw อดีตร้อยตำรวจเอก โดยอ้างว่าผู้อยู่เบื้องหลังการวางแผนสังหารทั้ง 2 ไม่ปรากฏภาพในกล้องวงจรปิด และไม่ได้เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในแผนการสังหาร
ยังมีอดีตทหารที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการสังหาร คือ พันโท Aung Win Khine ซึ่งยังคงหลบหนีอยู่ เขาผู้นี้มีภาพอยู่ในกล้องวงจรปิดที่สนามบินด้วย
David Mathieson นักวิเคราะห์อิสระในเมียนมาร์ กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่ Aung Win Khine ถูกจับตัวมาดำเนินคดีได้ เมื่อนั้นจึงจะเชื่อได้ว่า ความยุติธรรมได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงแล้วในคดีนี้
การสังหารทนายความมุสลิมครั้งนี้ ทำลายความหวังในการปฏิรูปประเทศของหลายๆ คน โดยเมียนม่าร์ตกอยู่ในการยึดกุมอำนาจของทหารมานานหลายสิบปี
ทนายความมุสลิม Ko Ni ได้ทำงานเกี่ยวกับแผนที่จะเปลี่ยนแปลงร่างรัฐธรรมนูญฉบับของทหาร ซึ่งจะทำให้ทหารระดับนายพลสามารถควบคุมรัฐบาลได้ แม้เมียนม่าร์จะมีการเลือกตั้งครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไปแล้วในปี 2015 ซึ่งทำให้นางอ่องซาน ซูจี ซึ่งในอดีตเคยต่อต้านอำนาจทหาร ได้ขึ้นเป็นผู้นำประเทศที่อยู่เบื้องหลัง
Ko Ni ยังสมควรได้รับเครดิตในการทำงาน โดยเป็นผู้คิดริเริ่มให้มีตำแหน่ง “ที่ปรึกษาแห่งรัฐ หรือ State Counsellor” ซึ่งทำให้นางซูจี กลายเป็นผู้นำทางพฤตินัยของเมียนม่าร์ แม้จะมีการำกำหนดข้อความในรัฐธรรมนูญ ที่อาจจะป้องกันเธอไม่ให้ขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารสูงสุดของประเทศ
แม้จะไม่มีหลักฐานที่สาวไปถึงทหารโดยตรง ว่าเป็นผู้บงการให้สังหารทนายความมุสลิม แต่หลายคนมีความเห็นว่า ความตายของ Ko Ni คือสัญญานอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการท้าทายอำนาจทหาร
- มหาธีร์กร้าว! ไม่ออกวีซ่าให้นักกีฬาว่ายน้ำอิสราเอล
- “ดร.มหาเดร์” ซัด รากเหง้า “ก่อการร้าย” คืออิสราเอล โลกต้องรับรองปาเลสไตน์ และหยุดการสังหารโหด
- นางออง ซาน ซูจี ให้คำมั่นว่ารัฐบาลเมียนมาจะเพิ่มความโปร่งใสกรณีโรฮีนจา
- สภากรุงดับลินโหวตปลดซูจีพ้นรางวัลทรงเกียรติ เหตุนิ่งเฉยต่อปัญหาโรฮิงญา
- ข้าหลวงใหญ่ฯยูเอ็นชี้ "อองซานซูจี" มีสิทธิต้องคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮีนจา
- ออง ซาน ซูจี วีรสตรีประชาธิปไตย ผู้เพิกเฉยต่อชะตากรรมโรฮิงญา
- นางอองซานซูจี "ลั่น" สิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ไม่ใช่การกำจัดชาติพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮิงญา
ที่มา: www.aljazeera.com
http://news.muslimthaipost.com/