มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่เพียงเป็นมัสยิดกลางเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อเป็นศูนย์กลางบริหารกิจการศาสนาอิสลาม เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมจังหวัดนครศรีธรรมราช
มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช สวยงามตระการตา ที่ต้องไปเยือน!!
มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ ตำบลนาทราบ อำเภอเมือง ต.นาทราย อ.เมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 80000
มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่เพียงเป็นมัสยิดกลางเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อเป็นศูนย์กลางบริหารกิจการศาสนาอิสลาม เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมจังหวัดนครศรีธรรมราช และใกล้เคียงรวมทั้งชาวต่างประเทศ และรองรับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ภาคฟัรดูอีนในการเรียนการสอนของเยาวชนในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
การจัดงานเมาลิดกลางจังหวัด ใช้เป็นศูนย์กลางในการกล่อมเกลาเยาวชน ประชาชนชาวไทยมุสลิมในพื้นที่และใกล้เคียงในการลด ละเลิก ยาเสพติด ผ่านกระบวนการความเชื่อทางศาสนา และรองรับการท่องเที่ยว อันเนื่องมาจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 นี้ อีกด้วย
เริ่มจากปี 2545 ที่ประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช,อิหม่าม,คอเต็บ,บิหลั่นและคณะกรรมการกลางอิสลามประจำมัสยิดต่างๆ ทั่วจังหวัดนครศรีธรรมราชและพี่น้องชาวมุสลิมประมาณ 1500 คน ได้มีมติเห็นชอบที่จะให้มีมัสยิดกลางประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้น
มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยให้คณะคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้จัดหางบประมาณดำเนินการก่อสร้าง ได้มีการประสานนายวิฑูร เดชเดโช นายก อบจ.นครศรีธรรมราชสมัยนั้นจัดสรรงบประมาณซื้อที่ดิน 8ไร่ เพื่อสร้างมัสยิดกลางให้กับพี่น้องมุสลิมชาวจ.นครศรีธรรมราช และสมัยนายพิชัย บุณยะเกียรติ เป็นนายก อบจ.นครศรีธรรมราชได้จัดสรรงบประมาณถมดินเพื่อสร้างมัสยิดกลางประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณริมถนนสายเบญจมฯ-น้ำแคบ ต.นาทราย อ.เมืองนครศรีธรรมราช
มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต่อมา 24 กันยายน 2557 รัฐบาลสัญจรของ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตได้รับโครงการที่จะสร้างมัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งจากบรรดายุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช จนเมื่อเดือนตุลาคม 2557 ได้มีการทำสัญญาว่าจ้าง บริษัทนัศร็อนมุสลิมกรุ๊ป เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างด้วยงบประมาณ 113,250,000บาท
และเมื่อ4 พฤศจิกายน 2557 นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเทฐานรากมัสยิดกลางประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช จนก่อสร้างได้แล้วเสร็จเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2560 และมีกำหนดเปิดใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2560 โดยมีนายอาศิศ พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดดังกล่าว
มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
มุสลิมในจังหวัดนครศรีธรรมราช การนับถือศาสนาชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 93.57 % รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม 5.83 % ศาสนาคริสต์ 0.60 % อธิบายได้ดังนี้
1. ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่แพร่หลายที่สุดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุ ทางพุทธศาสนาที่แสดงถึงความรุ่งเรืองมาช้านาน และมีวัดทางพุทธศาสนา 589 แห่ง มีพระภิกษุ 3,272 รูปสามเณร 770 รูป ชาวนครศรีธรรมราชยึดมั่นในประเพณีทางศาสนา และมีความผูกพัน กับพระบรมธาตุเจดีย์ จนกระทั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ชื่อว่า “เมืองพระ” เมื่อถึงวันสําคัญทาง ศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาฆบูชา จะมีประชาชนจากสารทิศ หลั่งไหลกันมาสักการะองค์พระ บรมธาตุเจดีย์อย่างล้นหลาม
2. ศาสนาอิสลาม ผู้นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่ มีบรรพบุรุษมาจากเมืองกลันตัน ปัตตานี และไทรบุรี อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีมัสยิด 115 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอเมือง นอกจากนั้นกระจัดกระจายอยู่ในเขตอําเภอท่าศาลา อําเภอหัวไทร อําเภอสิชล อําเภอปากพนัง อําเภอร่อนพิบูลย์
3. ศาสนาคริสต์ ผู้นับถือจํานวนเพียงเล็กน้อยในเขตอําเภอเมือง อําเภอทุ่งสง อําเภอทุ่งใหญ่ อําเภอร่อนพิบูล มีทั้งนิกายโปรแตสแตนท์และโรมันคาทอลิค มีโบสถ์คริสต์ 25 แห่ง
การเข้ามาของมุสลิมจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ มีเนื้อที่ประมาณ 9,942,502 ตร.กม. หรือประมาณ 6,214,064 ไร่ (จรัส เพชรมาก, 2544 : 4) มีเนื้อที่มากเป็นอันดับของภาคใต้ รองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีประชากรมากที่สุดในสิบสี่จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีจํานวนประมาณ 1,526,586 คน (จากข้อมูลเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2544)
ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่มี สัปปุรุษมาจากเมืองกลันตัน ปัตตานีและไทรบุรี มักจะอาศัยอยู่เป็นชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ใน เขตอําเภอเมือง นอกนั้นกระจายอยู่ในเขตอําเภอท่าศาลา อําเภอหัวไทร อําเภอสิชล อําเภอปากพนัง อําเภอร่อนพิบูลย์ และอําเภออื่นๆ อีกของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันมีจํานวนทั้งสิ้น 149,887 คน คิดเป็นร้อยละ 9.72 ของประชากรทั้งหมดในจังหวัด และมีมัสยิดทั้งจังหวัดรวมกัน 106 แห่ง (สํานักงานอิสลามจังหวัด, 2545 : 5)
ศาสนาอิสลามได้เข้ามามีอิทธิพลอยู่บนแหลมมาลายูก่อนแล้ว เพราะ พบหลักฐานว่ามีมุสลิมเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยสุโขทัยก่อนหน้าที่ ศาสนานี้จะแผ่อํานาจเข้ามายังแหลมมาลายูได้แผ่เข้ามายังอินเดีย จีน และบริเวณประเทศที่เป็นหมู่ เกาะของเอเชียตะวันออกเชียงใต้ เริ่มที่เกาะสุมาตราเป็นแห่งแรก และในที่สุดได้แผ่เข้าครอบคลุม แหลมมาลายูด้วย (รัชนี สาดเปรม, 2521 : 8)
ที่มา: thailandtourismdirectory.go.th, kb.psu.ac.th
ภาพจาก: www.painaidii.com