โป๊ะเเตกหน้าหงายอีกตามเคย สำหรับกลุ่มต้านอิสลามเจ้าเก่าที่สร้างกระเเสระหว่างพุทธกับมุสลิม โดยมีการร้องเรียนกับหน่วยงานต่างๆไปหลายหน่วยงานเเละก่อนหน้านี้มีกระทรวงมหาดไทย
ด่วน! ยกคำร้องกลุ่มต้านอิสลาม กรณีพรบ.ฮัจย์
ข่าวด่วนผู้ตรวจการเเผ่นดินยกคำร้องกลุ่มต้านอิสลาม กรณีพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย...
โป๊ะเเตกหน้าหงายอีกตามเคย สำหรับกลุ่มต้านอิสลามเจ้าเก่าที่สร้างกระเเสระหว่างพุทธกับมุสลิม โดยมีการร้องเรียนกับหน่วยงานต่างๆไปหลายหน่วยงานเเละก่อนหน้านี้มีกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการออกหนังสือเตือนสติประชาชนจากการปล่อยข่าวโคมลอยของคนบางกลุ่มไปเเเล้ว
ล่าสุด ผู้ตรวจการเเผ่นดินได้มีหนังสือตอบคำร้องของคนหนึ่งที่ร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ ซึ่งในคำร้องนั้น มีความเลยเถิดไปถึงขั้นที่ตั้งข้อหาว่า พรบ.ฉบับนี้เป็นการเเบ่งเเยกดินเเดน เเล้วมโนไปว่า พรบ. นี้ไปทำลายศักดิ์ศรีคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ
ซึ่งทางผู้ตรวจการเเผ่นดินตอบกลับมา เรียกได้ว่าหน้าหงายกันไปเลยทีเดียว
ขอคัดเอาเฉพาะหัวใจหลักที่เป็นสาระสำคัญของคำตอบยิบมาให้ทุกท่านได้เห็นกันชัดๆ ว่าคำร้องที่โจมตีมุสลิมไทยในเรื่องนี้มันไม่เป็นความจริงตามที่พวกเขาตั้งข้อหาโจมตีกันอย่างไรบ้าง
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ.2524 ไม่มีเนื้อหาที่เป็นการเเบ่งเเยกดินเเดน หรือเลือกปฏิบัติหรือกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ เเละความเสมอภาคตามที่ผู้ร้องเรียนอ้างเเต่อย่างใด
2. การกำหนดให้รัฐมนตรีว่การกระทรวงมหาดไหย เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ.2524 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และโอนกิจการอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้และภาระ ผูกพันของกองส่งเสริมกิจการฮัจญ์ และกองทุนสำหรับผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ไปเป็นของกรมการปกครองกระหรวงมหาดไทยนั้น
ไม่มีเนื้อหาที่เป็นการกระทบต่ออำนาจอธิปไตย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีกาพ และความเสมอภาคของผู้ร้องเรียน หรือขัตต่อหลักนิติธรรม หรือเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียนเกินสมควรแก่เหตุตามที่ผู้ร้องเวียนอ้างแต่อย่างใด
3. ส่วนกรณีที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ.2525 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 15 มาตรา 16 และมาตรา 17 ที่กำหนดโทษทางอาญา
กรณีไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับตังกล่าว ขัตต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 16 และมาตรา 17 เนื่องจากผิดหลักการใช้กฎหมายพัฒนาระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน นั้น
เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 76 และมาตรา 77 เป็นบทบัญญัติในหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งบทบัญญัติในหมวดนี้เป็นเพียงแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น มิใช่บทบังคับให้รัฐมีภาระหน้าที่ต้องดำเนินการหรือปฏิบัติแต่อย่างใด
4. นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการยัจย์ พ.ศ.2524 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 และระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมกิจการยัจย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการควบคุมกิจการการรับจัดบริการขนส่งในกิจการฮัจญ์ การจัดบริการอื่นที่เกี่ยวกับกิจการฮัจญ์ และการโฆษณาหรือกระทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับกิจการฮัจญ์ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม
กิจการฮัจญ์ พ.ศ.2524 พ.ศ.2543 เป็นการตัตสิทธิเสรีภาพของผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ และเป็นการออกกฎหมายและระเบียนที่ไม่เป็นไปตามการปกครองของประเทศเพื่อใช้กับคนกลุ่มเดียว ที่มีความเชื่อทางศาสนาต่างจากคนส่วนใหญ่นั้น เห็นว่า
ประเด็นข้อร้องเรียนในกรณีนี้
เป็นการร้องเรียนโดยมิได้ระบุว่า พระราชบัญญัติและระเบียบดังกล่าวได้กระทบต่อสิทธิหรือเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในมาตราใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
ดังนั้น กรณีตามคำร้องเรียนนี้จึงยังไม่มีปัญหากี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญที่จะให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องพร้อมตัวยควาเห็นต่อศาลรัฐธรรนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 (3)
แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรมนูญว่าด้วยผู้ตวจการแผ่นดิน พ.ศ.2560
เหตุผลตังกล่วข้างต้น จึงวินิจฉัยให้ยุติเรื่องร้องเรียนของผู้ร้องเรียนตามมาตรา 37 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจารแผ่นดิน พ.ศ.2560 และให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งผลการนิจฉัยให้ผู้ร้องเรียนทราบต่อไป
ฝากึงพี่น้องที่นับถือพุทธศาสนิกท่านอื่นๆ ขอให้เตั้งสติในการเสพข่าวลักษณ์นี้ เมื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ เป็นหน่วยงานราชการออกมาชี้เเจงเเล้วก็ควรยึดถือเป็นเเนวทางเดียวกันเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันตินะ
รายละเอียดหนังสือชี้แจง คำวินิจฉัยผู้ตรวจการแผ่นดิน พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คำวินิจฉัยผู้ตรวจการแผ่นดิน
เรื่อง นางสาวพาศิกา สุวจันทร์ นายกสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา และคณะยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีพระราชบัญญัติ ส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. ๒๕๒๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้หน่วยงานของรัฐทำหน้าที่ส่งเสริมกิจการฮัจย์และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ประสงค์จะไปประกอบพิธีฮัจย์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑ มาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๗
พิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วจะได้วินิจฉัยไปตามประเด็นที่ร้องเรียน ดังนี้
กรณีตามคำร้องเรียนนี้ เป็นเรื่องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติ ส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. ๒๕๒๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑ มาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๒๙๗ นั้น เห็นว่า แม้ในประเด็นที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่า พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว มีปัญหาเกี่ยวกับความขอบ ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ ผู้ร้องเรียนมิได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ประเด็นปัญหาตามคําร้องเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตราใด แต่การที่ผู้ร้องเรียน กล่าวอ้างว่า เรื่องดังกล่าวมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ ซึ่งยังคงมีการบัญญัติรับรองหลักการเดียวกันนี้ ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๑ ถือได้ว่า ผู้ร้องเรียนขอให้พิจารณาประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงชอบที่จะพิจารณาประเด็นปัญหาตามคําร้องเรียนในเรื่องนี้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความขอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๐ หรือไม่ ดังที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคําสั่งไว้ในคําสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๒๑/๒๕๖๑
กรณีที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๖ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๑ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่อำนวยความสะดวกและเอื้อประโยชน์แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามเพียงศาสนาเดียว เป็นการเลือกปฏิบัติกระทบต่อสิทธิในการนับถือศาสนาของผู้อื่น และเป็นกฎหมายที่แบ่งแยกการปกครองนั้น เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๖ ซึ่งได้กําหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย และมาตรา ๑๔ ซึ่งกําหนดให้อธิบดีกรมการปกครองเป็นเลขาธิการโดยตําแหน่งและให้กรมการปกครองทําหน้าที่สํานักเลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย พร้อมกําหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมการปกครอง และสํานักเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยไว้ เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าว เป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนหน่วยงานที่รับผิดชอบการส่งเสริมกิจการฮัจย์ และกําหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยรวมถึงอํานาจหน้าที่ของกรมการปกครอง และอธิบดีกรมการปกครองเท่านั้น
ดังนั้นพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. ๒๕๒๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงไม่มีเนื้อหาที่เป็นการแบ่งแยกดินแดน หรือเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือกระทบต่อศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคตามที่ผู้ร้องเรียนอ้างแต่อย่างใด
กรณีที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๑ เนื่องจากเป็นการทำลายระเบียบการบริหารราชการ และความมั่นคงของประเทศ เอื้อต่อศาสนาอิสลามให้มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเหนือกว่าศาสนิกชน ในศาสนาอื่น ทําให้ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญไม่เท่าเทียมกันนั้น เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ แล้ว เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนด
ดังนั้นกรณีตามคำร้องเรียนนี้จึงยังไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญที่จะให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๖๐
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยให้ยุติเรื่องร้องเรียนของผู้ร้องเรียน ตามมาตรา ๓๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๖๐ และให้สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แจ้งผลการวินิจฉัยให้ผู้ร้องเรียนทราบต่อไป
พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
นายบูรณ์ ฐาปนตุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ตรวจการแผ่นดิน