มัสยิดกรือเซะ เป็นโบราณสถานเก่าแก่แห่งปัตตานี ทีมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน
มัสยิดกรือเซะ คำสาปแห่งประวัติศาสตร์
มีตำนานเล่าสืบต่อกันต่อ ๆ มาว่า ในยุคที่เมืองปัตตานีมีเจ้าผู้ครองเมืองเป็นนางพญา ชื่อ รายาบีรู (พ.ศ. ๒๑๕๑ - ๒๑๖๗) นั้น ได้มีชาวจีนชื่อ ลิ้มเต้าเคียน มาอยู่เมืองปัตตานี และเข้ารีตรับนับถือศาสนาอิสลาม แล้วไม่ยอมกลับเมืองจีน หลิมกอเหนี่ยวน้องสาวเดินทางมาตามพี่ชายให้กลับเมืองจีนเพื่อดูแลมารดาที่ ชราตามประเพณีของชาวจีน แต่ลิ้มเต้าเคียมไม่ยอมกลับ เพราะได้รับมอบหมายจากเจ้าเมืองปัตตานีให้เป็น ผู้ควบคุมก่อสร้างมัสยิดกรือเซะอยู่ และยังสร้างไม่เสร็จจะขออยู่เมืองปัตตานีต่อไปจนกว่าจะสร้างเสร็จ หลิมกอเหนี่ยวมีความน้อยใจจึงทำอัตวินิบาตกรรมประท้วงพี่ชาย
แต่ก่อที่นางจะผูกคอตายนางได้อธิษฐานว่าแม้นพี่ชายจะช่างที่เก่งเพียงใดก็ขอ ให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ ด้วยแรงแห่งคำสาปแช่งของนางปรากฏว่า ลิ้มเต้าเคียมสร้างไม่สำเร็จ ได้ทำการสร้างหลังคาและโดมถึงสามครั้ง เมื่อสร้างจวนเสร็จก็เกิดอัสนีบาตฟาดโดมและหลังคาพังทลายลงมาทุกครั้ง ทำให้ลิ้มเต้าเคียมเกิดความหวาดกลัว จึงได้ทิ้งงานก่อสร้างให้ค้างอยู่จนบัดนี้
มัสยิดกรือเซะ เป็นโบราณสถานเก่าแก่แห่งปัตตานี ทีมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ที่แปลว่า มัสยิดที่มีช่องประตูรูปโค้ง
เนื่องจากประตูมัสยิดแห่งนี้มีด้านบนโค้งแหลม และโค้งมนแบบสถาปัตยกรรมตะวันออกกลาง มีตำนานที่กล่าวถึงการสร้างมัสยิดกรือเซะ ด้วยกันหลายแนวทาง เรื่องหนึ่งกล่าวไว้ว่ าสุลต่านลองยุนุส เป็นผู้สร้างขึ้นราว พ.ศ.2265 ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ยังไม่ทันสร้างเสร็จสมบูรณ์ ก็ถูกระตูปะกาลันซึ่งเป็นพระอนุชาแย่งชิงบัลลังก์เสียก่อน เมื่อสุลต่านเมืองปัตตานีคนใหม่ขึ้นครองบัลลังก์ ก็ย้ายศูนย์การปกครองเมืองปัตตานีไปตั้งอยู่บริเวณตำบลปูยุดในปัจจุบันและไม่มีใครสร้างมัสยิดกรือเซะต่อ ปล่อยรกร้างไว้นับแต่นั้น
อีกตำนานหนึ่ง ซึ่งรู้จักกันอย่างแพร่หลายที่ผูกโยงกันกับความเชื่อและตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่เชื่อว่า มัสยิดกรือเซะ สร้างโดยชาวจีนชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยมผู้เป็นพี่ชายของนาง ซึ่งได้มาแต่งงานกับธิดาพระยาตานี และหันมานับถือศาสนาอิสลาม ลิ้มโต๊ะเคี่ยมไม่สามารถสร้างมัสยิดนี้ได้สำเร็จ เพราะส่วนหลังคาได้พังทลายลงมาทุกครั้งเมื่อสร้างมาถึงส่วยอดโดม อาจเป็นเพราะขาดทักษะความชำนาญในการสร้างโดม ในขณะที่มีผู้กล่าวขานกันว่านั่นอาจเป็นเพราะคำสาปของนางลิ้มกอเหนี่ยวที่ได้สาปแช่งเอาไว้ก่อนที่จะผูกคอตายใต้ต้นหิมพานต์ เนื่องจากไม่สามารถตามลิ้มโต๊ะเคี่ยมพี่ชายกลับไปเมืองจีนได้ตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับมารดา ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้สร้างสุสานของนางลิ้มกอเหนี่ยวน้องสาวไว้บริเวณหน้ามัสยิดแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
แม้ว่าจะมีผู้พยายามสร้างส่วนยอดโดมต่อ แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดทำสำเร็จได้ กรือเซะจึงกลายเป็นมัสยิดที่สร้างไม่เสร็จสิ้นมาจนทุกวันนี้
ปัตตานี กลันตัน ตรังกานู เคดะห์ และปีนังถูกตีและยึดครองในสมัยนั้น และในปี พ.ศ.2329 กองทัพสยามได้ยึดปืนใหญ่นางพญาตานี ขึ้นไปกรุงเทพฯ พร้อมกับได้ทำการกวาดต้นเชลยศึกมลายูขึ้นไปจำนวนหลายสิบหมื่นคน เพื่อไปเป็นโลห์มนุษย์และทำการขุดคลองจนได้ชื่อว่าคลองแสนแสบในปัจจุบัน สถานที่ๆ เชลยศึกและทาสมลายูถูกปล่อยเป็นกลุ่มก้อนมากที่สุดก็คือแถวคลองตัน พระโขนง มีนบุรี หนองจอก ทุ่งครุ นครนายก ปทุมธานีและแปดริ้ว( อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเฉิงเทรา ปัจจุบัน)
มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ได้ถูกฟ้าผ่าดั่งที่เรื่องราวของตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนียวบันทึกไว้ แต่โดนเผาเมื่อตอนที่สมัยกองทัพสยามได้เข้ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ แม่ทัพบางคนที่คุมทัพรัตนโกสินทร์ครั้งนั้น อย่างเช่นพระยาราชบังสัน
ซึ่งเป็นมุสลิมเสียใจต่อการกระทำครั้งนี้ของกองทัพสยามอย่างมาก แต่สงครามก็คือสงคราม ผู้ชนะย่อมต้องทำลายเมืองหรือศาสนสถานตลอดจนบ้านเรือนของผู้พ่ายแพ้สงคราม เพื่อไม่ตั้งตัวเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินในอนาคตได้ กองทัพพม่าได้เคยกระทำต่อกรุงศรีอยุธยาฉันท์ใด กองทัพสยามก็ได้ทำต่อปัตตานีฉันท์นั้น
มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้ถูกกรมศิลปกรตีทะเบียนเป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียน เข้ามาในปัตตานี เมื่อประมาณปี พ.ศ.2119 ในสมัยแผ่นดินสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ โดยได้นำเรือสำเภามาจอดเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือตันหยงลูโล๊ะ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียนได้อภิเษกสมรสเจ้าหญิงคนไหนเลย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหญิงฮิเยาว์ เจ้าหญิงบีรู หรือเจ้าหญิงอูงู
เพราะฉะนั้นตามตำนาน(ที่ตำนาน-นาน) ได้เล่าต่อๆ กันมาว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยม ได้แต่งงานกับบุตรีของเจ้าเมืองปัตตานี น่าจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
เพราะในประวัติศาสตร์อิสลามปัตตานี นับตั้งแต่พระยาอินทิราเข้ารับอิสลามมาจนถึงการปกครองของสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ ซึ่งอยู่ในระหว่างปี พ.ศ.2043-2127 ไม่ปรากฏว่า บุตรีของสุลต่านองค์ใดแต่งงานกับลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียนเลย และมัสยิดกรือเซะไม่ได้ถูกสร้างในสมัยสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ แต่น่าจะสร้างในรัชสมัยของสุลต่านอิสมาแอล ชาห์ (พระยาอินทิรา)ภายหลังจากที่พระองค์ได้เข้ารับศาสนาอิสลาม และสิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตูหรือเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจะสร้างมัสยิดหลังนี้ ตามที่ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเล่าต่อๆ กันมา เพราะถ้าเราได้ไปดูมัสยิดในเมืองจีนที่สร้างเมื่อ 400-500 ปีที่แล้ว เราเห็นได้ว่า มัสยิดเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นทรงจีน(เหมือนวัดจีน)ทั้งสิ้น ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจะเอาศีลปกรรมแบบเปอร์เซียมาสร้างมัสยิดนี้ได้อย่างไร อาจจะเป็นไปได้ว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยม อาจจะเข้ามาช่วยอาสาบูรณะมัสยิดภายหลังจากเกิดความเสียหายจากสงครามก็เป็นได้ อีกอย่างลิ้มโต๊ะเคี่ยมไม่ได้สมรสกับบุตรีของสุลต่านปัตตานีดั่งที่ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวว่ากล่าวไว้ แต่อาจจะสมรสกับเครือญาติของสุลต่านก็เป็นได้ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงเป็นผู้ที่อาสาต่อเติมมัสยิดให้เสร็จสิ้นและสิ่งที่น่าสังเกต คือ ในสมัยเจ้าหญิงฮิเยาว์ เจ้าหญิงบีรู เจ้าหญิงอูงู และเจ้าหญิงกูนิงครองเมืองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.2127-2230 มัสยิดกรือเซะก็ยังไม่ถูกทำลาย มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงามภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์
อาจเป็นไปได้ว่าในสมัยราชินีฮิเยาว์ เคยเกิดสงครามครั้งหนึ่งที่ทำให้มัสยิดเสียหาย คือในปี พ.ศ. 2146 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ส่งกองทัพเรือเข้ามาตีเมืองปัตตานี โดยมีออกญาเดโช เป็นผู้นำทัพ โดยมาขึ้นที่ปากอ่าวเมืองปัตตานีและบุกเข้าประชิดตัวเมือง ราชินีฮิเยาว์ได้นำทหารหาญของเมืองปัตตานีออกมาต่อต้านกองทัพอยุธยาอย่างเต็มกำลังสามารถ โดยใช้ปืนใหญ่ออกมายิงต่อสู้จนกองทัพสยามต้องถอยทัพกลับไปในที่สุด และในศึกสงครามครั้งนี้ทำให้มัสยิดกรือเซะหรือมัสยิดปินตูกรือบังเสียหาย ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งรับราชการอยู่จึงรับอาสาช่วยบูรณะซ่อมมัสยิดกรือเซะ และเป็นเวลาเดียวกับที่นางหรือนางสาวลิ้มกอเหนี่ยว (สมัยนั้นยังไม่ได้รับฉายาเป็นเจ้าแม่) มาตามพี่ชาย แต่พี่ชายไม่ยอมกลับเพราะยังบูรณะมัสยิดไม่เสร็จ และอาจเป็นไปได้ว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมมีความตั้งใจแล้วว่าจะไม่กลับไปแผ่นดินจีนอีกเพราะ
1).ต้องการบูรณะมัสยิดให้เสร็จ
2.ต้องต้องการที่จะตั้งรกรากใหม่ที่นี่เพราะมีลูกมีเมียแล้ว
3.เพราะตนเข้ารับอิสลามและเป็นมุสลิม
นางสาวลิ้มกอเหนี่ยว เมื่อได้รับการปฏิเสธจากพี่ชายก็เลยเสียใจ เพราะได้รับปากกับทางบ้านแล้วว่าจะนำพี่ชายไปยังบ้านเกิดให้จงได้ ไม่ว่าพี่ชายจะอธิบายเหตุผลและความจำเป็นของภารกิจอย่างไรก็ตาม ลิ้มกอเหนี่ยวก็ไม่ยอมฟัง เมื่อไม่สามารถโน้มน้าวจิตใจพี่ชายให้คล้อยตามนางได้ นางจึงเสียใจเป็นที่สุดเพราะนางไม่สามารถบากหน้ากลับบ้านไปหาแม่ได้โดยปราศจากพี่ชาย จึงได้ตัดสินใจผูกคอตายโดยใช้ผ้าหรือเชือกผูกกับต้นมะม่วงหิมพานต์ที่ริมชายหาดตันหยงลูโละ ส่วนนางจะสาปแช่งให้ฟ้าผ่ามัสยิดหรือไม่นั้น เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ถ้าหากนางสาปแช่งมัสยิดกรือเซะจริง แล้วใครเป็นคนได้ยิน แล้วหากมีคนได้ยินตอนที่นางสาปแช่ง ทำไมไม่ช่วยกันห้าม การผูกคอตายครั้งนี้เป็นไปเพราะน้อยใจพี่ชายเท่านั้น หรือหากนางอาฆาตพยาบาทต่อมัสยิดกรือเซะ ก็คงไม่ใช่เพราะแรงอาฆาตพยาบาทหรือแรงอธิษฐานของนางหรอกที่ดลบันดาลให้ฟ้าผ่ามัสยิดกรือเซะ หรือหากมีฟ้าผ่ามัสยิดกรือบ้างก็เพียงเพราะเหตุที่โดมสัมยิดกรือหุ้มด้วยทองคำต่างหาก เพราะมัสยิดกรือเซะในสมัยนั้นไม่มีสายล่อฟ้า ในความเป็นจริงมัสยิดกรือเซะก็ไม่ได้เสียหายเพราะถูกฟ้าผ่า
ผู้ชนะย่อมสามารถเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาเองได้ แต่การจะเขียนว่า “มัสยิดกรือเซะโดนนางสาวหรือนางลิ้มกอเหนี่ยว สาปแช่งไว้จนถูกฟ้าผ่านั้น” มันขัดกับความจริงที่เกิดขึ้น “จึงอุปโลกตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวขึ้นมา เพราะต้องการปกปิดความจริงบางอย่าง”
ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้องปกปิดเลย เพราะอดีตก็คืออดีต อดีตมีเพื่อเรียนรู้ไว้เป็นบทเรียน สิ่งที่ดีจากการเรียนรู้ในอดีตเราก็สามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องจดจำไว้เป็นอุทาหรณ์เพื่อช่วยกันป้องกันแก้ไขอย่าให้เกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ดังนั้น การผูกโยงเรื่องมัสยิดกรือเซะสร้างไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากคำสาปแช่งของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นหรือเป็นตำนานที่สร้างขึ้นมาก็ตาม สำหรับมุสลิมจะเชื่อถือศรัทธาเช่นนั้นไม่ได้ ดังนั้น การสื่อสารเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง มัสยิดกรือเซะกับเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จึงควรอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมไม่ก้าวล่วงทำลายความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวจีนกับชาวมุสลิมที่มีมาเป็นเวลายาวนาน
ที่มา: sites.google.com
- พบมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ซากมัสยิด สุสาน จมใต้น้ำเขื่อนบางลางกว่า 36 ปี
- มัสยิดเก่าแก่ของภูมิภาคฮาอีล อายุราว 105 ปี
- เมื่อพระเจ้าตากสิน เสด็จฯ ไปกุโบร์ฝังศพ
- มัสยิด 300 ปี ที่ตะโละมาเนาะ ครั้งหนึ่ง เคยเป็นแหล่งผลิต คัมภีร์อัลกุรอานที่เขียนด้วยมือ
- เยี่ยมชม “มัสยิดในหลวง” แห่งเดียวในไทย ที่ชาวมาเลเซียกล่าวขานว่าชีวิตนี้ต้องมาละหมาดซักครั้ง