มุสลิมทั่วโลกมีทัศนคติที่แตกต่างกันสำหรับการฟังเสียงของนักกอรีหญิง บางคนคิดว่า นักกอรีหญิงควรแสดงความสามารถเฉพาะในพื้นที่ของกลุ่มผู้หญิง
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: นักกอรีหญิง เป็นส่วนหนึ่งของมรดกอิสลาม (คลิป)
มุสลิมทั่วโลกมีทัศนคติที่แตกต่างกันสำหรับการฟังเสียงของนักกอรีหญิง บางคนคิดว่า นักกอรีหญิงควรแสดงความสามารถเฉพาะในพื้นที่ของกลุ่มผู้หญิง เช่น ในการอ่านท่องจำอัล-กุรอาน ในการละหมาด หรือในการบรรยายที่มีเฉพาะผู้หญิง เพราะเกรงว่า การฟังเสียงผู้หญิงในที่สาธารณะจะเป็นความผิดบาป แต่ในหลายพื้นที่ ผู้หญิงได้รับการสนับสนุน และมีความกระตือรือร้นที่จะดึงนักกอรีหญิงให้ออกมาแสดงความสามารถมากขึ้น
nusaiba mohammad timol
นูซัยบะอฺ มูฮัมหมัด (nusaiba mohammad timol) ครูสอนท่องจำอัล-กุรอาน กล่าวว่า เธออาจจะอธิบายเสียงอ่านอัล-กุรอานของเธอว่า เป็นการผสมผสานระหว่างความสุข ความปวดร้าว ความเศร้าเล็กน้อย แต่ก็มีความหวานปน ๆ อยู่เหมือนกัน
นูซัยบะอฺ อ่านอัล-กุรอานต่อหน้าผู้คนจำนวนมากมาตั้งแต่ยังเด็ก ตอนนี้เธอเป็นครูสอนผู้ที่ต้องการจะเรียนรู้การอ่านอัล-กุรอานในสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเธอ เธอยังกล่าวว่า เธอรู้สึกเต็มตื้นเมื่อได้อ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงอันทรงพลัง สิ่งสำคัญคือ การมีเสียงที่ดี และ “ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ก็รับรองในเรื่องการอ่านอัล-กุรอานของผู้หญิง และผลักดันให้ผู้หญิงแสดงความสวยงามของอัล-กุรอาน ผ่านการท่องจำด้วย”
มุสลิมทั่วโลกท่องจำอัล-กุรอานในการละหมาด แต่บางคนกลายเป็นนักท่องจำที่มีความเชี่ยวชาญ และสามารถอ่านได้ต่อหน้าคนจำนวนมาก นักกอรีส่วนมากเป็นผู้ชาย ในประเทศเช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย นักกอรีหญิงสามารถท่องจำอัล-กุรอานในที่สาธารณะและพวกเธอได้รับการสนับสนุน แต่ในบางประเทศ ผู้หญิงอาจถูกสั่งไม่ให้ท่องจำอัล-กุรอานต่อหน้าสมาคมที่ผู้ชายปะปนอยู่ หรือบางครั้ง พวกเธออาจจะไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่นักกอรีหญิงได้รับการยอมรับก็ได้
มัรยัม อามีร (Maryam Amir) นักท่องจำอัล-กุรอาน และนักวิชาการด้านศาสนา กล่าวว่า ในตอนแรกเธอคิดว่า เป็นสิ่งไม่อนุมัติสำหรับผู้หญิงที่จะท่องจำอัล-กุรอานในสถานที่ที่ผู้ชายสามารถได้ยินเธอได้ ต่อมา Sheikh Moheb ได้กล่าวกับเธอว่า “มัรยัม เธอไม่รู้หรือว่า ในประวัติศาสตร์อิสลามเต็มไปด้วยนักอ่านกุรอานหญิง” “เธอไม่รู้หรือว่า ผู้หญิงท่องจำอัล-กุรอาน คือ มรดกของอิสลาม “ในประวัติศาสตร์อิสลามมีผู้หญิงจำนวนมากมายที่สอนอัล-กุรอานให้แก่ผู้ชาย”
ในอินสตาแกรม มีผู้หญิงจำนวนมากที่มีความคิดเช่นมัรยัม กำลังโพสต์เพื่อให้การท่องจำอัล-กุรอานของผู้หญิงได้ถูกเห็นเด่นชัดขึ้น มีการพูดคุยและตั้งคำถามถึงทัศนคติทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างเปิดเผย
มาดินะฮ์ ญาเวด จากสถาบันอันดาลูส กล่าวว่า เธอได้เปิดตัวแคมเปญ #femalereciters เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงทัศนียภาพทางเสียง ความสวยงาม ไพเราะของเสียง เมื่อผู้หญิงได้ท่องข้อความอันศักดิ์สิทธิ์ในอัล-กุรอาน
“มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่อยากอ่านอัล-กุรอาน แต่เพราะบางทีพวกเธออาจจะไม่ใช่นักกอรีมืออาชีพ พวกเธออาจจะเพิ่งหัดอ่าน พวกเธออาจจะรู้สึกเขินอาย และไม่มั่นใจในตัวเอง”
“ฉันอยากให้ #femalereciters เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนที่ต้องการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ เพิ่งเรียนรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญ ต้องการให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน”
nusaiba mohammad timol
nusaiba mohammad timol
nusaiba mohammad timol
ที่มา: www.bbc.com
http://news.muslimthaipost.com/news/34522
- Ma Shaa Allah หนูน้อยวัย5ขวบ ท่องอัลกุรอานได้ทั้งเล่ม(30ญุซ)
- นักกอรีหญิงไทย สร้างชื่อคว้าลำดับ 3 ที่มาเลเซีย
- เด็กชายอายุน้อยที่สุดในมัลดีฟ ท่องจำอัลกุรอานได้ทั้งเล่ม
- นักโทษมุสลิมยูเครน ผวาถูกขู่ฆ่าในรัสเซีย
- เด็กตาบอดวัย 5 ขวบจดจำอัลกุรอานทั้งหมด จากวิทยุ
- Jennifer Grout กับคลิปอ่านอายะฮ์กุรซีย์ สั่นสะเทือนทั้งโซเชียล!