เศรษฐกิจแบบอิสลามซึ่งอิงภาคเศรษฐกิจจริง สามารถทนต่อสถานการณ์วิกฤติได้ในระดับสูง ทั้งนี้ ภาคธุรกิจจริงมีบทบาทในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้คน
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : นักเศรษฐศาสตร์อินโดนีเซียย้ำ ระบบเงินชาริอะฮ์ทนต่อวิกฤติได้สูง
ศาสตราจารย์เดียน มาสยีต้า (Dian Masyita) แห่งคณะเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ มหาวิทยาลัย Padjadjaran (Unpad) กล่าวเมื่อปลายสัปดาห์ ที่ผ่านมา ว่า เศรษฐกิจแบบอิสลามซึ่งอิงภาคเศรษฐกิจจริง สามารถทนต่อสถานการณ์วิกฤติได้ในระดับสูง ทั้งนี้ ภาคธุรกิจจริงมีบทบาทในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้คน และมีผลดีหลายประการ รวมถึงการสร้างงานด้วย
เธอยังกล่าวว่า เศรษฐกิจแบบอิสลามยังมีศักยภาพอีกมาก และสามารถที่จะเติบโตได้ดีในประเทศที่มีประชากรมุสลิมจำนวนมากเช่น อินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียยังมีความท้าทายมากมายที่ต้องจัดการ โดยเฉพาะในภาคการเงินชารีอะฮ์ และอินโดนีเซียยังมีอุปสรรคที่มีอัตราการรู้หนังสือที่ต่ำ ซึ่งในตลาดทุนชารีอะฮ์ บริษัทต่าง ๆ มีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าออกมาให้มากเพียงพอ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
นีนี่ สุโมฮานโดโย ผู้อำนวยการฝ่ายความสัมพันธ์การลงทุนชาริอะฮ์แห่งรัฐและชุมชนพรูเด็นเชียลอินโดนีเซีย กล่าวว่า เพื่อเป็นการรับมือกับความท้ายทายของเศรษฐกิจแบบอิสลาม บริษัทประกันภัย พรูเด็นเชียลอินโดนีเซีย ได้เปิดตัวกองทุน PRULink Syariah Rupiah Multi Asset Fund คาดหวังว่าจะเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหา โดยการผลักดันให้ชาวอินโดนีเซียลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นหุ้นแบบชาริอะฮ์
โครงการนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความพยายามของรัฐบาล ในการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจแบบชาริอะฮ์ ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาอย่างมาก
PRULink Syariah Rupiah Multi Asset Fund คือ กองทุนผสมที่ใช้สกุลเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย ซึ่งช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงการลงทุนที่มั่นคงยิ่งขึ้น ด้วยสินทรัพย์ภายในประเทศที่มีความหลากหลาย
ที่มา: www.en.tempo.co