ตุรกี-ปากีสถาน กำลังร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเครื่องบินขับไล่ล่องหนรุ่นที่ 5 เพื่อใช้แทนฝูงบิน F-16 ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ตุรกี-ปากีสถาน จับมือพัฒนาเครื่องบินรบ หวังกู้ชื่อนักรบโลกอิสลาม
ตุรกี-ปากีสถาน กำลังร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเครื่องบินขับไล่ล่องหนรุ่นที่ 5 เพื่อใช้แทนฝูงบิน F-16 ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา โดยนายเทเมล โคทิล (Temel Kotil) ซีอีโอ ของอุตสาหกรรมแอโรสเปซ (Turkish Aerospace Industries (TUSAS) ประกาศว่า เครื่องบินรบรุ่น Turkish Fighter Experimental (TF-X) จะเป็นโครงการร่วมกันระหว่างตุรกี-ปากีสถาน
ในปี 2016 ตุรกีเคยประกาศว่า เครื่องบิน TF-X จะเป็นเครื่องบินหลายบทบาท มีเครื่องยนต์คู่ที่เน้นความสามารถจากอากาศสู่อากาศ และสามารถสู้รบแบบอากาศสู่พื้นดินด้วย นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะใช้การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีของสหรัฐ ฯ และรัสเซีย เนื่องจากตุรกีได้รับใบอนุญาตผลิตเครื่องยนต์ US General Electric F118 และรัสเซียสามารถจัดหาระบบอิเลคทรอนิคส์ ระบบขับเคลื่อน เรดาร์ เซ็นเซ่อร์ ที่นั่งดีดออก และระบบดาต้าลิงค์ที่จำเป็น
ในส่วนของปากีสถาน นายพลอากาศริซวาน ริอาซ กล่าวว่า ทีมพัฒนาในตุรกีได้ส่งงานพัฒนาชิ้นส่วนเล็ก ๆ ให้นักศึกษาและนักวิจัยในปากีสถานเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะมีการแบ่งส่วนประกอบโครงการเป็นส่วนย่อย และนำมารวมกันในภายหลัง
นายเทเมล กล่าวเสริมว่า การดำเนินการบางส่วนของ TUSAS จะย้ายไปยังปากีสถานในปีนี้ เพื่อเป็นการปรับปรุงความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศระหว่าง 2 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอากาศยานขึ้นมาแทนที่ F-16 และเครื่องบิน Mirage III ของปากีสถาน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศประสบปัญหาในการพัฒนาเครื่องบินรบรุ่นที่ 5 ของตนเอง
ที่ผ่านมา สภาคองเกรสสหรัฐ ฯ มักจะปิดกั้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องยนต์ไอพ่นที่ส่งไปยังตุรกี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการคว่ำบาตร เนื่องจากตุรกีตัดสินใจซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 จากรัสเซีย ทำให้ตุรกีถูกถอดออกจากโครงการ F-16 ของสหรัฐ ฯ และอาจมีปัญหาข้อจำกัดเกี่ยวกับชิ้นส่วนอะไหล่ และความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี
ในกรณีของปากีสถาน ปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงิน รวมทั้งทรัพยากรที่จำกัด ทำให้กำหนดเวลาของโครงการ Azm ไม่แน่ชัด และเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง แม้ว่าปากีสถานจะผลิตเครื่อง JF-17 โดยร่วมมือกับจีน แต่ไม่เคยผลิตเครื่องบินได้ด้วยตัวเอง อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทั้งสองประเทศยังมีฐานเทคโนโลยีที่จำกัด ซึ่งอาจไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาเครื่องบินรบรุ่นที่ 5
อย่างไรก็ตาม โปรแกรม TF-X กำลังถูกเล็งว่า จะเป็น “นักสู้รายใหญ่คนแรกของโลกอิสลาม” ซึ่งอาจหมายถึงว่า ประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากปากีสถานจะสามารถเข้าร่วมในโปรแกรมนี้ได้ โดยเฉพาะเอมิเรตส์ สามารถเลือก TF-X แทนการร่วมมือผลิต Su-57 กับรัสเซีย และมาเลเซียสามารถจัดหาวัสดุคอมโพสิตที่จำเป็นสำหรับตัวเครื่องบินได้
เป้าหมายนี้คาดการณ์ว่า ตุรกีและปากีสถานจะเป็นมหาอำนาจที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกอิสลาม เหนือคู่แข่งอย่างอิหร่านและซาอุดี้อาระเบีย
ที่มา: www.asiatimes.com
https://news.muslimthaipost.com/news/36061
- นักวิชาการมุสลิม เรียกร้องยุติ สงครามรัสเซียในยูเครน
- โรงเรียนแจงขอโทษ นำภาพบิน ลาเด็น เป็นศาสดามุฮัมมัด
- มุสลิมหญิงคนแรก ได้รับเลือกเป็นสมาชิก CT House
- ประหลาดใจ! ผู้โดยสารที่สนามบินดูไบมากเกินคาด แต่ยังน้อยกว่าก่อนโควิด-19
- หมอมุสลิมที่นำหัวใจหมูมาเปลี่ยนให้คนไข้ ถูกต่อว่า "ทำไมไม่ลองใช้หัวใจสัตว์อื่น"
- อุละมะอฺปากีฯ ชี้! สูบบุหรี่ เป็นที่อนุมัติในอิสลามหรือไม่?