ผู้นำฮามาส อิสมาอีล ฮานีเยฮ์ ถูกลอบสังหารในกรุงเตหะราน เหตุการณ์นี้มีที่มาอย่างไรและใครอยู่เบื้องหลัง?
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ข่าวด่วน! ผู้นำฮามาส อิสมาอิล ฮานิเยฮ์ ถูกลอบสังหารในกรุงเตหะราน ใครอยู่เบื้องหลัง?
หน่วยพิทักษ์การปฏิวัติกึ่งทหารของอิหร่าน ระบุว่า อิสมาอิล ฮานิเยฮ์ (Ismail Haniyeh) ผู้นำของกลุ่มฮามาส ถูกลอบสังหารในกรุงเตหะราน ระหว่างที่เขาเข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
กลุ่มฮามาสออกแถลงการณ์แสดงความเศร้าโศกต่อการเสียชีวิตของ ฮานีเยฮ์ ซึ่งระบุว่า เขาถูกสังหารในการโจมตีของไซออนิสต์ ที่บ้านพักของเขาในกรุงเตหะราน
Ismail Haniyeh ผู้นำของกลุ่มฮามาส
สถานีโทรทัศน์ของรัฐรายงานการเสียชีวิตของเขาเมื่อเช้าวันพุธ (31/7) ฮานีเยฮ์ อยู่ในเตหะรานเพื่อร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ของ นายมัสอูด เพเซชกียอน (Masoud Pezeshkian) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พร้อมกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของเขาคนหนึ่ง
คำแถลงของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ที่เผยแพร่ผ่านเว็ปไซต์ข่าว Sepah ระบุว่า บ้านพักของฮานิเยฮ์ หัวหน้าสำนักงานการเมืองของกลุ่มฮามาส ในกรุงเตหะราน ถูกโจมตี และ “จากเหตุการณ์นี้ เขาและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคนหนึ่งถูกสังหาร การโจมตีดังกล่าวอยู่ระหว่างการสอบสวน”
ยังไม่มีกลุ่มไหนออกมาอ้างความรับผิดชอบในทันที แต่ความสงสัยตกอยู่กับอิสราเอล ซึ่งให้คำมั่นว่าจะสังหารฮานิเยฮ์ และผู้นำคนอื่น ๆ ของกลุ่มฮามาส นักวิเคราะห์ออกมากล่าวโทษอิสราเอลในการโจมตีครั้งนี้ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐ อิสราเอลไม่ได้แสดงความคิดเห็นในทันที แต่มันมักจะไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการลอบสังหารโดยหน่วยข่าวกรองมอสสาดของพวกมัน
Ismail Haniyeh ผู้นำของกลุ่มฮามาส
อิสราเอลต้องสงสัยว่า ดำเนินการรณรงค์ลอบสังหารมาเป็นเวลาช้านาน โดยมุ่งเป้าไปที่นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชาวอิหร่าน และคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนิวเคลียร์
ในปี 2020 นายมุฮ์เซ็น ฟาครีซาเดฮ์ นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ทางทหารชั้นนำของอิหร่าน ถูกสังหารด้วยปืนกลที่ควบคุมโดยรีโมท ขณะเดินทางด้วยรถยนต์นอกกรุงเตหะราน
การลอบสังหารที่ชัดเจนเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่อ่อนไหว ในขณะที่ฝ่ายบริหารของไบเดน พยายามกดดันฮามาสและอิสราเอลให้ตำลงทำข้อตกลงหยุดยิง และปล่อยตัวประกัน
ฮานีเยฮ์ ซึ่งถือเป็นนักปฏิบัติมากกว่าแสดงทฤษฎี เคยถูกเนรเทศ และใช้เวลาอยู่ในประเทศตุรเคีย และกาตาร์ เขาเดินทางไปปฏิบัติภารกิจทางการทูตยังอิหร่าน และตุรเคีย ในช่วงสงคราม โดยได้พบกับทั้งประธานาธิบดีตุรเคีย และอิหร่าน กล่าวกันว่า เขาสามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีกับหัวหน้ากลุ่มต่าง ๆ ของปาเลสไตน์ รวมทั้งกับขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PA) ที่นำโดยมะฮ์มู้ด อับบาส
อิสมาอีล ฮานิเยฮ์ เข้าร่วมกับกลุ่มฮามาส ในปี 1987 เมื่อกลุ่มนี้ถูกก่อตั้งขึ้นท่ามกลางการเกิด “เหตุการณ์มหาวิปโยค (intifada)” ครั้งแรกของชาวปาเลสไตน์ เพื่อต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล ซึ่งกินเวลาจนถึงปี 1993
ที่มา: www.english.alarabiya.net