อิสราเอลสั่งห้ามมัสยิดอะซาน อ้างรบกวนคนยิว
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: อิสราเอลสั่งห้ามมัสยิดอะซาน อ้างรบกวนคนยิว
ในวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นายอามาร์ เบน กวีร์ รัฐมนตรีขวาจัดประจำกระทรวงความมั่นคงภายใน ของอิสราเอล สั่งการให้ตำรวจห้ามมัสยิดอะซาน หรือเปล่งเสียงร้องเชิญชวนเมื่อถึงเวลานมาซ โดยอ้างว่า เป็นการรบกวนชาวยิว เขายังได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ยึดลำโพงและปรับมัสยิด ที่ยังคงกระจายเสียงอะซาน แม้จะใช้เวลาเพียง 2 นาทีในแต่ละครั้ง
เบน กวีร์ ปกป้องการตัดสินใจดังกล่าวโดยอ้างว่า มีความจำเป็นเพื่อต่อสู้กับ “เสียงรบกวนที่ไม่สมเหตุสมผล” และไร้กฎหมายรองรับ
Ben Gvir
ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ช่อง 12 เขากล่าวว่า เขาภูมิใจที่ได้ก้าวไปข้างหน้าด้วยนโยบาย “หยุดเสียงรบกวนที่ไม่สมเหตุสมผลจากมัสยิด และจากแหล่งอื่น ๆ ที่กล่ายเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยในอิสราเอล”
แถลงการณ์ที่ออกโดยสำนักงานของเขา ระบุว่า “ในการถกเถียงของเรา ปรากฏว่า ประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ และแม้แต่ประเทศอาหรับบางประเทศ จำกัดการส่งเสียงดัง และมีกฎหมายหลายฉบับในเรื่องนี้ มันถูกละเลยในอิสราเอลเท่านั้น”
ในโพสต์บนแพลตฟอร์ม X เขาเรียกการ “อะซาน” ว่าเป็นอันตรายสำหรับชาวอิสราเอลที่อยู่ใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม ชาวปาเลสไตน์ในอิสราเอล มองว่า การห้ามดังกล่าวเป็นการโจมตีที่ยั่วยุต่อชุมชน และสิทธิทางศาสนาของพวกเขา
อะหมัด ติบี ส.ส. และผู้นำพรรคทาอัล ประณามการตัดสินใจดังกล่าว เขากล่าวในรัฐสภา ว่า “เบน กวีร์ ต้องการจุดไฟให้เกิดความขัดแย้งทางศาสนา ในอดีตมีความพยายามที่จะผ่านกฎหมาย “ต่อต้านการเรียกร้องให้มีการละหมาด หรือการอะซาน” ในเมืองต่าง ๆ จุดยืนของเราในประเด็นนี้ในฝ่ายของอาหรับ คือ ต่อต้านการเข้ามาของตำรวจ การอะซานจะดำเนินต่อไป เพราะศาสนาอิสลามจะยังดำรงอยู่”
จากนั้น เขากล่าวหานายกรัฐมนตรีอิสราเอล ว่าอยู่เบื้องหลังการกระทำของ เบน กวีร์ โดยว่า “เนทันยาฮุเป็นหัวหน้า และเขาต้องรับผิดชอบต่อสิ่งนี้ และผลที่ยากลำบากที่ตามมาที่อาจเกิดขึ้น หากสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง”
ผู้สนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน และนายกเทศมนตรีปาเลสไตน์ ประณามคำสั่งห้ามนี้ ว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่เลือกปฏิบัติอีกประการหนึ่งของรัฐบาลยึดครองของอิสราเอล
นายคอลิด ซาบัรกอ ทนายความและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน บอกกับสื่อ MEE ว่า การเคลื่อนไหวของ เบน กวีร์ เป็นมากกว่าแค่การยั่วยุเท่านั้น
ซาบัรกอ กล่าวว่า “การอธิบายว่ามันเป็นการกระทำที่เป็นการยั่วยุ จะลดความรุนแรงของประเด็นนี้ลง มันทำให้ดูเหมือนว่า ปัญหาจะกี่ยวกับ เบน กวีร์ เท่านั้น ราวกับว่า การลบ เบน กวีร์ ออกไปจะแก้ปัญหาทั้งหมดได้ แต่สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องแนวคิความเป็นยิวของรัฐบาลอิสราเอล และความหมายของมัน”
“หนึ่งในผลกระทบเหล่านี้ คือการควบคุมพื้นที่สาธารณะ ทุกวันนี้ พื้นที่สาธารณะเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ทางศาสนา คือ อะซานที่เตือนพวกเขา 5 ครั้งต่อวัน ซึ่งแสดงถึงการมีอยู่ของคนอื่นที่นี่ นี่คือสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการ”
เบน กวีร์ มีประวัติการต่อต้านการอะซานของมุสลิม ในปี 2013 ก่อนที่เขาจะเข้ารับตำแหน่งทางการเมือง เบน กวีร์ และกลุ่มนักเคลื่อนไหวขวาจัดได้ก่อกวนผู้อยู่อาศัยในย่าน รามัต อาวีฟ ของกรุงเทลอาวีฟ ด้วยการระเบิดลำโพงอะซาน พวกเขาอ้างว่า การกระทำนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเน้นย้ำว่า ชุมชนอื่น ๆ ในอิสราเอล “ถูกรบกวน” จากการอะซาน
ยังมีความพยายามในการจำกัดการอะซานในรัฐสภา Knesset ของอิสราเอลเช่นกัน โดยในปี 2017 มีการผ่านกฎหมาย ‘Muezzin Bill’ ซึ่งพยายามจำกัดการใช้ลำโพงเพื่อจุดประสงค์ทางศาสนา แต่ท้ายที่สุดก็หยุดชะงักไป - news.muslimthaipost.com
ที่มา: www.middleeasteye.net
https://news.muslimthaipost.com/news/38698
- ซีเรีย-พันธมิตรเปิดศึกเดือด! ท้าชน SDF ไม่มียั้ง
- กบฏซีเรียคืนชีพ รุกยึดอะเลปโป กองทัพลั่นพร้อมตอบโต้
- ปาเลสไตน์ไม่ทน! ตำหนิสหรัฐฯ เงียบกริบเรื่องกาซา
- อัยการใหญ่เนเธอร์แลนด์หนุน ห้ามส่งอาวุธไปอิสราเอล
- คนแน่นเมือง! แสนชีวิตในลอนดอนรวมพลังให้ปาเลสไตน์
- ส.ส.เลบานอน หนุนโหวตปธน.ใหม่ต้นปี!
- ปิดทางเข้ารัฐบาล! ลอนดอนเดือด ประท้วงหยุดส่งอาวุธให้อิสราเอล
- ทุ่มหนัก! สหรัฐฯ เตรียมส่งยุทโธปกรณ์ พร้อมระเบิดเล็กให้อิสราเอล
- ผู้สื่อข่าวกาซาสุดจึ้ง! คว้ารางวัลวิดีโอข่าวสงคราม