มุสลิมอินโดนีเซียอ่อนไหว กล่าวหาการประดับโมเสคบนถนนเป็นเครื่องหมายกางเขน
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: มุสลิมอินโดนีเซียอ่อนไหว กล่าวหาการประดับโมเสคบนถนนเป็นเครื่องหมายกางเขน
สุราการ์ต้า – การประดับกระเบื้องโมเสค รอบอนุสาวรีย์บนถนนหลักในเขตสุราการ์ต้า ชวาตอนกลาง สร้างความโกรธเคืองในหมู่มุสลิมอนุรักษ์นิยม เนื่องจากเมื่อมองภาพถ่ายทางอากาศแล้ว การประดับกระเบื้องโมเสค ดังกล่าว ดูเหมือนเป็นรูปไม้กางเขน
กลุ่ม Surakarta’s Muslim Troops (LUIS) ได้ตั้งข้อสงสัยในการออกแบบดังกล่าว ว่าจงใจที่จะทำให้เป็นรูปไม้กางเขนหรือไม่ และเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารท้องถิ่นทบทวนในเรื่องนี้
เอ็นโดร สุดาร์โซโน่ โฆษกของ LUIS กล่าวว่า ได้เรียกร้องฝ่ายบริหารท้องถิ่น สุราการ์ต้า ให้ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น เพื่อไม่ให้สร้างความขัดแย้ง และข้อพิพาทเกี่ยวกับนิกายต่างๆ
ภาพถ่ายทางอากาศของการประดับโมเสคบนถนนสุดิรมัน (Jalan Sudirman) ยังได้สร้างความขัดแย้งในหมู่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ หลังมีการเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ท
นายกเทศมนตรีเขตสุราการ์ต้า FX Hadi Rudyatmo กล่าวปฏิเสธในเรื่องนี้ และว่า ฝ่ายปกครองท้องถิ่นมิได้วางแผนออกแบบการประดับโมเสค ซึ่งอยู่หน้าหอประชุมประจำเมือง ให้เป็นภาพดังที่เข้าใจกัน และว่า เขาไม่ได้เกี่ยวข้องในการออกแบบนี้ด้วยซ้ำ ซึ่งหากเขาวางแผนให้ประดับโมเสคเป็นรูปไม้กางเขน ก็เท่ากับเขาดูหมิ่นศาสนาของเขาเอง ในฐานะผู้นับถือศาสนาคริสต์ย่อมทราบดีว่า ไม้กางเขนเป็นเครื่องหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ และไม่ควรนำมาวางไว้ในที่ที่จะถูกเหยียบย่ำ
เขายังอธิบายเพิ่มเติมว่า ชาวคริสต์แคธอลิคมีข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับไม้กางเขน เช่น ต้องมีขนาดและรูปร่างอย่างไร รวมทั้งต้องมีรูปของพระเยซูถูกตรึงอยู่ด้วย เขายังกล่าวว่า งานออกแบบจัดทำโดยสำนักโยธาธิการและอาคารบ้านพัก ซึ่งจะยังคงงานด้านการออกแบบศิลปะไว้ แม้จะมีเสียงคัดค้านในสื่อสังคมออนไลน์ก็ตาม
เลขาธิการหน่วยงานสาธารณะ กล่าวว่า การออกแบบกระเบื้องโมเสคนี้ ทำให้สอดคล้องประสานกับรูปปั้น วงเวียน และหอประชุมพาเลซ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน โมเสคได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็น 8 ทิศ โดยมีรูปปั้น Pemandengan เป็นจุดศูนย์กลาง และมีเส้นสีเหลืองเป็นจุดนำสายตาออกไปตามทิศทางที่กำหนด
หัวหน้าตำรวจสุราการ์ต้า เรียกร้องประชาชนให้พิจารณาให้รอบคอบ และว่าควรจะมีความชาญฉลาดเพียงพอ และมีมุมมองที่ชัดเจนในการมองสิ่งต่าง ๆ และอย่าเสียเวลาหารายละเอียดเพื่อจับผิด และนำไปเชื่อมโยงกับเรื่องศาสนา
ในทำนองเดียวกัน หัวหน้าสภาอุละมะอฺอินโดนีเซีย สาขาสุราการ์ต้า ไม่เห็นด้วยกับการมองรูปแบบดังกล่าวอย่างผิดเพี้ยนในเชิงลบ และเขายังอ้างความเห็นของหัวหน้าตำรวจ โดยระบุว่า คำร้องเรียนดังกล่าวมาจากการมองฝ่ายเดียว อย่าเชื่อการบิดเบือนความจริงด้วยการกล่าวอ้างจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
- มีเฮ! เบราเซอร์ฮาลาล เปิดตัวแล้วที่มาเลเซีย
- Long Fadil เจ้าพ่อสุดอันธพาลสู่หนทางแห่งแสงสว่าง
- มุสลิมออสเตรเลียมีกี่ล้าน คุณรู้หรือไม่!
- จากคนแปลกหน้ากลายเป็นคู่ชีวิต หนุ่มอินโด พบรัก สาวอังกฤษ แม้ระยะทางจะแสนไกล ก็ไม่อาจกั้นบุพเพสันนิวาส
- ลินด์สเวลล์ กว๊อก นักกีฬาเหรียญทองวูซู เข้ารับอิสลาม นี่คือความจริง 7 ข้อที่น่าสนใจ
- ศาสนาอิสลามเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยใด?
- เธอคือใคร สาวเสียงดีกับบทเพลงศรัทธาในอิสลาม ยอดวิวกว่า 10 ล้านทุกเพลง
- ดราม่าหนัก! ห้ามมุสลิมรำรองเง็ง กอจ.กระบี่ชี้ผิดหลักศาสนาอิสลาม
- ชื่นชมในจุดยืน! นักกีฬาหญิงมุสลิมท่านนี้ ไม่ยอมถอดฮิญาบในทุกกรณี
- ลือให้แซด! ฉีควัคซีน มีองค์ประกอบของหมู จริงหรือไม่? เคลียร์ด่วน!
- แนะนำมัสยิดกลางน้ำ 3 แห่งที่สวยที่สุดในอินโดนีเซีย
ที่มา: www.straitstimes.com
http://news.muslimthaipost.com/