ขณะที่ผู้คัดค้าน ในตอนนั้นเห็นว่า มัสยิดดังกล่าวก่อสร้างในเขตชุมชนซึ่งใกล้กับวัด และโรงเรียนอนุบาล โดยหากการก่อสร้างแล้วเสร็จ อาจเกิดมลพิษทางเสียง
สัปดาห์ก่อน คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย คณะที่ 1 ได้สรุปผลหารือกับฝ่ายปกครองจังหวัดบึงกาฬ และกองส่งเสริมองค์กรศาสนาอิสลามและกิจการฮัจย์ กรมการปกครอง ซึ่งเป็นการพิจารณาข้อหารือ
ปัญหาการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัศศอบีรีน มัสยิดแห่งแรกใน จ.บึงกาฬ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ป่าท้ายหมู่บ้านโนนก่อ เลขที่ 132 หมู่ที่ 6 ต.โนนศิลา อ.ปากคาด ไม่ไกลจากแม่น้ำโขงมากนัก เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2559 หลังคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อนุญาตให้สร้างเมื่อ วันที่ 25 ก.ค.59 ทั้งที่ การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่กลับมีการยื่นขอจดทะเบียนย้อนหลัง เมื่อ 1 ส.ค.59 และได้รับความเห็นชอบเมื่อ 22 ส.ค.59 โดยปัจจุบันสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ มี.ค.60
เรื่องนี้มีคนในพื้นที่ออกมาคัดคาดการก่อสร้างจำนวนมาก ภายใต้ชื่อ “บึงกาฬไม่เอามัสยิด”กอรปกับ มีผู้ร้องเรียนว่า การออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 แม้ผู้ยื่นขอจดทะเบียน จะระบุว่า เป็นการยื่นต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งทำหน้าที่แทน คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดบึงกาฬ
ขณะที่ผู้คัดค้าน ในตอนนั้นเห็นว่า มัสยิดดังกล่าวก่อสร้างในเขตชุมชนซึ่งใกล้กับวัด และโรงเรียนอนุบาล โดยหากการก่อสร้างแล้วเสร็จ อาจเกิดมลพิษทางเสียง รวมทั้งปัญหาการกลืนกินวัฒนธรรมและชาติพันธุ์
เรื่องนี้ “จังหวัดบึงกาฬ”ได้ตั้งทีมอบสวน สรุปผลตรวจสอบว่า แม้การออกหนังสือสำคัญฉบับดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ได้มีมติเห็นชอบให้สร้าง และจัดตั้งมัสยิดไปก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างเสร็จ และใช้ประกอบศาสนกิจ โดยผู้ขอสร้างและจัดตั้งมัสยิดได้นำมติเห็นชอบดังกล่าวไปยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย จึงทำให้การอนุญาตและออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เป็นการขออนุญาตการก่อสร้างอาคารมัสยิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ไปยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ต่อนายอำเภอท้องที่ นายอำเภอปากคาด นายอำเภอท้องที่ตรวจสอบคำขอ และเอกสารประกอบคำขอแล้วเห็นว่าถูกต้อง ครบถ้วน
“แม้การอนุญาตและออกหนังสือ สำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในปัจจุบันว่า มัสยิดดังกล่าวได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และใช้ประกอบศาสนกิจตามศาสนาแล้ว ก็มีผลทำให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ กลับเป็นคำสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย หรือมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายในภายหลัง ตามนัยมาตรา 41 (3) แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
เบื้องต้นเป็นความเห็นเพิ่มเติมของฝ่ายปครองจังหวัดบึงกาฬ
ขณะที่ “กรมการปกครอง”สรุปไว้ว่า
1. มติของที่ประขุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7/2559 เมื่อวันที่ 25 ก.ค.59 เห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด เป็นคำสั่งทางปกครอง ตามนัย มาตรา 5 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เนื่องจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการให้ความเห็นชอบสร้างและจัดตั้ง มัสยิดตาม มาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ประกอบกับข้อ 3 และ ข้อ 4 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 และการสร้างและจัดตั้งมัสยิด มิใช่กิจการขององค์กรศาสนาโดยแท้ แต่มีส่วนเกี่ยวช้องกับ ความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยส่วนรวม
2. หากมติของที่ประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นคำสั่งทางปกครอง ตามข้อ 1 แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในภายหลังตามสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่จ.บึงกาฬ แต่งตั้งขึ้นว่า การก่อสร้างมัสยิดยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ น่าจะพิจารณาได้ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้เป็นแค่ความบกพร่องของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเท่านั้น
3. อำนาจในการออกคำสั่งรับจดทะเบียนและออกหนังสือสำคัญรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่ง มท. ที่ 494/2542 ลงวันที่ 23 พ.ย.42 น่าจะเป็นอำนาจดุลพินิจ เนื่องจากในข้อ 6 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ได้กำหนดไว้ทั้งกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งและมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด
ขณะที่ผลการพิจารณาของ“คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย มหาดไทย”สรุปว่า ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้บุคคลใด ประสงค์จะสร้างมัสยิดให้ยื่นคำขอรับความเห็นขอบต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด โดยให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด พิจารณาคำขอ และให้แจ้งมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ให้ผู้ขอทราบ
ต่อมาเมื่อได้สร้างอาคารมัสยิดเสร็จ และพร้อมที่จะใช้ปฏิบัติศาสนกิจได้แล้ว ให้ผู้ขอแจ้งการสร้างมัสยิดแล้วเสร็จให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพื่อพิจารณา หากการสร้างมัสยิดนั้นเป็นไปตามแบบแปลนและแผนผังที่ได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว ให้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งมัสยิดได้ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอทราบมติดังกล่าว และตามบทนิยามคำว่า “คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด”ในกฎกระทรวง ดังกล่าว ให้หมายความรวมถึง คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำ จังหวัดที่ใกล้เคียง
"ซึ่งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ในกรณีที่จังหวัดซึ่งจะสร้างหรือจัดตั้งมัสยิดไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดด้วย ซึ่งตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า มัสยิดดังกล่าว ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับคณะกรรมการกลางอิสลามฯ ไม่ได้ลงไปตรวจพื้นที่ ที่ดำเนินการ ก่อสร้างมัสยิดดังกล่าวว่าได้ก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่"
ดังนั้น กรณีดังกล่าว "เป็นเพียงความบกพร่องไม่สมบูรณ์ที่ไม่ร้ายแรง" ในวิธีบัญญัติ หากต่อมาในภายหลังปรากฏข้อเท็จจริงว่า อาคารมัสยิดดังกล่าวได้ก่อสร้างเสร็จ เป็นไปตามแบบแปลน และแผนผังที่ได้ให้ความเห็นขอบไว้ และประชาชนสามารถใช้ประกอบคาสนกิจได้แล้ว เหตุแห่งความ บกพร่องไม่สมบูรณ์ดังกล่าว จึงหมดสิ้นไป จึงไม่มีเหตุต้องยกเลิกเพิกถอนการจดทะเบียนมัสยิด
ในกรณีเรื่องที่หารือนี้ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการขึ้นทะเบียนจัดตั้งมัสยิดตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ สมควรเสนอให้ คณะกรรมการกลางอิสลามฯ มีมติรับรองการให้ความเห็นชอบการจัดตั้งมัสยิดดังกล่าวอีกครั้ง แล้วแจ้งให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับขึ้นทะเบียนมัสยิดทราบ
อันจะมีผลทำให้คำสั่งที่พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนดำเนินการมาโดยไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรก เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายใน ภายหลังตาม มาตรา 41(3) แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอย่างเช่นกรณีนี้อีก “กรมการปกครอง”ควรมีหนังสือซักซ้อมแนวทางตามขั้นตอนและวิธีปฏิบัติตามที่กฎกระทรวงกำหนดเพื่อให้จังหวัดและอำเภอใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
ในตอนท้าย มีการสรุปผลการพิจารณาของกรมการปกครอง ระบุไว้ว่า ตามพ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เพิกถอนการจดทะเบียนมัสยิดได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่อาจยกเลิกเพิกถอนการจดทะเบียนมัสยิดได้
ข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ขอจัดตั้ง และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยต้อง ไปว่ากล่าวกันในทางอาญา หรือในทางแพ่ง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนมัสยิด
อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ปัจจุบันอาคารมัสยิดได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และประซาขนสามารถใช้ประกอบศาสนกิจได้แล้ว เหตุแห่งความบกพร่องไม่สมบูรณ์ จึงหมดสิ้นไป จึงไม่มีเหตุต้องยกเลิกเพิกถอนการจดทะเบียนมัสยิดอีก (เทียบเคียงความเห็น คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ 192/2543) เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลเพิ่งเวียนหนังสือถึงทุกส่วนราชการ และออกประกาศว่า มีกลุ่มพยายามบิดเบือน ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน มีการคัดค้านสร้างมัสยิดในพื้นที่ จ.มุกดาหาร จ.นครพนม จ.สกลนคร จ.ขอนแก่น ทั้งนี้ มัสยิดบางแห่งสามารถดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ในขณะที่บางแห่งโครงการก่อสร้างจำเป็นต้องยกเลิกไป
ภาพมัสยิดอัศศอบีรีน มัสยิดแห่งแรกใน จ.บึงกาฬ ในปัจจุบัน
- คืบหน้า มัสยิดบึงกาฬ คาดเสร็จในปีหน้า-เตรียมฟ้องเพจสร้างความเกลียดชังมุสลิม
- พระมหาอภิชาติ ปลุกกระแสต้านมัสยิดในบึงกาฬ (มีคลิป)
- ชาวหนองหอย จ.เชียงใหม่รวมตัวค้าน การสร้างมัสยิดกลางชุมชน
- นักวิชาการมุสลิมหวั่นต้านมัสยิดน่านบานปลาย! เตือนพี่น้องมุสลิมวิจารณ์เรื่องนี้ด้วยมารยาทที่ดี
- คนน่านฮือ ยื่นคำขาดห้ามสร้างมัสยิด
- ชาวน่านต้านไม่เอามัสยิด นายอำเภอยัน แค่เพียงแสดงสัญลักษณ์
- สลายแล้ว! ค้านมัสยิด จ.น่าน หลังยื่นหนังสือ
ที่มา: mgronline.com