แถลงผลประกอบการ ปี 2561 และทิศทาง เป้าหมาย การดําเนินงาน ปี 2562 บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จํากัด
แถลงผลประกอบการ ปี 2561 และทิศทาง เป้าหมาย การดําเนินงาน ปี 2562 บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จํากัด
บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จํากัด จัดแถลงผลประกอบการในปี 2561 และ ทิศทาง เป้าหมาย การดําเนินการงาน ปี 2562 และแผนระยะยาว 7 ปี (2562 2568) ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 14.00 น. ณ โรงแรม โกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน พระราม 9 ชั้น 3 ห้องเฟื่องฟ้า
โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จํากัด หรือไอแอม สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ในปี 2561 ประมาณ 2,087 ล้านบาท และสามารถทํากําไรได้ประมาณ 693 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขหลังหักภาษีแล้ว (ตัวเลขประมาณการก่อนการตรวจสอบ)
ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่เรียกเก็บหนี้ได้ส่วนใหญ่กว่า 1,000 ล้านบาท มาจากการบังคับคดีขายทอดตลาดที่เหลือเป็น การประนอมหนี้ในชั้นบังคับคดี และมีลูกหนี้รายย่อยอีกจํานวนหนึ่งที่แสดงความจํานงขอปิดบัญชีหลังได้รับการติดต่อ จากเจ้าหน้าที่ เนื่องจากบางรายเริ่มมีรายได้มากพอหรือสามารถหาผู้ร่วมทุนใหม่ได้ จึงมีเงินมาซื้อหลักประกันคืน
สําหรับแผนดําเนินงานปี 2562 และแผนระยะยาว 7 ปี แบ่งออกได้ดังนี้
1. ในปี 2562 บริษัทฯตั้งเป้าหมายวางระบบการบริหารจัดการบริษัทฯ ตามหลักธรรมมาภิบาล และเป็นบริษัท บริหารสินทรัพย์ด้วยบุคลากรอย่างมืออาชีพ โดยเน้นเทคโนโลยีด้านดิจิตอลเข้ามาบริหารจัดการ องค์กรอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าเรียกหนี้คืนมากขึ้นกว่าปีก่อนไม่น้อยกว่า 15% สูงสุดไว้ที่ปีละ 5,000 ล้านบาท (โดยประมาณ) โดยพอร์ตส่วนใหญ่ รายใหญ่ 87% ที่เหลือ 13% เป็นรายย่อย หากสามารถเจรจารายใหญ่ได้ข้อยุติ จะทําให้ยอดเรียกหนี้คืนทําได้มาก ซึ่งมูลค่าหลักประกันถือว่าคุ้มมูลหนี้ ทั้งนี้ในส่วนของกําไรที่เกิดขึ้น จะเก็บสะสมไว้เพื่อเตรียมรอชําระตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้ธนาคารอิสลามแห่ง ประเทศไทย หรือไอแบงก์ กําหนดชําระปีแรกในปี 2563 วงเงิน 4,500 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในส่วนของเป้าหมายดําเนินงานในช่วง 7 ปีหลังจากนี้ (2562 – 2568) คาดว่าจะเรียกหนี้ที่รับโอนมา 4.9 หมื่นล้าน บาทให้จบภายในปี 2568 และนําเงินไปทยอยใช้หนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินของไอแบงก์ ซึ่งรายรับรวม 7 ปี
หลังจากนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณไม่น้อยกว่า 32,762 ล้านบาท
2. นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ดําเนินการสอดรับตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติของรัฐบาล ภายใต้โครงการ Business Turnaround ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกหนี้สามารถกลับมาดําเนินธุรกิจได้ ตามปกติ ทั้งลูกหนี้ธุรกิจ SMEs และลูกหนี้รายใหญ่ ซึ่งจะสะท้อนไปยังการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศอีกด้วย
3. บริษัทฯ ยังได้ให้ความสําคัญกับการแสดงออกต่อความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR โดยมีกําหนดจัดโครงการ Knowledge Management โดยการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางการเงิน ให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยนวัตกรรม การจัดการในการจัดอบรม หรือเปิดสอนในหลักสูตรการบริหารสินทรัพย์ โดยได้ทํา MOU ร่วมกัน ในการ แลกเปลี่ยน Know How ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารร่วมกันเพื่อสร้างเป็น Outcome ให้กับสาธารณชนอีกด้วย
4. สําหรับผลงานของไอแอมที่ผ่านมา และเป้าหมายในอนาคตที่จะเกิดขึ้นต้องขอบขอบคุณความช่วยเหลือและความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ ที่ให้ความ ร่วมมือในการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ในช่วงเริ่มต้นที่บริษัทฯได้เปิดดําเนินการ ไอแบงก์ได้ให้ความร่วมมือ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และขอขอบคุณ กระทรวงการคลัง รวมถึงสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กํากับดูแลกิจการของไอแอม ในการอนุมัติเพิ่มทุนให้กับบริษัทเป็น 500 ล้านบาท เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ที่ผ่านมา
สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณลูกหนี้ทุกรายทั้งลูกหนี้รายใหญ่ และรายย่อยที่มาชําระหนี้ทั้งในส่วน ของการปิดบัญชีและผ่อนชําระอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ขอขอบคุณคณะกรรมการบริษัทฯที่สนับสนุนการ ทํางานและมอบนโยบายที่เป็นประโยชน์ให้กับฝ่ายบริหารของบริษัทด้วยดีเสมอมา และเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้มีมติแต่งตั้งนางสาวสุปรียา พิพัฒน์มโนมัย ดํารงตําแหน่งกรรมการบริษัท ซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทในด้านการบริหาร สินทรัพย์ การบริพอร์ทลูกหนี้ ซึ่งท่านสุปรียา มีประสบการณ์ด้านการบริหารสินทรัพย์มากกว่า 20 ปี
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณพนักงานของไอแอมทุกๆ คนที่เหน็ดเหนื่อยกับการทํางานมาตั้งแต่ช่วง Set Up บริษัท ที่มีพนักงานเพียง 16 คน จนถึงตอนนี้เรามีกําลังพลถึง 88 คน และยังจะเพิ่มขึ้นอีกจํานวนหนึ่งไม่ เกิน 120 คน เพื่อการทํางานที่แข่งขันกับเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ