ประวัติชีวิตของ เรียม เพศยนาวิน หรือ เชปวนมาเรียม เปรียบดั่งเทพนิยายจากนางสาวไทยสู่รานีกษัตริย์แห่งมาเลเซีย
ประวัติ เรียม เพศยนาวิน นางสาวไทยมุสลิมคนแรก สู่รานีกษัตริย์มาเลเซีย
ประวัติชีวิตของ เรียม เพศยนาวิน หรือ เชปวนมาเรียม เปรียบดั่งเทพนิยายจากนางสาวไทยสู่รานีกษัตริย์แห่งมาเลเซีย
เรียม มีชื่อจริงดั้งเดิมว่า มาเรียม”เป็นชื่ออิสลาม แต่เธอใช้ชื่อ เรียม ในการประกวดนางสาวไทย คุณพ่อของเธอเป็นชาวไทยมุสลิม ส่วนคุณแม่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน
ประวัติ เรียม เพศยนาวิน นางสาวไทยมุสลิมคนแรก สู่รานีกษัตริย์มาเลเซีย
การประกวดนางสาวไทย มีมานานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ซึ่งในครั้งแรกๆใช้ชื่อในการประกวดว่า “นางสาวสยาม”
นางสาวสยามคนแรกมีนามว่า “นางสาวกันยา เทียนสว่าง” ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ.2482 รัฐธรรมนูญมีการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ ให้กำหนดเรียกนามของประเทศจากประเทศสยามเป็น “ประเทศไทย” ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ที่ใช้คำว่า “สยาม” ให้ใช้คำว่า “ไทย” แทน
ประวัติ เรียม เพศยนาวิน นางสาวไทยมุสลิมคนแรก สู่รานีกษัตริย์มาเลเซีย
การประกวด “นางสาวสยาม” ในปี 2482 และปีถัดๆ มาจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อในการประกวดว่า “นางสาวไทย” และผู้ที่ได้รับตำแหน่งในชื่อ “นางสาวไทย” คนแรกก็คือ “เรียม เพศยนาวิน” สาวงามวัย 16 ปี และเป็นสาวไทยเชื้อสายมุสลิมคนแรกของประเทศที่ได้รับรางวัลนี้
ประวัติ เรียม เพศยนาวิน นางสาวไทยมุสลิมคนแรก สู่รานีกษัตริย์มาเลเซีย
แรกพบในปี พ.ศ. 2494 “รายาปูตราแห่งรัฐเปอร์ลิศ เอช.เอช. ซุดพัตรา ชามา ลุลลาอิล” เสด็จมาประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ โดยประสงค์จะพักกับครอบครัวมุสลิมด้วยกันเพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวาย จึงเสด็จมาประทับที่บ้านของนายจิ๋ว หรือนิพนธ์ สิงห์สุมาลี และที่นี่เอง พระองค์ก็ได้พบกับสาวรูปงามอย่าง “มาเรียม”
ในช่วงแรก “มาเรียม” พยายามเลี่ยงที่จะพบหน้ากับพระองค์ แต่ก็มีเหตุให้ต้องพบหน้ากัน หลังจากที่พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น “มาเรียม” พระองค์ก็รู้สึกพอพระทัยเป็นยิ่งนัก ทรงมีพระประสงค์อยากจะอภิเษกสมรสด้วย เมื่อทราบความ ทางฝ่ายผู้ใหญ่ของมาเรียมก็ไม่ได้มีการปฏิเสธ และไม่ได้เรียกร้องในส่วนของสินสอดทองหมั้น โดยพ่อของนางสาวมาเรียมต้องการเพียงอย่างเดียวคือขอให้เลี้ยงลูกสาวของตนให้ดีเท่านั้นก็พอ
พิธีหมั้นจึงเกิดขึ้นในเดือน พ.ค. 2495 “รายา” ได้นำแหวนเพชร 10 กะรัต และเงิน 10,000 บาท มาทำพิธีหมั้นที่บ้านของนายนิพนธ์อย่างเรียบง่าย และอีก 2 เดือนต่อมา ก็มีพิธีเสกสมรส หลังเสร็จสิ้นพิธีเสกสมรส “มาเรียม” จึงมีตำแหน่งเป็น “เชปวน” (พระมเหสีรอง) มีตำแหน่งเป็น “รานี” หรือภรรยาคนที่สอง เนื่องจากรายามีพระมเหสีอยู่ก่อนแล้วคือ ราจาเปอเริมปวนบูดรียะห์แห่งปัตตานี (Raja Perempuan Budriah)
ครอบครัวอบอุ่นของรานีเรียม
ถึงแม้ว่า ตามหลักของศาสนาอิสลามผู้ชายจะมีภรรยาได้ 4 คน แต่ภายหลังการเสกสมรสกับมาเรียมแล้ว รายาซุดพัตรา ก็มิได้มีชายาคนอื่นใดอีกเลย เพราะพระองค์ทรงรัก เชปวนมาเรียม เป็นอย่างมาก ชีวิตรักของ “เชปวนมาเรียม” มีความสุขและเพียบพร้อมดั่งเทพนิยาย พระองค์ประทับอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย และมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ ทรงมีพระโอรสและพระธิดารวมกัน 4 พระองค์ โดยทุกพระองค์ “เชปวนมาเรียม” จะทรงสอนให้พูดภาษาไทย ซึ่งโอรสองค์ที่ 3 ได้รับพระราชทานชื่อไทยจากในหลวง รัชกาลที่ 9 ว่า “รังสิกร”
“รานีซุดพัตรา ชามาลุลลาอิล ตวนมาเรียม” ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2529 ขณะที่มีอายุ 64 ปี ร่างของรานีถูกฝังอยู่ ณ สุสานหลวงประจำราชวงศ์จามาลูไลล์ ของสุลต่านรัฐเปอร์ลิศ ประเทศมาเลเซีย ปิดตำนานสาวน้อยผู้เลอโฉมสู่รานีแห่งมาเลเซีย
- มิสอิงแลนด์มุสลิม คนแรก!! สวมชุดดำน้ำแทนบิกินี่โชว์ร่าง
- นางงามคนแรกของโลก ที่สวมฮิญาบ เธอคือใคร?
- 'ราชินีงานพรอม' คลุมฮิญาบ ฉีกทุกธรรมเนียมรร.อเมริกา
- นิกัลยา ดุลยา อดีตมิสไทยแลนด์ ปัจจุบันสวยใสไม่เปลี่ยน
- 'อิสลามจะคงอยู่ภายในตัวเธอเสมอ' นางงามมุสลิมเปิดใจ สาเหตุแท้จริงที่ประกวด Miss Asia Pacific 2018
- อดีตนางงามสาธารณรัฐเช็ก สู่การเข้ารับอิสลาม
- ผู้หญิงมุสลิม สวยที่สุดในโลก สาวงามมุสลิมตัวแทนจากไนจีเรียคว้ามงกุฎนางงามมุสลิมโลก
ที่มา: workpointnews.com