ประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง การดูดวงจันทร์เพื่อกําหนดวันที่ 1 เดือนซุลฮิจยะห์ ฮิจเราะห์ศักราช 1440
แจ้งกำหนดวันที่ 1 เดือนซุลฮิจยะห์ ฮ.ศ.1440
ประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง การดูดวงจันทร์เพื่อกําหนดวันที่ 1 เดือนซุลฮิจยะห์ ฮิจเราะห์ศักราช 1440
เพื่อให้การกําหนดวันที่ 1 เดือนซุลฮิจยะห์ ฮิจเราะห์ศักราช 1440 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงประกาศให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์ใน วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2562 เวลาหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
ในวันและเวลาดังกล่าวหากมีผู้เห็นดวงจันทร์โปรดแจ้งกลับไปยังสํานักงาน คณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด เพื่อคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดจะได้ ตรวจสอบและรายงานผลการดูดวงจันทร์ดังกล่าวไปยังจุฬาราชมนตรี เพื่อออกประกาศ แจ้งให้พี่น้องมุสลิมได้ทราบโดยทั่วกันต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี
ทั้งนี้ วันอิดิ้ลอัฎฮา หรือ รายอฮัจยี 2562 ตรงกับวันที่เท่าไหร่ หากเห็นดวงจันทร์วันที่ 2 สิงหาคม รายอฮัจยี ตรงกับวันที่ 11 สิงหาคม หากไม่เห็นดวงจันทร์ วันที่ 12 สิงหาคา คือ รายอฮัจยี 2562 (ฮ.ศ.1440)
รอฟังผลการดูดวงจันทร์จากสำนักจุฬาราชมนตรีอีกครั้ง
ซุลหิจญะฮฺเป็นเดือนแห่งการอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่อีกเดือนหนึ่ง และเป็นเดือนแห่งความสมบูรณ์ของหลักการอิสลาม นั่นคืออิบาดะฮฺหัจญ์ ณ มหานครมักกะฮฺ ในเดือนนี้มุสลิมจะทำการทุ่มเทเพื่ออิบาดะฮฺในรูปแบบต่างๆมากมาย ทั้งร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน ดังนั้นอุละมาอ์หลายท่านจึงถือว่า การทำอิบาดะฮฺในเดือนนี้ โดยเฉพาะในสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺประเสริฐกว่าการอิบาดะฮฺในวันอื่นๆ ตลอดทั้งปี
ความประเสริฐของสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ
อิบนุ อับบาส เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
ความว่า: “ไม่มีการปฎิบัติอามัลศอลิหฺในวันใดที่อัลลอฮฺทรงชอบมากกว่าการปฏิบัติในสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ” บรรดาเศาะหาบะฮฺถามขึ้นมาว่า “แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ (ก็ไม่สามารถเทียบเท่า) กระนั้นหรือ ?” ท่านรสูลตอบว่า “แน่นอน แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ (ก็ยังไม่เป็นที่ชอบของอัลลอฮฺเท่ากับการปฎิบัติอามัลศอลิหฺในสิบวันแรกนี้) เว้น แต่ผู้ที่ออกญิฮาดด้วยตัวเขาเองและทรัพย์สินของเขาแล้วไม่กลับมาพร้อมกับ ทรัพย์สินดังกล่าว (เพราะเสียชีวิตในสงคราม และทรัพย์สินถูกศัตรูยึดไป)" (อัลบุคอรีย์ 1:246, อัตติรมิซีย์ 1:145)
ความว่า: “ไม่ มีการปฎิบัติอามัลศอลิหฺใดๆ จะมีความบริสุทธิ์ (ประเสริฐ) ณ อัลลอฮฺ และมีผลบุญยิ่งใหญ่มากกว่าการปฏิบัติในสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ” มีคนถามขึ้นมาว่า “แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ (ก็ไม่สามารถเทียบเท่า) กระนั้นหรือ ?” ท่านรสูลตอบว่า “แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ (ก็ยังไม่เป็นที่ชอบของอัลลอฮฺเท่ากับการปฎิบัติอามัลศอลิหฺในสิบวันแรกนี้) เว้น แต่ผู้ที่ออกญิฮาดด้วยตัวเขาเองและทรัพย์สินของเขาแล้วไม่กลับมาพร้อมกับ ทรัพย์สินดังกล่าว (เพราะเสียชีวิตในสงคราม และทรัพย์สินถูกศัตรูยึดไป)" (อัดดาริมีย์ 1:358 ด้วยสายรายงานที่หะสัน, อิรวาอุลเฆาะลีล 3:398)
อิบนุ เราะญับกล่าวว่า “หะ ดีษข้างต้นบ่งบอกว่าการปฏิบัตอามัลในวันดังกล่าวเป็นที่ชื่นชอบต่ออัลลอฮฺ มากกว่าการปฏิบัติอามัลในวันอื่นๆ โดยปราศจากข้อยกเว้นใดๆ และในเมื่อการปฏิบัติอามัลในวันดังกล่าวเป็นที่ชื่นชอบต่ออัลลอฮฺมากกว่าวัน อื่นๆ ดังนั้นการปฏิบัตอามัลในวันดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ประเสริฐกว่าการปฏิบัติอา มัลในวันอื่นๆ” (ละฏออิฟ อัลมะอาริฟ, หน้า 471)
อิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า “เหตุผล หนึ่งที่ทำให้สิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺเต็มด้วยความประเสริฐ เพราะในวันดังกล่าวเป็นวันที่มาบรรจบของอิบาดะฮฺหลักต่างๆ นั่นคือเศาะลาต ศิยาม เศาะดะเกาะฮฺและหัจญ์ ซึ่งทั้งหมดนั้นไม่มีในวันอื่นจากสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ” (ฟัตหุลบารีย์ 2:460)
ให้ทำความดีมากๆ ในช่วงต้น 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ ทั้งในส่วนที่เป็นศาสนกิจหลักและกุศลกิจอาสาทั้งหลาย เช่น การทำเศาะดะเกาะฮฺ (บริจาคทาน) การถือศีลอดสุนนะฮฺตั้งแต่วันที่ 1 – วันที่ 9 ซึ่งถือเป็นวันที่มีสุนนะฮฺให้ผู้ที่ไม่ได้ประกอบพิธีฮัจญ์ถือศีลอดเนื่องจากเป็นวันอะเราะฟะฮฺ
ส่วนวันที่ 10 และอีก 3 วันให้หลัง (10 , 11 , 12 , 13) ถือเป็นช่วงวันอีดที่ห้ามถือศีลอดไม่ว่าจะเป็นสุนนะฮฺหรือฟัรฎูก็ตาม สำหรับ 9 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺนั้นสามารถเลือกถือศีลอดวันใดก็ได้ตามความสะดวกแต่วันที่ 9 นั้นไม่ควรพลาด กรณีถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัสฯในช่วง 9 วันแรกนั้นถือได้ว่าได้สุนนะฮฺ 2 อย่างพร้อมกันไปด้วย