พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนานัปการที่พระองค์ท่านทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมุสลิม โดยไม่แบ่งแยกศาสนา
มัสยิดพระราชทาน ในหลวง ร.9
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนานัปการที่พระองค์ท่านทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมุสลิม โดยไม่แบ่งแยกศาสนา
วันนี้ทางมุสลิมไทยโพสต์ขอรวมมัสยิดพระราชทาน ในหลวง ร.9 นับเป็นเรื่องราวที่อ่านแล้วรู้สึกปลื้มปีติเป็นอย่างมาก ภาพบันทึกความทรงจำแม้จะรางเลือนไปบ้างด้วยอายุของความเก่าด้วยวันเวลาที่ผ่านไป แต่ความปีติไม่เคยจางหายไปจากหัวใจของชาวไทยมุสลิมทุกคน
1. มัสยิดซอลาฮุดดีน
มัสยิดซอลาฮุดดีน มัสยิดแห่งแรกที่พระองค์ท่านไปสร้างเอาไว้เป็นองค์อุปถัมภ์ ตั้งอยู่ที่ ถนนกะโรม ตรงสี่แยกถนนกะโรมตัดกับถนนมหาราช ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
มัสยิดซอลาฮุดดีน แห่งนี้ เมื่อสมัยอดีตเป็นมัสยิดที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรชาวมุสลิมใน จ.นครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2502 หรือเมื่อ 57 ปี ที่แล้ว และในหลวง ร.9 ทรงประทับบนแท่นมิมบัรภายในมัสยิด และครั้งนั้นได้สร้างความปลาบปลื้มและประทับใจให้กับพสกนิกรชาวไทยมุสลิมใน พื้นที่อย่างล้นพ้น
(อ่านเพิ่มเติม: ในหลวง ร.9 ประทับบน 'มิมบัร' ภาพแห่งความทรงจำชาวมุสลิมเมืองคอน)
2. มัสยิดรายอ ณ เขาตันหยง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต พระราชทานเงินส่วนพระองค์กว่า 300,000 บาท เพื่อสร้างมัสยิดบูเก็ตตันหยง ขึ้นใหม่ให้มีขนาดเพียงพอรองรับประชาชนในพื้นที่ที่มาประกอบศาสนกิจ
โดยมัสยิดบูเก็ตตันหยง ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน ในพื้นที่ ม.4 บ้านเขาตันหยง ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นอีก 1 มัสยิดจากจำนวนมัสยิดที่มีอยู่ทั่วประเทศ 3,722 แห่ง ที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีละหมาดของประชาชนชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มัสยิดแห่งนี้ชาวบ้านในพื้นที่มักเรียกกันติดปากว่า “มัสยิดรายอ” หรือมัสยิดในหลวง ซึ่งคำว่า “รายอ” เป็นคำที่ประชาชนในพื้นที่ใช้แทนพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์ของประชาชนคนไทยทุกคน
(อ่านเพิ่มเติม: มัสยิดรายอ ณ เขาตันหยง จัดสร้างจากเงินพระราชทานจาก ในหลวง)
3. มัสยิดมำบัง
ภาพพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต เสด็จฯ ไปทรงเปิดมัสยิดกลางมำบัง จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2522
ที่มาภาพ: www.greatsouthernmostthailand.com
ที่มาภาพ: www.greatsouthernmostthailand.com
ที่มาภาพ: www.greatsouthernmostthailand.com
4. มัสยิดนูรุ้ลเอี๊ยะห์ซาน
มัสยิดนูรุ้ล เอี๊ยะห์ซาน ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นมัสยิดในความอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต หลังสุดท้าย
ปี 2522 ชาวบ้านจึงรวมตัวกันจัดตั้งมัสยิดขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 22 เมตรขึ้นมาในพื้นที่ 1 ไร่ ช่วยกันสร้างแบบตามมีตามเกิด สละแรงเงิน...แรงงาน โดยให้ชื่อว่า “มัสยิดนูรุ้ลเอี๊ยะห์ซาน”
ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต เสด็จเข้าไปเยี่ยมโครงการโดยที่ไม่มีใครทราบล่วงหน้า ทราบข่าวจากชาวบ้านแถวนั้นว่า พระองค์ท่านเสด็จฯไปรอโต๊ะอิหม่ามแล้วในที่สุดก็เจอกัน พร้อมกับให้เงินส่วนหนึ่งเอาไว้เพื่อมาดำเนินการเริ่มต้นก่อสร้าง
อีกทั้งพระองค์ท่านเสด็จฯ ไปดูในช่วงก่อสร้างสองครั้ง...พระองค์ท่านถามว่า วัสดุเหล่านี้ได้มาจากไหน ก็ตอบว่า ได้มาจากพี่น้องประชาชน เป็นส่วนที่เขามีศรัทธาบริจาคให้...เป็นบทสนทนาที่จำได้แม่นยำท่ามกลางบรรยากาศกองหิน อิฐ ทราย หลังจากที่พระองค์ท่านถ่ายภาพเก็บไว้
(อ่านเพิ่มเติม: มัสยิดนูรุ้ล เอี๊ยะห์ซาน มัสยิดอุปถัมภ์ของ รัชกาลที่9 )
5. มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
อาคารปีกด้านซ้ายและขวาของมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีหลังนี้ เป็นพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต ขณะเสด็จพระราชดำเนินมายังมัสยิดกลางปัตตานี เมื่อปี 2536 และทรงห่วงใยชาวมุสลิม ที่ต้องละหมาดในมัสยิดที่คับแคบ ไม่สะดวก นำมาซึ่งการบูรณะปรับปรุงอาคารใหม่ และหลังจากนั้นทรงมีกระแสพระราชดำริให้ก่อสร้างมัสยิดอีกหลายแห่งในหลายจังหวัด ซึ่งบางแห่งทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้าง ไม่นับรวมพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงให้แปลความหมายของพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน จากภาษาอาหรับเป็นภาษาไทย ซึ่งอัลกุรอ่านถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญของคนมุสลิม
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต ที่มีต่อพสกนิกรมุสลิม ทำให้ทุกปีพระองค์จะพระราชทานรางวัลให้มัสยิด โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพทุกปี และจัดทำโครงการพระราชดำริมากกว่า 1,000 โครงการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิม
(อ่านเพิ่มเติม: ประจักษ์พยานแห่งรัก ณ มัสยิดกลาง )