กรณีการโพสต์ชวนเชื่อเรื่อง อิสลาม ห้ามเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญ ทางกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ชี้แจงว่า
ชี้แจง อิสลามห้ามเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญ ข่าวปลอม
กรณีการโพสต์ชวนเชื่อเรื่อง อิสลาม ห้ามเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญ ทางกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ชี้แจงว่า ไม่มีกฏข้อห้ามอิสลามเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญ เนื่องจากตัดสินนัยยะพิจารณาถึงเจตนาของผู้พูด เมื่อมุสลิมนำมาใช้โดยไม่มีเจตนาที่จะทำ และมิได้กระทำ ก็มิได้ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม
วันนี้ (26 ก.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่าตามที่มีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับเรื่อง กฏข้อห้ามอิสลามเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีการโพสต์ชวนเชื่อเรื่อง อิสลาม ห้ามเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญ ทางกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ชี้แจงว่า ไม่มีกฏข้อห้ามอิสลามเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญ เนื่องจากตัดสินนัยยะพิจารณาถึงเจตนาของผู้พูด เมื่อมุสลิมนำมาใช้โดยไม่มีเจตนาที่จะทำและมิได้กระทำ ก็มิได้ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม เนื่องจากคำพูดที่แสดงถึงเจตนาว่า จะปฏิบัติการกระทำที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม โดยไม่ได้กระทำจริงตามนั้น ยังไม่ถือว่าสิ้นสภาพอิสลาม แต่ถ้าจิตใจคิดที่จะเลิกจากสภาพอิสลาม หรือจะนับถือศาสนาอื่น เพียงแต่มีความลังเลในหัวใจต่อความคิดนั้น ก็ทำให้สิ้นสภาพอิสลามได้แล้ว
ถ้าสมมุติจะยึดตามบางคนที่แปลบทเพลงไปตามความหมายที่นิยามตามหลักศาสนาอื่นๆ เมื่อมุสลิมนำมาใช้โดยไม่มีเจตนาที่จะทำและมิได้กระทำ เช่นอาจจะแปลคำ กราน เป็นกราบหรือ นบ เป็น กราบ หรือ บังคม เป็น กราบ คำพูดก็เป็นเพียงคำพูดซึ่งยังไม่มีการกระทำ จึงไม่ถือเป็นคำพูดที่ทำให้ขาดสภาพอิสลาม เพราะการกราบผิดตรงการกระทำ แต่เมื่อนำมาเป็นคำพูดก็ยังสามารถจะแปลออกไปได้อีกตามเจตนาของผู้พูดเอง ดังกล่าวไว้แล้ว
ซึ่งเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่กล่าวข้าวรพุทธเจ้า เป็นคำสรรเสริญตามหลักภาษานั้น ไม่มีการแปลตามมูลภาษา หากใช้ในการแทนตัวผู้พูด เรียกว่าบุรุษที่ 1 หรือผู้ฟัง เรียกว่าบุรุษที่ 2 หรือผู้ถูกกล่าวถึง เรียกว่าบุรุษที่ 3 ดังนั้น เมื่อภาษาไทยใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 ต่อพระมหากษัตริย์ว่า ข้าพระพุทธเจ้า ก็มิได้หมายความตามมูลเดิมของภาษา หากหมายความเป็น บุรุษสรรพนามที่ 1 ที่ตรงกับคำธรรมดาว่า ฉัน, ผม, ข้าพเจ้า นั้นเอง ดังนั้นการใช้สรรพนามดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติอิสลาม ส่วนท่อน เอามโนและศิริกราน หมายความว่า เอาใจและศีรษะนอบน้อมถวายบังคมพระเจ้าอยู่หัว นบพระภูมิบาล บุญดิเรก พระเจ้าอยู่หัว ผู้มีบุญญาธิการ คำว่ามโน .. ใจ, ศิระ .. ศีรษะ ทั้งใจและศีรษะได้นอบน้อมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งการน้อมนบก็ยังมิได้มีความหมายเจาะจงลงไปว่าต้องกราบ เพราะคำว่า กราน ตามพจนานุกรม หมายถึง นอบ, ไหว้, นอบน้อม
ดังนั้น การแสดงความนอบน้อมต่อพระมหากษัตริย์ ที่ใช้คำว่า “ถวายบังคม” จึงมิได้จำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็น “การกราบ” ซึ่งผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม เพราะการกราบนั้นศาสนาอิสลามสอนไว้ให้กระทำเฉพาะต่อพระองค์อัลเลาะห์ ตาอาลา เท่านั้น จะกระทำต่อ การแสดงท่าถวายบังคมเพียงเท่าที่กล่าวมานี้ มิได้หมายความว่า ผู้นับถือศาสนาอิสลามจะขาดความเคารพ ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็หาไม่ แท้จริงแล้วในจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ก็คงเปี่ยมด้วยความเคารพ และจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเหมือนกับชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธนั่นเอง เอกบรมจักริน ทรงเป็นกษัตริย์สืบราชวงศ์จักรีอันประเสริฐ ทรงเป็นเอกในประเทศไทย พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง เย็น ทรงมีพระเกียรติคุณงามมาก ประชาชนมีความร่มเย็นเพราะพระองค์ปกป้อง ศิระเพราะพระบริบาล คุ้มครอง คำว่า “บริบาล” เป็นคุณลักษณะซึ่งแสดงถึงการปกป้องคุ้มครองดูแล ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่บิดา มารดา จนถึงพระผู้เป็นเจ้า และตรงกับพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ที่แปลว่า อภิบาล หรือ บริบาล คือว่า รีอบบ พระนามของพระผู้เป็นเจ้านั้น
นักวิชาการแบ่งออกเป็น 2 คือ พระนามแห่งอาตมัน พระนามแห่งคุณลักษณะ พระนามแห่งอาตมันนั้น จะนำไปใช้กับบุคคลอื่นไม่ได้ นอกจากจะต้องเพิ่มคำว่า “ข้า” ลงไป แต่พระนามแห่ง คุณลักษณะนั้น สามารถจะใช้ร่วมโดยบุคคลอื่นๆ ได้ และคำๆ นี้ก็เป็นหนึ่งในจำนวนพระนามแห่งคุณลักษณะ หากนำไปใช้โดยเจาะจง เป็นคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า ก็ต้องหมายถึงพระองค์จะนำมาใช้กับบุคคลอื่นไม่ได้ และต้องเพิ่มคำว่า “ข้า” ลงไปถ้าหมายความไม่จำกัดเจาะจงว่า เป็นคุณลักษณะของพระองค์ ก็สามารถนำมาใช้ กับบุคคลอื่นๆ ได้โดยทั่วไป ผลพระคุณธรักษา ด้วยผลแห่งความดีที่พระองค์ทรงปกป้อง คุ้มครองให้ประชาชนได้มีสุขสำราญ ปวงประชาเป็นสุขสานต์ นั้น ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด ขอพระคุณนั้น จงบันดาลสิ่งที่พระองค์ต้องพระราชประสค์จำนงหมาย จงสฤษดิ์ ดังหวังวรหฤทัย จงสำเร็จสมพระราชหฤทัยหวัง ดังที่ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัย ดุจถวายชัย ชโย ประโยคท่อนท้ายนี้ เป็นการถวายพระพรแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยอ้างถึงความดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้การคุ้มครองต่อประชาชนจนเป็นสุข ขอความดีของพระองค์ได้บันดาลให้พระองค์ สำเร็จสมพระราชหฤทัยหวัง เป็นประเพณี การถวายพระพรชัยมงคล ซึ่งมักจะอ้างแบบนั้น หากจะหมายความตรงตามตัวอักษร ตามหลักการอิสลามแล้ว ถือว่าผิด เพราะความดีนั้นไม่อาจบันดาลสิ่งใดได้ ผู้บันดาลคือพระองค์อัลเลาะห์ ตาอาลา
คำพูดทำนองนี้ มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อนั้นถึงความเคารพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น มีได้มีความหมายที่เป็นจริงในทางรูปธรรม เมื่อคำพูดในเชิง รวมถึงการร้องเพลงชาติก็ไม่ผิดหลักศาสนา เนื่องจากตามเนื้อร้องที่อธิบายได้ว่า ประเทศไทยเป็นที่รวมของคนเชื้อชาติไทย เป็นประเทศของประชาชนทั่วทุกแห่ง คนไทยได้ดำรงรักษาไว้ให้คงอยู่ได้ทั้งหมด เพราะคนไทยล้วนแต่มีความร่วมรักสามัคคีกัน ตามปกติคนไทยรักความสงบ แต่เมื่อถึงคราวรบคนเก่งกล้าไม่เกรงกลัวศัตรู ไม่ยอมให้ใครใช้กำลังทำลายเอกราชได้ตามความชอบ คนไทยยอมสละเลือดทุก
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dra.go.th หรือโทร 02-209-3699
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่มีกฏข้อห้ามอิสลามเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญ เนื่องจากตัดสินนัยยะพิจารณาถึงเจตนาของผู้พูด เมื่อมุสลิมนำมาใช้โดยไม่มีเจตนาที่จะทำและมิได้กระทำ ก็มิได้ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม
ที่มา: mgronline.com