การบูรณะมัสยิดเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ในซาอุดิอาระเบีย โดยใช้วิธีการแบบดั้งเดิม กำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ใกล้เสร็จสิ้นลงแล้ว
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: มัสยิดอายุหลายร้อยปีในซาอุฯ บูรณะขั้นสุดท้ายใกล้สำเร็จแล้ว!
การบูรณะมัสยิดเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ในซาอุดิอาระเบีย โดยใช้วิธีการแบบดั้งเดิม กำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ใกล้เสร็จสิ้นลงแล้ว
มัสยิด ฮามัด บิน ยูนุส (Hamad Bin Yunus Mosque) และ มัสยิดอัลซาวียะฮ์ (AlZawiyah mosques) ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่า อัล อูลา ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงริยาดฮ์ ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ราว 1,100 กิโลเมตร โดยพื้นที่นี้เป็นจุดพักกองคาราวานของผู้แสวงบุญที่จะเดินทางไปยังมักกะฮ์ และตั้งอยู่ใกล้เส้นทางการค้าเครื่องเทศและไม้หอมในสมัยโบราณนานกว่า 800 ปี แต่ถูกทิ้งร้างไปในช่วงต้นทศวรรษ 1980 นี้เอง
ปัจจุบันพื้นที่นี้อยู่ระหว่างการบูรณะและอนุรักษ์ เพื่อเตรียมเปิดให้บริการการท่องเที่ยว โดย Royal Commission for AlUla (RCU) ซึ่งรวมทั้งสุสาน Nabataean ของ Hegra ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งแรกของซาอุดิอาระเบียด้วย
ดร.อับดุลเราะฮ์มาน อัล สุฮัยบานี ที่ปรึกษาฝ่ายมรดกและโบราณคดี ของ RCU กล่าวว่า พื้นที่นี้มีทั้งสถานที่ฝังศพก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงยุคมารายา จากอาณาจักรดาดันและลีฮยาน ก่อนการมาถึงของอิสลาม ซึ่งทำให้ตื่นเต้นที่จะได้เฉลิมฉลองและแบ่งปัน อัล อูลา ให้เป็นโอเอซิสทางวัฒนธรรมให้กับคนทั้งโลก
การสำรวจในพื้นที่กว่า 22,000 ตารางกิโลเมตร ทำให้ได้ค้นพบมรดกชิ้นใหม่ ๆ ซึ่งทาง RCU มุ่งมั่นที่จะปกป้อง และรักษาประวัติศาสตร์อันน่าทึ่งของ อัล อูลา เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัย และผู้มาเยือนมัสยิดที่เคยมีความสำคัญต่อชุมชน ซึ่งกำลังบูรณะทั้ง 2 แห่งนี้ และหวังเพื่อนำผู้คนมารวมตัวกันที่นี่อีกครั้งหนึ่ง
การบูรณะมัสยิดทั้ง 2 ใช้วิธีแบบขนบธรรมเนียมโบราณ โดยมีการทำงานอย่างใกล้ชิดทั้งกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และลูกหลานของคนที่เคยอยู่ในชุมชน อัล อูลา มาก่อน โดยไม่เพียงแค่ฟื้นฟูมัสยิดและสถานที่อื่น ๆ ขึ้นเท่านั้น แต่มุ่งหวังจะศึกษาถึงเทคนิคกการสร้างแบบดั้งเดิมที่ทำมา และนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วย
ในการซ่อมหลังคาของมัสยิด ทีมงานได้นำไม้ตง ไม้ทามาริสก์ ที่หาได้ในท้องถิ่นมาใช้ รวมทั้งนำกิ่งปาล์ม (Jarid) และการปูด้วยใบปาล์ม (hassir) มาใช้ด้วย ส่วนขั้นตอนสุดท้ายมีการนำอิฐที่ทำจากฟางและดินโคลนมาใช้ด้านบนเพื่อให้มีน้ำหนักเบา และตรงกับในอดีตที่เคยใช้มาให้เหมาะสมกับองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย
ที่มา: www.asianimage.co.uk