สามารถ มะลูลีม แถลงการณ์คัดค้าน ปมยกเลิก พรบอิสลาม ด้านรองเลขาสภาฯ แจงยินดีให้ตรวจสอบ
สามารถ ออกโรง “ปมยกเลิก พ.ร.บ.อิสลาม”
สามารถ มะลูลีม แถลงการณ์คัดค้าน ปมยกเลิก พ.ร.บ.อิสลาม ด้านรองเลขาสภาฯ แจงยินดีให้ตรวจสอบ...
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.นายสามารถ มะลูลีม ประธานมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาคณะทำงานทางการเมืองประธานสภาฯ ออกแถลงการณ์ขอคัดค้านการจัดทำร่างพระราชบัญญัติที่ส่งผลกระทบต่อการนับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทย ทั้ง 3 ฉบับ คือ
1. ร่างพ.ร.บ.การบริหารองค์กรอิสลาม (ฉบับที่..) พ.ศ. ...
2. ร่างพ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2527 พ.ศ. ....
3. ร่างพ.ร.บ.ยกเลิกพ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 พ.ศ. ...
เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้มาตรา 133 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 จะเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคนสามารถเข้าชื่อเสนอ พ.ร.บ.ได้ แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญในหลายมาตรา เช่น มาตรา 25 ระบุว่า การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้ และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิเสรีภาพเช่นวันนั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
นายสามารถ กล่าวต่อว่า มาตรา 27 ระบุว่า การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องทางศาสนา อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใดจะกระทำมิได้ มาตรา 31 ระบุ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตนแต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปบอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และมาตรา 77 ระบุว่า ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้าน รวมถึงเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นต่อประชาชน นำมาประกอบการพิจารณากระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน
นายสามารถ กล่าวอีกว่า ตนมีความเห็นว่าสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ขาดความรอบคอบ จนทำให้พี่น้องชาวมุสลิมในประเทศไทยเกิดความไม่สบายใจ เนื่องจากเกิดความหวั่นเกรงหากกฎหมายใช้บังคับจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ตามหลักการคำสอนของศาสนาอิสลาม อีกทั้งประธานสภาฯไม่ได้รับรู้ถึงการดำเนินการของสำนักงานฯในเรื่องดังกล่าวอย่างใด
รายงานข่าวแจ้งว่า รองเลขาธิการสภาฯ ได้ชี้แจงกรณีดังกล่าว ว่า การดำเนินการเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในการเสนอกฎหมาย โดยเนื้อหาร่างพระราชบัญญัติเป็นไปตามความประสงค์ของราษฎรของประชาชน ด้วยความสุจริตใจ มิได้กล่าวล่วงไปวิเคราะห์หรือแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยให้จัดทำ และเคารพต่อความคิดเห็นของประชาชนผู้เสนอกฎหมาย ทั้งนี้ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ ต่อประธานรัฐสภา อย่างไรก็ตาม หากสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นว่า เป็นความผิดของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทน ตนในฐานะรองเลขาธิการสภาฯ ที่กำกับดูแลสำนักการประชุม และสำนักกฎหมาย ต้องขอโทษทุกท่าน และยินดีที่จะให้เลขาฯย้ายไปกำกับดูแลสำนักอื่น รวมถึงหากเห็นว่าควรมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ตนก็ยินดี
หลายฝ่ายกังวล เหตุการณ์แบบนี้ ทำไม คิดง่าย ทำง่าย และที่สำคัญ “มันคือการสร้างความแตกแยกของประเทศไทย”
ความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ที่มา: www.dailynews.co.th
สามารถ ออกโรง “ปมยกเลิก พ.ร.บ. อิสลาม” ล่าสุด สามารถ มะลูลีม เผยผ่าน เฟสบุคส์ “ด้วยได้มี...
โพสต์โดย Muslimthaipost เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021