ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์โวย ถูกเซ็นเซอร์หรือปิดบัญชี เมื่อแชร์ภาพยิวขับไล่ชาวปาเลสไตน์ในชี้ค ญัรเราะฮ์ ในเยรูซาเล็มตะวันออก
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: โวย!ถูกเซ็นเซอร์-ปิดบัญชี เมื่อแชร์ภาพยิวไล่ปาเลสไตน์
ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์โวย ถูกเซ็นเซอร์หรือปิดบัญชี เมื่อแชร์ภาพยิวขับไล่ชาวปาเลสไตน์ในชี้ค ญัรเราะฮ์ ในเยรูซาเล็มตะวันออก
ชาวปาเลสไตน์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เจ้าของโซเชียลมีเดีย ที่ปิดบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัว และเซ็นเซ่อร์เนื้อหาและภาพที่เกี่ยวกับการที่กองกำลังอิสราเอล และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวยิว คุกคาม โจมตี ชาวบ้านและนักเคลื่อนไหวที่อยู่ในย่าน ชี้ค ญัรเราะฮ์ (Sheikh Jarrah) ในเยรูซาเล็มตะวันออก
ทางการอิสราเอลคุกคาม และกดดันให้ชาวบ้านที่อยู่ในเขต ชี้ค ญัรเราะฮ์ ต้องย้ายออกไปจากที่อยู่อาศัยเดิม โดยต้องการให้ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวเข้ามาอยู่อาศัยแทน อ้างว่า ชาวปาเลสไตน์สร้างบ้านโดยผิดกฎหมาย ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในพื้นที่และทั่วโลก โพสต์ภาพและแชร์วิดีโอเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว โดยใช้แฮชแท็ก #SaveSheikhJarrah ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับ แต่ได้พบว่า บัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของพวกเขาถูกเซ็นเซอร์ จำกัดการมองเห็น หรือถูกปิดโดยสิ้นเชิง
ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ กล่าวว่า บริษัทเหล่านี้กำลังพยายามปิดปากชาวปาเลสไตน์ซึ่งต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เป็นผลมาจากคำสั่งของระบอบที่กดขี่ และเลือกปฏิบัติ
วันที่ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 30 คน และถูกจับกุม 15 คน วิดิโอเปิดเผยว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวยิวจงใจเข้าไปยั่วยุชาวปาเลสไตน์ ที่กำลังละศีลอดอยู่ที่นอกบ้านหลังหนึ่ง โดยมีการใช้สเปรย์พริกไทยพ่นใส่ ชาวปาเลสไตน์ตอบโต้ด้วยการใช้เก้าอี้ขว้าง
มีการเปิดเผยภาพของนาย Arieh King รองนายกเทศมนตรีเยรูซาเล็ม ขณะยืนอยู่กับ นาย Ben Gvir สมาชิกกลุ่มขวาจัดในสภา Knesset โดยเขากล่าวกับชายชาวปาเลสไตน์ที่พิการ ว่า “เขาผ่าเอาลูกกระสุนออกจากก้นแกรึยัง? น่าเสียดายที่กระสุนไม่ได้เข้าที่นี่” และเขาชี้ไปที่หน้าผาก
การสมรู้ร่วมคิดระหว่างอิสราเอล และบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ ในการควบคุมและเซ็นเซ่อร์เนื้อหาและบัญชีของชาวปาเลสไตน์ ถูกบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างดี หลังจากที่คณะผู้แทนของเฟสบุ๊กได้มาเยือนในปี 2016 โดยรัฐมนตรียุติธรรมของอิสราเอลในขณะนั้นกล่าวว่า เฟสบุ๊ก กูเกิ้ล และยูทูป ได้ปฏิบัติตามคำขอให้ลบเนื้อหาของอิสราเอล มากถึง 95 % ซึ่งเกือบทั้งหมดเกี่ยวกับชาวปาเลสไตน์
นอกเหนือจากการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของชาวปาเลสไตน์แล้ว บริษัทสื่อเหล่านี้ยังตอบสนองต่อคำขอของรัฐบาลอิสราเอล ในการเปิดเผยข้อมูลที่นำไปสู่การจับกุมชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน ศูนย์อาหรับเพื่อความก้าวหน้าของสื่อสังคมออนไลน์ (7amleh) ได้เผยแพร่ผลการวิจัยในปี 2017 ที่ระบุว่า ทุก ๆ 46 วินาที ชาวอิสราเอลโพสต์ข้อความเหยียดผิว หรือยุยงให้ชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับแสดงความเห็นตอบโต้ แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ กับบัญชีของชาวอิสราเอล
ที่มา: www.aljazeera.com