เรื่องราวมุอัสซินวัยชราคู่กับหออะซานมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในฉนวนกาซ่า
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : มุอัสซินวัยชราคู่กับหออะซานมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในฉนวนกาซ่า
กาซ่า ซิตี้ - ชื่อของชาวปาเลสไตน์ อะบู ฮุซาม ฮานิเยฮ์ (Abu Husam Haniyeh) มักจะเป็นที่รู้จักในฐานะ มุอัซซิน (ผู้ประกาศเสียงอะซาน) แห่งมัสยิดโอมารี ที่ยิ่งใหญ่ (the Great Omari Mosque) ในเมืองกาซ่า มัสยิดแห่งนี้มีความเก่าแก่รองจากมัสยิดอัลอักซอ ในเยรูซาเล็ม โดยมีอายุน้อยกว่ามัสยิดอัลอักซอ ราว 50 ปี
มัสยิดโอมารี (the Great Omari Mosque) ในเมืองกาซ่า
อะบู ฮุซาม วัย 85 ปี เริ่มจากการเป็นมุอัซซินอาสาสมัคร ปัจจุบันเขาเป็นมุอัซซินที่อายุมากที่สุดในฉนวนกาซ่า โดยอ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงกิจการกุศลและกิจการศาสนา แห่งปาเลสไตน์ เขาเล่าว่า เมื่อเขาเริ่มเป็นมุอัซซินอาสา เขาไม่เคยคิดมาก่อนว่าเขาจะมีอายุยืนยาว และได้มีชื่อเสียงเคียงคู่กับมัสยิดโบราณที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้
เขาเล่าถึงครั้งแรกที่เขาได้จับไมโครโฟนที่มัสยิดโอมารี และส่งเสียงอะซานออกไป หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากผู้ทำหน้าที่มุอัซซินคนก่อน “มันเป็นประสบการณ์ที่มหัศจรรย์มากจนยากที่จะลืมเลือน” และหลังจากที่ อะบู อัล-ซาอีด เสียชีวิตลง เขาจึงได้รับแรแต่งตั้งให้ทำหน้าที่มุอัซซินแทน
เขาเป็นมุอัซซินอาสา จนกระทั่งมีการก่อตั้งองค์กรปาเลสไตน์ (PA) ขึ้นในปี 1994 จึงได้มีการบันทึกชื่อของเขาในกระทรวงกิจการศาสนา ในฐานะมุอัซซิน ที่มีค่าตอบแทน 155 ดอลล่าร์ แต่อะบู ฮุซาม กล่าวว่า เขาไม่ได้หวังรางวัลในชีวิตนี้ เพราะเขาจะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่จากการเชิญชวนผู้คนมาละหมาดจากอัลลอฮ์ ในโลกหน้า “พวกเรามุอัซซิน เป็นตัวแทนเสียงของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน เราเรียกร้อง เชิญชวนสู่การเคารพภักดี และละทิ้งความรื่นรมย์ของชีวิตนี้”
อะบู ฮุซาม อาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็ก ๆ ที่อยู่ติดกับมัสยิด ในละแวกเมืองโบราณแห่ง อัล-ดาราจ (Al-Daraj) เขตเมืองเก่าของกาซ่า เขาอยู่ที่นี่เกือบตลอดทั้งวัน ยกเว้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ในบางวัน ที่เขาจะไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านของครอบครัว เขาพบความสุขจากการอยู่แต่ในมัสยิด โดยเฉพาะในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเขาจะอ่านอัล-กุรอาน และพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ซึ่งส่วนมากจะเป็นการรื้อฟื้นความทรงจำในวัยหนุ่ม
อะบู ฮุซาม ฮานิเยฮ์ (Abu Husam Haniyeh)
เขาเป็นหนึ่งในครอบครัวผู้อพยพชาวอาหรับปาเลสไตน์ ที่ถูกบังคับให้ออกจากบ้านเรือนในญัฟฟา (Jaffa) ในระหว่างการลุกฮือ (Nakba) ของชาวปาเลสไตน์ ในปี 1948 หลังเหตุการณ์นี้เขาไม่ได้กลับไปเรียนหนังสือต่อ และครอบครัวได้หาที่พำนักในเมืองกาซ่า ภายหลังเขาทำอาชีพช่างไม้ แต่งงาน และมีลูกชาย-ลูกสาว อย่างละ 3 คน ความหวังของ อะบู ฮุซาม คือการได้กลับไปเมืองญัฟฟา และได้อะซานที่มัสยิดอัลอักซอ
มัสยิดโอมารี มีความเก่าแก่เป็นที่สองรองจากมัสยิดอัลอักซอ มีขนาดใหญ่เป็นที่ 3 รองจากมัสยิดอัลอักซอ และมัสยิดอะเหม็ด ปาชา อัล-ญาซซาร์ ที่ตั้งอยู่ในเมือง Acre มัสยิดโอมารี จุผู้มาละหมาดได้ราว 5,000 คน ซึ่งมัสยิดจะเต็มแน่นในช่วงเดือนรอมฎอน โดยเฉพาะใน 10 วันสุดท้าย
มัสยิดโอมารี (the Great Omari Mosque) ในเมืองกาซ่า
มัสยิดแห่งนี้มีพื้นที่ราว 4,100 ตารางเมตร อาคารหลังแรกบนพื้นที่นี้มีอายุราว 3,700 ปี สร้างขึ้นเป็นสถานที่บูชาของกลุ่ม Pagan (คนที่ยังไม่มีศาสนาแต่นับถือธรรมชาติ) หลังจากนั้นเมื่ออาคารผุพังลง ชาวโรมันได้สร้างโบสถ์ Porphyrios ขึ้นบนซากอาคารนั้น หลังจากที่พวกเขาเข้ายึดพื้นที่ Levant ในปี 407 ก่อนคริสตกาล
โบสถ์คงอยู่จนเมื่ออิสลามแผ่เข้ากาซ่า ในปี 634 AD ซึ่งหลังจากนั้นชาวกาซ่าส่วนมากได้เข้ารับอิสลาม ยกเว้นส่วนน้อยที่ยังคงนับถือศาสนาคริสต์ นิการออร์โธด๊อกซ์ มีความเห็นชอบในหมู่ชาวชุมชน ให้มีการสร้างมัสยิดขึ้นบนพื้นที่ว่างที่มีขนาดใหญ่กว่า และสร้างโบสถ์ขึ้น 1 แห่ง บนพื้นที่ที่มีขนาดเล็กกว่าซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน อาคารโบสถ์ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยใช้ชื่อเดิม คือ โบสถ์ Saint Porphyrious Orthodox Church
มัสยิดโอมารี (the Great Omari Mosque) ในเมืองกาซ่า
ที่มา: www.arabnews.com
https://news.muslimthaipost.com/news/36155
- ซาอุฯร่วมเทศกาลชาบาน่า ประเพณีเก่าที่ใกล้เลือนหาย
- ถ้าต้องการให้สงบ อิสราเอลต้องเคารพสิทธิมุสลิมที่อัล-อักซอ
- สงครามยูเครน มุสลิมเผชิญอาหารแพงขึ้นช่วงรอมฎอน
- ภาพค่ำคืนแรกของเดือนรอมฎอนในเอมิเรตส์
- มาเลเซียไม่เห็นเดือน เริ่มถือศีลอด 3 เม.ย.
- ภาพชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่า เตรียมรับรอมฎอน
- มุสลิมอเมริกันฟ้องศาล ถามซอกแซกเรื่องศาสนา
- สิงคโปร์รณรงค์ 'เลิกบุหรี่' ช่วงเดือนรอมฎอน