ไขข้อข้องใจ ก้อนกรวดขว้างเสาหิน กว่า 100 ล้านก้อน ไปอยู่ที่ไหน?
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : ไขข้อข้องใจ ก้อนกรวดขว้างเสาหิน กว่า 100 ล้านก้อน ไปอยู่ที่ไหน?
การขว้างเสาหินที่ญามารัต เป็นขั้นตอนหนึ่งในการประกอบพิธีฮัจญ์ที่มีผู้ทำซ้ำมากที่สุด โดยจะมีการทำในวันที่ 10 ซุ้ลฮิจญะฮ์ และในวันตัชรีก 2 หรือ 3 วันหลังจากนั้น โดยผู้แสวงบุญจะขว้างก้อนกรวด 7 ก้อนไปที่เสาแต่ละต้น
- ผู้แสวงบุญ ไม่หวั่นอากาศร้อนจัด มุ่งขว้างเสาหินตัวแทนปีศาจ
- รวมภาพพิธีฮัจญ์ 2566 ความฝันของมุสลิมทุกคน
พวกเขาขว้างก้อนหินเล็ก ๆ ครั้งแรก ที่ Jamarat Al-Sugra (เสาเล็ก) จากนั้นไปขว้างที่ Jamarat Al-Wusta (เสากลาง) และสุดท้ายที่ Jamarat Al-Aqaba (เสาใหญ่) ต้นละ 7 ก้อน
ปีนี้มีผู้แสวงบุญจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ กว่า 1.84 ล้านคน ผู้ที่ทำพิธีขว้างเสาหินใน 3 วันนี้ จะใช้ก้อนกรวดมากกว่า 90.4 ล้านก้อน หลายคนสงสัยในชะตากรรมของก้อนกรวดจำนวนกว่า 100 ล้านก้อนนี้ว่าไปอยู่ที่ไหน หลังจากผู้แสวงบุญทั้งหมดออกจากมีนาเมื่อเสร็จสิ้นพิธีฮัจญ์แล้ว
คำตอบมาถึงข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และพิถีพิถันของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย เพื่อจัดการกับก้อนกรวดเหล่านี้ด้วยวิธีที่ถูกสุขลักษณะ กระบวนการจัดการกับก้อนหินที่ถูกขว้างไปแล้ว ในวันแรก วันที่สอง และวันที่สาม จะเริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้แสวงบุญเสร็จสิ้นพิธี
เมื่อก้อนกรวดตกลงในแนวดิ่งที่เสา 3 ต้น ของทั้ง 4 ชั้น ซึ่งมีความลึก 15 เมตร ก้อนกรวดทั้งหมดจะไปรวมกันที่ชั้นใต้ดิน จากนั้นจะมีสายพานลำเลียงก้อนกรวดเหล่านั้นไปสู่กระบวนการร่อน และฉีดพ่นด้วยน้ำเพื่อกำจัดฝุ่น และสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ สุดท้ายก้อนกรวดที่ผ่านการทำความสะอาดแล้ว จะถูกส่งไปยังยานพาหนะที่จะนำไปเก็บในพื้นที่เฉพาะ เพื่อจัดการต่อไปหลังจากสิ้นสุดฤดูฮัจญ์แล้ว
สมาคมเพื่อการกุศล Hajj & Mu’tamer’s Gift Charitable Association ตั้งอยู่ในมักกะฮ์ ร่วมมือกับบริษัท Kedana ซึ่งเป็นผู้พัฒนาหลักของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้ดำเนินการริเริ่มเชิงคุณภาพ เพื่อให้บริการผู้แสวงบุญที่มัสยิดฮะรอม
ปีที่แล้ว สมาคม ฯ ได้จัดหาก้อนกรวดมากกว่า 80,000 ถุง เพื่อนำมาให้ผู้แสวงบุญใช้ขว้างเสาหินที่ญามารัต และยังแจกจ่ายก้อนกรวดไปตามจุดติดต่ออื่น ๆ กว่า 300 จุด สำหรับผู้แสวงบุญ บนเส้นทางเดินในมุซดาลิฟะฮ์ นอกเหนือจากที่นำไปแจกที่สะพานญามารัตในมีนา
ที่มา: www.saudigazette.com.sa