กลุ่มผู้สนับสนุนเบอร์กินีกว่า 50 คนในอิตาลี ไม่แคร์ลงเล่นน้ำทั้งชุดเต็มยศ ถือป้ายผ้าที่มีข้อความตอบโต้
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : หนุนเบอร์กินีมุสลิมกว่า 50 คน ไม่แคร์ลงเล่นน้ำทั้งชุดเต็มยศ
กลุ่มหญิงมากกว่า 50 คน และผู้ชายอีก 2-3 คน ลงเล่นน้ำทะเลในชุดเต็มยศทั้งเสื้อ-กางเกง ที่ชายหาดของคลับริมหาดแห่งหนึ่งในเมืองตริเอสเต (Trieste) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา
เหตุการณ์ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการรณรงค์สนับสนุนผู้หญิงมุสลิมกลุ่มหนึ่ง ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการสวมชุดเบอร์กินีลงเล่นน้ำทะเลที่ชายหาดแห่งนี้ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2566
รีสอร์ทริมชายหาด Pedocin อันเก่าแก่ ซึ่งเป็นสถานทีที่มีการจัดรณรงค์ครั้งนี้ มีชื่อเสียงจากการจัดแยกส่วนพื้นที่เล่นน้ำระหว่างหญิง-ชาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 20
ทางโรงแรมจัดแบ่งพื้นที่ด้วยการสร้างกำแพง ซึ่งนักข่าวและช่างภาพชายได้ข้ามไปเพื่อบันทึกภาพการรณรงค์ที่เกิดขึ้นในส่วนที่จัดไว้เฉพาะสำหรับผู้หญิง ผู้ร่วมรณรงค์ส่วนหนึ่งเป็นสตรีชาวมุสลิม
ในวันที่เกิดเหตุเมื่อ 13 สิงหาคม ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวในท้องถิ่นกลุ่มหนึ่ง กล่าวหาว่าผู้หญิงมุสลิมที่สวมชุดเบอร์กินีลงเล่นน้ำเป็นผู้ไร้ซึ่งสุขอนามัย และว่า เสื้อผ้าที่พวกเธอสวมลงน้ำเป็นเสื้อที่ใส่มาจากบ้าน หรือใส่ขึ้นรถเมล์เดินทางมา และมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
ในการรณรงค์ดังกล่าว มีการถือป้ายผ้าที่มีข้อความตอบโต้ เช่น “อันไหนก่อมลพิษมากกว่ากัน - เสื้อผ้า หรือเรือสำราญ” ซึ่งหมายถึงเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่มาจอดเทียบที่เมืองนี้ทุกวัน ยังมีข้อความอื่น ๆ เช่น “ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นสวยงาม” และ “เราต้องการอยู่อย่างสงบสุข”
ผู้รณรงค์ลงไปในน้ำในชุดเต็มยศและจับมือกันเป็น “วงกลมแห่งการปรองดอง” ขนาดใหญ่ นักท่องเที่ยวบางคนไล่ให้พวกเขากลับบ้านไป รวมทั้งใช้ถ้อยคำเหยียดหยามต่าง ๆ นานา
นูเราะฮ์ โอมาร์ รองประธานสมาคมวัฒนธรรมอิสลามแห่งเมืองตรีเอสเต ประณามว่า สิ่งที่หญิงมุสลิมต้องเผชิญเป็นการเลือกปฏิบัติ และว่า พวกเธอควรสัดสินใจได้เองว่า จะสวมใส่อะไรดี โดยเป็นการตัดสินใจส่วนตัวโดยเสรี
สมาชิกวุฒิสภาและผู้ประสานงานพรรคสันนิบาตฝ่ายขวาในภูมิภารคฟรีอูลี เวเนเซีย จูเลีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองตรีเอสเต ประณามการรณรงค์ครั้งนี้ และวิจารณ์ฝ่ายซ้ายและสมาชิกพรรคกรีน ที่สนับสนุนการรณรงค์นี้ ในขณะที่ Gianfranco Schiavone ประธานกลุ่ม Consortium of Solidarity ของอิตาลี ได้อ้างถึงอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยกล่าวว่า
“เสรีภาพภาคบังคับของบุคคลในการแสดงความเชื่อของตนในที่สาธารณะนั้น รวมถึงการแต่งกายด้วย”
ที่มา: www.infomigrants.net