บังคลาเทศเร่งอินเดีย ส่งตัวอดีตผู้นำฐานะผู้ร้ายข้ามแดน
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: บังคลาเทศเร่งอินเดีย ส่งตัวอดีตผู้นำฐานะผู้ร้ายข้ามแดน
ธากา – หัวหน้าอัยการระบุว่า ศาลอาชญากรรมสงครามของบังคลาเทศต้องการให้ทางการอินเดีย ส่งตัวอดีตนายกรัฐมนตรี ชี้ค ฮาซินา กลับมายังประเทศ โดยกล่าวหาว่า เธอก่อเหตุสังหารหมู่ในการประท้วงหลายสัปดาห์ที่นำโดยนักศึกษา เมื่อเดือนที่ผ่านมา หลังจากการประท้วงรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นการประท้วงใหญ่ลุกลามไปทั่วประเทศ โดยเธอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหลบหนีโดยเฮลิคอปเตอร์ ไปยังอินเดีย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ที่ผ่านมา อันเป็นการยุติการบริหารประเทศ 15 ปี
seek Hasina อดีตนายกรัฐมนตรีบังคลาเทศ
โมฮัมมัด ทัจอุลอิสลาม หัวหน้าอัยการของศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ICT) กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา ว่า “ในขณะที่ผู้กระทำความผิดหลักได้หลบหนีออกนอกประเทศแล้ว เราจะเริ่มกระบวนการทางกฎหมายเพื่อนำตัวเธอกลับมาอย่างถูกกฎหมาย เพื่อเข้ารับการพิจารณาคดี บังคลาเทศมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดทางอาญากับอินเดีย ซึ่งลงนามในปี 2013 (2556)”
ชี้ค ฮาซินา ก่อตั้งศาลอาชญากรรมาระหว่างประเทศ (ICT) ขึ้น ในปี 2010 เพื่อสอบสวนความโหดร้ายที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพจากปากีสถาน ในปี 1971
รัฐบาลของชีค ฮาซีนา ถูกกล่าวหา ว่า “ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง รวมถึงการกักขังมวลชนและการวิสามัญฆาตกรรมฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง“
ชีค ฮาซินา ไม่ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณะเลยนับตั้งแต่หลบหนีจากบังคลาเทศ และที่อยู่อย่างเป็นทางการสุดท้ายของเธอ คือ ฐานทัพอากาศทหารใกล้กับกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย การปรกฏตัวของเธอในอินเดียทำให้บังคลาเทศโกรธเคือง และได้เพิกถอนหนังสือเดินทางทางทูตของเธอ และประเทศต่าง ๆ ก็มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนทวิภาคี ซึ่งจะอนุญาตให้เธอถูกส่งตัวกลับเข้ารับการพิจารณาคดีอาญา
อย่างไรก็ตาม มาตราหนึ่งในสนธิสัญญาระบุว่า “การส่งผู้ร้ายข้ามแดนอาจถูกปฏิเสธ หากความผิดนั้นมีลักษณะทางการเมือง”
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายมูฮัมมัด ยูนุส ผู้นำเฉพาะกาลของบังคลาเทศ ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ กล่าวว่า “ฮาซินา ควรอยู่อย่างเงียบ ๆ ขณะที่อยู่ในอินเดีย จนกว่าเธอจะถูกส่งตัวกลับบ้านเพื่อรับการพิจารณาคดี”
ยูนุส วัย 84 ปี กล่าวกับสำนักข่าว Press Trust ของอินเดีย ว่ารัฐบาลของเขาอยู่ภายใต้แรงกดดันจากประชาชนที่เรียกร้เองให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และทำการพิจารณาคดี ที่ผู้ประท้วงหลายร้อยคนต้องเสียชีวิตในช่วงหลายสัปดาห์แห่งความไม่สงบ
มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 600 คน ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนที่ ชี้ค ฮาซินา จะถูกขับไล่ รายงานเบื้องต้นขององค์การสหประชาชาติระบุว่า ยอดผู้เสียชีวิต “น่าจะประเมินต่ำไป”
เมื่อเดือนที่ผ่านมา บังคลาเทศเปิดการสอบสวนที่นำโดยผู้พิพากษาศาลสูงที่เกษียณอายุ ต่อกรณีการบังคับให้สูญหายหลายร้อยครั้ง โดยกองกำลังความมั่นคงระหว่างการประครองของ ชี้ค ฮาซินา
ที่มา: www.arabnews.com
https://news.muslimthaipost.com/news/38497
- แอลจีเรียเข้าร่วมธนาคารพัฒนา BRICS แล้ว! โอกาสใหม่กำลังจะมา
- ชมภาพอินโดนีเซียลุกฮือ! รัฐสภาชะลอกเปลี่ยนกฎเลือกตั้ง
- นัสรีนา บาร์กซี ผู้ประสานงานพลิกโฉมการเมืองสหรัฐฯ เธอคือใคร?
- ชาวมาเลเซีย 65% ให้ความสำคัญเงินชาริอะฮ์ สะท้อนอะไรในสังคม?
- สหรัฐฯ วิจารณ์ตั้งถิ่นฐานใหม่ในเวสต์แบงก์ ยิวจ้องเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์
- เจรจาหยุดยิงยืดเยื้อ แต่ทำไมอิสราเอลยังโจมตีกาซาหนัก?
- รัฐอาหรับยังคงส่งออกโคเช่อร์ไปอิสราเอล แม้มีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกาซา