
รอมฎอนเป็นเดือนอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีการถือศีลอด เพื่อให้รู้จักกับความทุกข์ยากและฝึกความอดทน นอกจากนี้การส่งต่อความเมตตาในเดือนนี้ถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่อีกด้วย
รอมฎอนคืออะไร เดือนถือศีลอดสำคัญต่อชาวมุสลิมอย่างไรบ้าง
รอมฎอนเป็นเดือนอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีการถือศีลอด เพื่อให้รู้จักกับความทุกข์ยากและฝึกความอดทน นอกจากนี้การส่งต่อความเมตตาในเดือนนี้ถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่อีกด้วย
รอมฎอนคืออะไร? เดือนศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม
รอมฎอนเป็นช่วงเวลาอันประเสริฐที่พระอัลลอฮ์ทรงประทานให้มุสลิมได้กลับไปทบทวนตนเอง ทั้งในด้านจิตใจและการดำเนินชีวิตประจำวัน การถือศีลอดคือหนึ่งในหลักปฏิบัติสำคัญของอิสลามที่ไม่เพียงแต่ฝึกความอดทน แต่การถือศีลอดทำให้ได้ละจากสิ่งไม่ดีทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำ และความคิด เดือนรอมฎอนนี้จึงมิได้หมายถึงการงดเว้นเพียงภายนอก แต่คือโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ และกลับคืนสู่พระองค์ด้วยความนอบน้อมอย่างแท้จริง
ในบทความนี้จะขอพาไปเข้าใจความหมายของรอมฎอนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่เป็นมุสลิมใหม่หรือกำลังจะถือศีลอดในรอมฎอนเดือนแรก เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าจะมีความเข้าใจและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
เดือนรอมฎอนมีความสำคัญอย่างไรต่อชาวมุสลิม
สำหรับผู้ที่เป็นมุสลิมใหม่หรือกำลังจะถือศีลอดในรอมฎอนเดือนแรก ควรเข้าใจอย่างยิ่งว่าเดือนศักดิ์สิทธิ์นี้มีความสำคัญอย่างไรต่อเหล่าชาวมุสลิม ซึ่งเดือนรอมฎอน หรือ “เดือนแห่งเราะมะฎอน” คือเดือนที่ 9 ตามปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ของชาวอิสลาม มีระยะเวลาประมาณ 29 หรือ 30 วัน เป็นช่วงเวลาที่พระอัลลอฮ์ทรงประทานอัลกุรอานลงมาให้แก่ท่านนบีมูฮัมมัด เพื่อเป็นการนำทางให้แก่ผู้ศรัทธา
หนึ่งในศาสนบัญญัติที่สำคัญในเดือนนี้คือการถือศีลอดเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติห้าประการของอิสลาม ถือเป็นวาญิบ (Wajib) ของชาวมุสลิมวัยผู้ใหญ่ที่ไม่ได้มีโรครุนแรงหรือเรื้อรัง แก่ชรา กำลังเดินทาง เป็นเบาหวาน หรือให้นมบุตร โดยชาวมุสลิมจะงดเว้นจากอาหาร น้ำ ยาสูบ การมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย ตั้งแต่รุ่งอรุณจนถึงตะวันตกดิน
การถือศีลอดในเดือนนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่ความอดทนทางกาย แต่ยังเป็นการฝึกฝนจิตใจให้รู้จักกับความทุกข์ยากและชำระให้ใจสะอาดบริสุทธิ์ จะได้เข้าใกล้กับพระอัลลอฮ์ยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาคัมภีร์อัลกุรอานและละหมาดเป็นหลัก
เดือนรอมฎอน สิ้นสุดลงเมื่อไหร่? รู้ได้จากอะไร
การสิ้นสุดของเดือนรอมฎอนจะเกิดขึ้นเมื่อครบ 29 หรือ 30 วัน ขึ้นอยู่กับการเห็นจันทร์เสี้ยวในช่วงหลังตะวันตกดินของวันที่ 29 หรือไม่ หากมีผู้เห็นดวงจันทร์ ก็จะถือว่าวันถัดไปเป็นวันใหม่ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งก็คือวันอีดิลฟิตริ (Eid al-Fitr) แต่หากยังไม่เห็นดวงจันทร์ ก็จะถือศีลอดจนครบ 30 วัน ก่อนจะเข้าสู่วันเฉลิมฉลอง
วันอีดิลฟิตริจึงเป็นวันแห่งความสุขและการเฉลิมฉลองที่มุสลิมทั่วโลกต่างเฝ้ารอ หลังจากผ่านการฝึกฝนตนเองมาตลอดทั้งเดือนรอมฎอน ซึ่งแสดงถึงการขอบคุณอัลลอฮ์สำหรับ ความประเสริฐของเดือนรอมฎอนที่มอบโอกาสให้ผู้ศรัทธาได้ใกล้ชิดกับพระองค์มากยิ่งขึ้น ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
รอมฎอนเดือนแห่งความหวัง รวมพลังช่วยผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นชาวมุสลิม
ในขณะที่หลายประเทศยังคงเผชิญกับสงคราม ความขัดแย้ง และภัยพิบัติที่ไม่อาจคาดเดาได้ ผู้คนนับล้านจำต้องลี้ภัยและพลัดถิ่นจากบ้านเกิด เพื่อเอาชีวิตรอดจากความรุนแรงและความไม่มั่นคง ส่วนใหญ่คือพี่น้องชาวมุสลิมที่เป็นผู้หญิง เด็ก คนชรา แม่เลี้ยงเดี่ยว และคนที่เจ็บป่วย ซึ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากทั้งทางกายและใจ ไม่มีแม้แต่อาหาร น้ำสะอาด และที่พักพิงที่ปลอดภัยเพียงพอให้แก่พวกเขา
แม้ในสถานการณ์อันโหดร้ายเหล่านี้ พี่น้องผู้ศรัทธาเหล่านั้นยังคงยึดมั่นในหลักศาสนา ด้วยหัวใจที่หนักแน่น ท่ามกลางความหิวโหยและไร้ที่พึ่ง เดือนรอมฎอนจึงไม่เพียงเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาแห่งการแบ่งปันอย่างแท้จริง
การบริจาคในเดือนรอมฎอนถือเป็นการขัดเกลาจิตใจของผู้ให้ และส่งต่อชีวิตใหม่แก่ผู้รับ พวกเราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในภารกิจแห่งเมตตานี้ ด้วยการร่วมบริจาคเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพลังแห่งความหวังในการช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องชาวมุสลิม ให้รอมฎอนปีนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตาและผลบุญที่แสนยิ่งใหญ่
รอมฎอนปีนี้โลกต้องดีกว่าเดิม ด้วยการร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวมุสลิม
รอมฎอนเป็นช่วงเวลาอันประเสริฐที่ชาวมุสลิมทุกคนต่างมุ่งมั่นทำความดีและแบ่งปัน โดยเฉพาะการบริจาคในช่วงรอมฎอน เพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวมุสลิมที่ได้รับความทุกข์ยาก เช่น ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นที่ยังคงเผชิญกับความยากลำบากจากสงคราม ความรุนแรงที่ยืดเยื้อ และภัยพิบัติต่าง ๆ
เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมั่นใจและสอดคล้องกับหลักศาสนา ท่านสามารถร่วมบริจาคกับ UNHCR (สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) ผ่านธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นช่องทางการบริจาคที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ
UNHCR เป็นองค์กรที่ได้รับฟัตวา (คำวินิจฉัยทางศาสนา) จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในโลกมุสลิม ให้สามารถรับซะกาตได้อย่างถูกต้องตามหลักอิสลาม นอกจากนี้ UNHCR ยังทำงานร่วมกับมูลนิธิบาทาห์และองค์กรชั้นนำทางศาสนา โดยการนำเงินบริจาคไปใช้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นชาวมุสลิมที่เข้าเกณฑ์รับทานซะกาตอย่างแท้จริง 100%
ในเดือนรอมฎอนอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความเมตตาด้วยการบริจาคเงินช่วยเหลือ เพื่อมอบโอกาสและทรัพยากรในการดำรงชีวิตให้กับพี่น้องมุสลิมที่กำลังรอความช่วยเหลืออย่างมีความหวัง ให้ได้มีชีวิตใหม่ที่สดใสขึ้นอีกครั้ง
รอมฎอน เดือนศักดิ์สิทธิ์แห่งศรัทธา ส่งต่อความเมตตาแก่พี่น้องมุสลิมผู้ลี้ภัยและพลัดถิ่น
การบริจาคในศาสนาอิสลามเป็นการแสดงออกถึงความเมตตาและความเอื้ออาทรโดยเฉพาะในเดือนรอมฎอน สำหรับมุสลิมใหม่หรือผู้ที่กำลังถือศีลอดในรอมฎอนเดือนแรก การเริ่มต้นด้วยจิตใจที่พร้อมแบ่งปัน ถือเป็นก้าวแรกที่งดงามบนเส้นทางแห่งศรัทธา
ขอเชิญร่วมส่งต่อความหวังให้พี่น้องผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นชาวมุสลิมที่กำลังเผชิญกับความทุกข์ยาก ผ่านการบริจาคกับ UNHCR ได้อย่างสะดวกและมั่นใจผ่านธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เลขบัญชี 008-136-2129 ชื่อบัญชี UNHCR Special Account- เพื่อให้ความช่วยเหลือเข้าถึงผู้ที่ต้องการอย่างแท้จริง ทำรายการเสร็จแล้วส่งสลิปโอนเงินที่ LINE @unhcrdonation เพื่อบันทึกการบริจาคและรับคำอวยพรอันประเสริฐจากท่านจุฬาราชมนตรี หรือร่วมบริจาคผ่านเว็บไซต์ที่ https://unh.cr/67e270a50
บทความที่น่าสนใจ
- กองทุนซะกาต UNHCR ได้รับการรับรองว่าเลิศสุด
- UNHCR สานต่อ โครงการรอมฎอนนี้เพื่อพี่น้องฯ ปีที่ 4
- เกือบ 1 ทศวรรษ ที่เราทำเพื่อมนุษยธรรม
- UNHCR-จุฬาราชมนตรี จัด รอมฎอนนี้ เพื่อพี่น้อง ปี2
- เรือผู้ลี้ภัยโรฮิงยา รอดตาย! อินโดนีเซียให้เทียบท่าได้
- รอมฎอนคืออะไร เดือนถือศีลอดสำคัญต่อชาวมุสลิมอย่างไรบ้าง
- UNHCR จับมือเปิดตัว “กองทุนอิสลามโลกเพื่อผู้ลี้ภัย”