ตำรวจอินเดีย ถูกกล่าวหาว่า โหดเหี้ยมใช้กำลังรุนแรงเกินความจำเป็น กับผู้ประท้วงกฎหมายกีดกันการให้สัญชาติแจนทำให้มีผู้เสียชีวิตแก่ผู้อพยพมุสลิม ล้ว 25 รายทั่วประเทศ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ตร.อินเดียเหี้ยม เหตุปราบม็อบต้านกฎหมายกีดกันให้สัญชาติมุสลิม
ตำรวจอินเดีย ถูกกล่าวหาว่า โหดเหี้ยมใช้กำลังรุนแรงเกินความจำเป็น กับผู้ประท้วงกฎหมายกีดกันการให้สัญชาติแจนทำให้มีผู้เสียชีวิตแก่ผู้อพยพมุสลิม ล้ว 25 รายทั่วประเทศ หลังจากมีการประกาศจะพิจารณาให้สัญชาติแก่ผู้อพยพที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน หากพวกเขาไม่ใช่มุสลิมเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ในวันที่ 24 ธ.ค.62 กลุ่มสิทธิมนุษยชนออกมาประณามว่า กฎหมายดังกล่าวเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม และเรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียอนุญาตให้มีการจัดประท้วงโดยสันติ
แถลงการณ์ของกลุ่มสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ตำรวจใช้กำลังเกินความจำเป็นเฉพาะกับผู้ประท้วงซึ่งบางส่วนเป็นเพียงนักเรียน นักศึกษา และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ยิ่งกว่านั้นเจ้าหน้าที่ยังใช้กฎหมายยุคอาณานิคม ในการสั่งปิดอินเทอร์เน็ท และจำกัดเส้นทางขนส่งสาธารณะ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการรวมตัวกันประท้วงโดยสันติ
ในทางกลับกัน ตำรวจไม่ได้เข้าแทรกแซงผู้ประท้วงสนับสนุนกฎหมายดังกล่าว ซึ่งส่วนหนึ่งจัดขึ้นโดยผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุนความรุนแรง
กลุ่มสิทธิมนุษยชน ได้อ้างข้อมูลของแหล่งข่าวนักรณรงค์ผู้หนึ่ง ที่ระบุว่า พวกเขาหลายคนต้องหาที่หลบซ่อนตัว เพราะถูกตำรวจตามรอยทุกคนที่ร่วมจัดการประท้วง หรือส่งข้อความให้มาร่วมในการชุมนุมโดยสันติ โดยพวกเขาต้องการปิดปากทุกคน
มีนักชี แกนกูลี ผู้อำนวยการองค์กรเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนประจำเอเชียใต้ กล่าวว่า ทางการสามารถดำเนินคดีผู้ประท้วงที่ก่อความรุนแรง แต่พวกเขาควรต้องจำกัดการกระทำของพวกตำรวจด้วย เพื่อมิให้กระทำการรุนแรงเกินกว่าเหตุ และว่า การที่ผู้วิจารณ์รัฐบาลถูกปราบปรามอย่างรุนแรง เป็นการกระทำที่จะบ่อนทำลายการอ้างสิทธิ์ใดๆ ที่เจ้าหน้าที่จะใช้เป็นข้ออ้าง ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ในลักษณะที่เป็นกลาง
นักวิจารณ์กล่าวว่า กฎหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งของวาระชาตินิยม ของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ซึ่งเป็นการต่อต้านชาวมุสลิมอินเดีย แต่พรรคภาราติยะ ชนตะ ได้ออกมาปฏิเสธในเรื่องนี้
ส่วนใหญ่ของประชากรชาวอินเดีย 1.3 พันล้านคน เป็นชาวฮินดู โดยในจำนวนนี้เพียงร้อยละ 14 เท่านั้นที่เป็นมุสลิม ส่วนที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ พุทธ และอื่น ๆ
นับตั้งแต่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในปีนี้ โมดี และพรรคของเขา ได้ถอดถอนความเป็นเขตปกครองตนเองของแคว้นแคชเมียร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และดำเนินการจัดลงทะเบียนราษฎรใหม่ในรัฐอัสสัม ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และชื่อของชาวมุสลิมหลายล้านคนไม่ได้ถูกระบุในทะเบียนราษฎร์ดังกล่าว
ที่มา: www.sbs.com.au