ฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia) ซึ่งในอดีตสมัยบัยเซนทัล เคยเป็นมหาวิหารของศาสนาคริสต์ นิกายออร์โธด็อกซ์ แล้วมาเปลี่ยนเป็นมัสยิด ตามมาด้วยการเป็นพิพิธภัณฑ์ในสถานะล่าสุด
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ฮาเกีย โซเฟีย อาจเปลี่ยนเป็นมัสยิดอีกครั้ง
เสียงอะซานก้องกังวานอีกครั้งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่ ฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia) ซึ่งในอดีตสมัยบัยเซนทัล เคยเป็นมหาวิหารของศาสนาคริสต์ นิกายออร์โธด็อกซ์ แล้วมาเปลี่ยนเป็นมัสยิด ตามมาด้วยการเป็นพิพิธภัณฑ์ในสถานะล่าสุด การอะซานครั้งนี้มีการถ่ายทอดผ่านช่องโทรทัศน์ Iha.tv
นักวิเคราะห์ยืนยันว่า นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะการอะซานดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 2 วัน ก่อนวันครบรอบการประกาศสงครามเอกราชของกรีก และการปลดปล่อยกรีซจากการปกครองของจักรวรรดิอ๊อตโตมาน ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2364 (ค.ศ.1821)
ครั้งนี้นับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ที่มีเหตุการณ์ที่คล้าย ๆ กันเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการท้าทายสถานะปัจจุบันของ ฮาเกีย โซเฟีย ซึ่งฝ่ายปกครองระบบเซคิลล่าร์ของตุรกีกำหนดให้เป็นพิพิธภัณฑ์
ฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia) ถูกสร้างขึ้นในปี 537 และตลอดเกือบ 1,000 ปีที่ผ่านมา ได้ทำหน้าที่เป็นมหาวิหารของจักรวรรดิบัยเซนไทน์ หลังจากนั้นถูกเปลี่ยนเป็นมหาวิหารของศาสนาคริสต์ นิกายกรีกออร์โธด็อกซ์ ต่อมาเป็นมัสยิดของจักรวรรดิอ๊อตโตมาน เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1453 หลังการล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล จนถึง ค.ศ. 1931 (พ.ศ.2474)
อีก 4 ปี ต่อมา ฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia) ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ ตามการตัดสินใจของ มุสตาฟา เคมาล อะตาเติร์ก ประธานาธิบดี และผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี
ฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของ UNESCO ในปี 2014 และ 2015 ในตอนแรกมีการห้ามประกอบศาสนกิจใน ฮาเกีย โซเฟีย อย่างเข้มงวด จนในปี 2006 รัฐบาลตุรกีอนุญาตให้จัดตั้งห้องขนาดเล็กในอาคารพิพิธภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติศาสนกิจของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ ทั้งที่เป็นชาวคริสต์และมุสลิม และนับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่มุอัซซิน ได้เปล่งเสียงอะซานที่หออะซานของ ฮาเกีย โซเฟีย วันละ 2 ครั้ง ในช่วงบ่าย
การใช้ ฮาเกีย โซเฟีย เป็นศาสนสถาน เป็นประเด็นที่สร้างความขัดแย้งมาหลายปี โดยนักการเมืองตุรกีหลายคนยืนยันว่า ควรเปลี่ยน ฮาเกีย โซเฟียเป็นมัสยิดเต็มรูปแบบอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2016 มีการจัดละหมาดที่ ฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia) เป็นครั้งแรกในรอบ 85 ปี ซึ่งสร้างความปวดร้าวให้กับสังฆมณฑลนิกายกรีก ออร์โธด็อกซ์ เป็นอย่างยิ่ง
พฤษภาคม 2017 สมาคมเยาวชนอะนาโตเลีย (AGD) จัดละหมาดซุบฮิ หน้า ฮาเกีย โซเฟีย และเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนสถานที่นี้ให้เป็นมัสยิดอีกครั้ง เดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ประธานฝ่ายศาสนาสูงสุดของตุรกี จัดโครงการพิเศษ ซึ่งรวมทั้งการท่องจำกุรอาน และการละหมาดที่ ฮาเกีย โซเฟีย ในคินลัยละตุรกอตรฺ โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ทางการ TRT ด้วย
31 มีนาคม 2018 ประธานาธิบดี เรเซป ทายยิบ เอร์โดกฺอาน อ่านบทแรกของอัล-กุรอาน ในฮาเกีย โซเฟีย โดยกล่าวว่า เขาขออุทิศการอ่านนี้ให้กับดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ทุกคน ที่ทิ้งสถานที่นี้ไว้ให้เป็นมรดก โดยเฉพาะชาวอิสตันบูลที่ต่อสู้ให้ได้มาซึ่งชัยชนะ และกล่าวย้ำถึงหน้าที่ของเขาในการทำให้ ฮาเกีย โซเฟีย กลับมาเป็นมัสยิดอีกครั้ง
ที่มา: www.eu.greekreporter.com
http://news.muslimthaipost.com/news/33796
- รองปธน.อินโดนีเซีย สั่งอุละมะอฺหนุนป้องโควิด
- นักเรียนตะฮ์ฟิสนับร้อย ถูกกักตัวมัสยิด ติดเชื้อโควิดหรือไม่?
- โควิด-19 ทำคนในซาอุฯ เสียชีวิตรายแรกแล้ว
- ประกาศจุฬาราชมนตรี งดละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด (ฉ.3/2563)
- ชายซาอุฯ เสียชีวิตวัย 120 ปี ทิ้งผู้สืบทอดกว่า 470 ชีวิต
- มุสลิมเสียชีวิต จากโควิด-19 จัดการอย่างไรไม่ให้แพร่เชื้อ
- ยกเป็นฮีโร่! แพทย์ปากีสถาน เสียชีวิต 'COVID-19'
- กษัตริย์ซัลมาน สั่งเคอร์ฟิวทั่วราชอาณาจักร 21 วัน