แผนที่ของมาลายา (Hyoujun Daitoa Bunzu - Marai - แผนที่มหาเอเชียตะวันออกมาตรฐาน ฉบับมาลายา) ที่ผลิตโดยญี่ปุ่นในปี คศ 1943 (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง)
รู้หรือไม่ ชื่อเรียกเมืองในจังหวัดชายแดนใต้ แผนที่ญี่ปุ่นสมัยสงครามโลก
โดย: Hara Shintaro
แผนที่ของมาลายา (Hyoujun Daitoa Bunzu - Marai - แผนที่มหาเอเชียตะวันออกมาตรฐาน ฉบับมาลายา) ที่ผลิตโดยญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1943 (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) โดยบริษัท "โตเซอิชะ (Touseisya)" ซึ่งข้างบนมีแผนที่จังหวัดชายแดนใต้ ข้อสังเกตเบื้องต้นที่น่าสนใจคือ
ภาพ: voices.nationalgeographic.org
1. ชุมทางรถไฟที่หาดใหญ่ ยังใช้ชื่อว่า "นุอะ" ซึ่งมาจาก "เหนือ" (ภาษาญี่ปุ่นไม่มีเสียงสระ เอือ) ที่เป็นชื่อเก่าของอำเภอดังกล่าวก่อน พ.ศ. 2460 แต่ใน
2. สงขลา เขียนว่า "ซินโกะระ" ซึ่งมาจาก "สิงโกรา (Singgora)"
3. ทะเลสาบสงขลา เขียนว่า "ทะเรสาปุโกะ" คำว่า "ทะเรสาปุ" มาจาก "ทะเลสาบ" ส่วนคำว่า "โกะ" หมายถึง ทะเลสาบเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของผู้ทำแผนที่
4. ยะหริ่ง ปรากฎในชื่อ "ยะมู" ซึ่งมาจาก "จัมบู (Jambu)"
5. ถนนเอเซีย ยังไม่มี ก็เลยเส้นทางหลักจากปัตตานี ไปถึง "กะราโป" ซึ่งเป็น "กะลาพอ" และไปถึง "ตะรุบัน" ซึ่งมาจาก "ตาลูบัน (Taluban)" (ภาษาญี่ปุ่นไม่มี ล. ลิง มีแต่ ร. เรื่อ). ปาลัสไม่ปรากฎในแผนที่
6. นราธิวาส เขียนว่า "บานนะรา" ซึ่งมาจาก "บางนรา (Bang Nara)"
7. ตากใบ เขียนว่า "ตะบะรุ" ซึ่งมาจาก "ตาบาล (Tabal)"
8. ระหว่าง "บานนะรา" กับ "ตะบะรุ" ปรากฎชื่อสถานที่ "ปุระอิวัน" ซึ่งเป็นตำบล "ไพรวัลย์"
9. โกตาบารู ที่ยะลา เขียนว่า "โกตาบะรา" แต่ โกตาบารู ในรัฐกลันตัน เขียนว่า โกะตะบะรุ
10. ชื่อรือเสาะ ไม่ปรากฎในแผนที่ แต่มีชื่อสถานที่ "ราโร" ซึ่งเป็น "ลาโละ"
ที่มา: patanisociety
http://news.muslimthaipost.com/news/34313
- 350,000 คน ร่วมละหมาดวันศุกร์ครั้งแรกที่ ฮาเกียโซเฟีย ในรอบ 86 ปี
- (ไลฟ์สด) มัสยิดฮาเกียโซเฟีย ละหมาดศุกร์แรกแห่งประวัติศาสตร์
- เลือกตายอย่างมีเกียรติ
- กรีซวิจารณ์ตุรกีเรื่อง ฮาเกียโซเฟีย แต่ถูกตอกกลับเงิบเลย!
- ตุรกีเปลี่ยน ฮาเกีย โซเฟีย กลับเป็นมัสยิด
- เผยที่มาประตูกะอฺบะอฺ 6 บาน อายุกว่า 5,000 ปี ที่ไม่มีใครเคยรู้!
- จุฬาราชมนตรีตำแหน่งคู่ราชบัลลังก์