มัสยิด 300 ปี ทรายขาว ประวัติ มัสยิดนัจมุดดินชุมชนทรายขาว ปัตตานี
มัสยิดนัจมุดดินชุมชนทรายขาว เดิมชื่อสุเหร่าบาโงยลางา เป็นศาสนสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีการก่อสร้างแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบไทยและสถาปัตยกรรมของมุสลิม ทำให้มัสยิดแห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับศาลาเปรียญ สร้างประมาณปี พ.ศ.2177 (ค.ศ.1634) ปัจจุบัน 385 ปี ในรัชสมัยของราชินีราตูอูงูครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.2167-2178
- สุเหร่าอาวห์ มัสยิดเก่าแก่เกือบ 400 ปี คู่บ้านคู่เมือง ปัตตานีดารุสซาลาม
- มัสยิด 300 ปี ที่ตะโละมาเนาะ ครั้งหนึ่ง เคยเป็นแหล่งผลิต คัมภีร์อัลกุรอานที่เขียนด้วยมือ
- แหลมตาชี จุดชมพระอาทิตย์แสงแรก และแสงลับขอบฟ้า ณ แห่งเดียวของประเทศ
ซึ่งในสมัยของราชินีราตูอูงูได้เกิดสงครามขึ้นระหว่างปาตานีดารุสสลามกับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพระเจ้าประสาททองได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าโจมตีปาตานีดารุสสลาม เกิดสงครามยือเยื้อเป็นเวลาแรมปีสงครามครั้งนี้เอง จึงเป็นที่มาของวีรกรรมผู้กล้าหาญ ของโต๊ะหยางหญิงแห่งบ้าน บาโงยลางา (คำว่า บาโงยลางา เป็นภาษามลายู หมายถึง ควนหรือเนิน ส่วนคำว่า ลางา แปลว่า การปะทะสถานที่แห่งหนึ่ง คือ ส่วนหนึ่งของสมรภูมิสงครามในครั้งนั้น)
โต๊ะหยางหญิง เป็นผู้เก็บมหาคัมภีร์อัลกุรอานในช่วงสงคราม ซึ่งขณะกำลังหนีภัยสงครามนั้น โต๊ะหยางหญิงตกลงในหุบเหวเป็นเวลาหลายวัน หลังสงครามสงบโต๊ะหยางหญิงได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านให้ขึ้นจากเหว ซึ่งทุกคนต่างตะลึงเมื่อเห็นสิ่งที่โต๊ะหยางหญิงกอดแน่นอยู่กับอก คือ พระมหาคัมภีร์อัลกรุอานเล่มนี้ถูกจารึกด้วยลายมือ ปกทำมาจากเปลือกต้นมะม่วงหิมพานต์ พระมหาคัมภีร์อัลกรุอานเล่มนี้ได้ประดิษฐานในมัสยิดแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน
จากนั้นชุมชนบ้านทรายขาว ได้ร่วมกันสร้างสุเหร่าขึ้นภายหลังสงครามสงบโดยขณะนั้น ชาวบ้านทั้งมุสลิมและไทยพุทธในพื้นที่ได้ร่วมแรงร่วมใจในการก่อสร้างมัสยิดหลังนี้ โดยไม้ที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง คือ ไม้แคและไม้ตะเคียน (กายูจืองา) ซึ่งชาวบ้านตัดมาจากป่าในเทือกเขาสันกาลาคีรี และใช้หวายมัดเป็นเชือกลากลงมาจากภูเขา จานั้นก็จะใช้ขวานถากเสาให้เป็นสี่เหลี่ยมส่วนกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคา ทำมาจากอิฐแดง ต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้าน ตาระบาตอ ต.กะมิยอ อ.เมือง จ.ปัตตานี
ปัจจุบันพระมหาคัมภีร์อัลกรุอานฉบับเขียนด้วยมือและเครื่องมือการก่อสร้างบางส่วนยังคงเก็บรักษาไว้รูปแบบการก่อสร้าง เป็นศิลปะการก่อสร้างตามสร้างตามแบบศิลปกรรมที่สืบทอดมาจากสถาปัตยกรรมลังกาสุกะ มัสยิดบาโงยลางาทั้งหลังสร้างขึ้นโดยไม่ใช่ตะปู แต่ใช่ลิ่มไม้ นับเป็นภูมิปัญญาและความสมานสามัคคีของชาวชุมชนท้องถิ่นร่วมกันสร้างศาสนสถานและวัฒนธรรมสถานที่งดงามล้ำค่าทางศิลปะแบบราชอาณาจักรลังกาสุกะ
นอกจากนี้ยังมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ กลองหรือนางญาใช้ในการตีบอกเวลาให้สมาชิกในชุมชนรู้ถึงเวลาที่จะต้องมาร่วมละหมาด นอกจากนี้ยังเป็นการเตือนภัยเมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกลองหรือนางญานี้ทำมาจากต้นไม้ขนาดใหญ่ นำมาคว้านตรงกลาง จากนั้นใช้หนังควายเพื่อขึ้นหน้ากลอง สำหรับจุดเด่นของกลองนี้คือลิ้นที่ทำมาจากไม่ไผ่เหล่านี้จะสั่นทำให้มีเสียงที่ไพเราะขึ้น และมีความดังไปไกลประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ตั้งแสดงเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ดูได้ศึกษาที่มัสยิดศาสนาอิสลามได้เป็นที่เผยแพร่อย่างรวดเร็ว หลังจากพญาตูนาคะแห่งราชอาณาจักรมลายูลังกาสุกะได้เปลี่ยนจากพุทธศาสนามาเป็น กษัตริย์มุสลิมองค์แรก ในนามสุลต่าน อิสมาอีลชาล์แห่งราชอาณาจักรปาตานีดารุสสลาม
ที่มาของชื่อ ซึ่งสถานที่สร้างมัสยิดเป็นเนินซึ่งในภาษามลายู จะเรียกว่า บาโงย ลางา ก็คือการปะทะในสมัยนั้น และทำให้มีการตั้งชื่อมัสยิดแห่งนั้น เป็นชื่อ มัสยิดบาโงยลางาเป็นมัสยิดเก่า แต่เนื่องจากมีจำนานประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงจำเป็นต้องสร้างมัสยิดแห่งใหม่ขึ้นก็คือ มัสยิดนัจมุดดินชุมชนทรายขาว เป็นชุมชนใหญ่แห่งหนึ่งของอำเภอโคกโพธิ์
ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มสลับพื้นที่ราบสูง ติดแนวเทือกเขาสันกาลาคีรีที่เป็นแนวเชื่อมต่อจังหวัดยะลา ปัตตานี และจังหวัดสงขลา ชุมชนทรายขาวเป็นชุมชนที่บ่งบอกถึงความสมานฉันท์สามัคคีของชาวบ้านทั้งไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ไม่แบ่งแยกศาสนา มีความรักใคร่กลมเกลียว ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์เหนียวแน่นอันดีงามนี้มีมายาวนานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของชุมชนทรายขาว
มนต์เสน่ห์ด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนอารยธรรมนอกจากบรรดามัสยิดที่ได้กล่าวถึงแล้ว ความเจริญและวิทยาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันล้วนมีรากฐานมาจากอารยธรรมในสมัยโบราณแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานกันและเชื่อมโยงกันระหว่างอารยธรรมเก่าและใหม่และมีการสืบทอดกันต่อๆ มาความเจริญด้านศิลปกรรมเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของอารยธรรมแห่งนี้ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบของงานศิลปกรรม ส่วนใหญ่เป็นงานสร้างสรรค์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความศรัทธาทางศาสนา โดยสร้างขึ้นเพื่อแสดงความเคารพบูชาและบวงสรวงเทพเจ้าของตนสภาพภูมิศาสตร์ ตำบลทรายขาว เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีระยะทางห่างจากอำเภอโคกโพธิ์ประมาณ 6 กิโลเมตร มีเนื้อที่โดยประมาณ 44,130 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต :
-ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
-ทิศใต้ ติดต่อกับภูเขาสันกาลาคีรี
-ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
-ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
- สกายวอร์ค ปัตตานี ลองมาสัมผัสดู แล้วคุณจะรู้ว่าคุณเป็นคนกล้าหรือไม่
- มัสยิดอิลามบ้านฮ่อ มัสยิดในเมืองเชียงใหม่ ประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจมาก
- ทำความรู้จัก “มัสยิดจักรพงษ์” มัสยิดแห่งแรกในเขตพระบรมมหาราชวัง
- จุฬาราชมนตรี “สายชีอะห์ - ซุนนี่” ผู้นำมุสลิมยุคแรกแห่งสยาม
- เล่าตำนาน “อะแวสะดอตาเละ” ขุนโจรชาวมุสลิมจอมขมังเวทย์
- ประวัติพระเจ้าตากสิน และพระยาจักรี คือใคร มุสลิมสองพ่อลูก
- เปิดภาพ ซี-เอมี่ สวมชุดมุสลิม เยือนมัสยิดสุดแดนใต้
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ เรียบเรียง
ที่มา: oknation.nationtv.tv
ภาพ: yala-patani-naratiwat.blogspot.com