แม้จะต้องเหงื่อตกเพราะความร้อนภายใต้ชุดป้องกันเชื้อไวรัสที่สวมใส่ แต่อาสาสมัครก็ยังคงช่วยกันเตรียมการฝังร่างผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: นับถือน้ำใจ มุสลิมเมียนมาอาสาสมัคร ฝังศพเหยื่อโควิด-19
ย่างกุ้ง – แม้จะต้องเหงื่อตกเพราะความร้อนภายใต้ชุดป้องกันเชื้อไวรัสที่สวมใส่ แต่อาสาสมัครก็ยังคงช่วยกันเตรียมการฝังร่างผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งประกอบพิธีทางศาสนาที่จำเป็นสำหรับมุสลิมแทนคนอื่น ๆ ในชุมชน และญาติผู้เสียชีวิต
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อาสาสมัคซิธู ออง (Sithu Aung) วัย 23 ปี และเพื่อน ๆ อาสาสมัครของเขา ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในสุสานที่โดดเดี่ยวห่างไกลจากครอบครัว เพื่อเก็บศพผู้เสียชีวิตจากโรงพยาบาล และศูนย์กักตัวในย่างกุ้ง เมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าที่บัดนี้เต็มไปด้วยโรคระบาด
หากไม่มีอาสาสมัครเหล่านี้ ศพมุสลิมที่ตายเพราะโรคโควิด-19 จะถูกเผา ซึ่งเป็นวิธีกำจัดศพที่เป็นปกติในประเทศที่ชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่การเผาศพเป็นเรื่องที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ในขั้นตอนการทำงานของอาสาสมัคร ผู้ตายจะได้ผ่านพิธีศพด้วยการขอพรอย่างสั้น ๆ ที่ดำเนินการโดยอิหม่ามในท้องถิ่น ณ สุสามนของชาวมุสลิม โดยอนุญาตให้ญาต-พี่น้อง มาร่วมพิธีอย่างห่าง ๆ เพียงไม่กี่คน
ซิธู ออง กล่าวว่า เขาพึงพอใจที่ครอบครัวของผู้ตายมีความสุข และเขาตระหนักว่า อัลลอฮ์ทรงมองเห็นสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ นี่คือเหตุผลที่พวกเขาต้องเสี่ยงชีวิตเพื่อทำงานนี้
ย่างกุ้งมีมุสลิมประมาณ 350,000 คน หรือคิดเป็น 7% ของประชากรในเมืองนี้ ซึ่งสมาคมมุสลิมต่าง ๆ ได้จัดหารถพยาบาล 3 คัน รถยนต์ 2 คัน และอาหารสำหรับบริการอาสาสมัครกลุ่มนี้ การที่พวกเขาทั้ง 15 คน ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสุสาน เพราะพวกเขาไม่อาจหาเช่าอพาร์ทเม้นต์ เพื่อแยกตัวเองออกจากครอบครัวได้ พวกเขาต้องสวมชุดป้องกันเต็มรูปแบบ ทั้งถุงมือยาง แว่นตาขนาดใหญ่ และแผ่นพลาสติกป้องกันใบหน้า ตลอดการทำงาน ที่ต้องวิ่งรถไปตามถนนที่มีการจราจรคับคั่ง พร้อมเปิดไฟฉุกเฉิน และเสียงไซเรน
กลางเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยทั่วประเทศมีไม่ถึง 400 คน แต่เมื่อสถานการณ์การระบาดแย่ลงเรื่อย ๆ ทำให้จำนวนผู้ป่วย ในประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่อ่อนแอที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเริ่มเพิ่มมากขึ้นทุกที จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วประเทศขณะนี้อยู่ที่ 100,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 2,000 ราย และดูเหมือนว่า ย่างกุ้ง จะเป็นจุดแพร่เชื้อไวรัสที่สำคัญ เพราะพวกอาสาสมัครต้องเก็บศพกันวันละ 3 – 4 ศพ
พวกเขาหมุนเวียนกันทำงาน กะละ 2 สัปดาห์ พัก 1 สัปดาห์ เมื่อมีการประกาศล็อกดาวน์ในย่างกุ้งเมื่อเดือนเมษายน ซิธู ออง เลือกที่จะไม่บอกครอบครัวที่ประกอบด้วยภรรยาและลูกชายวัย 1 ขวบ ว่าเขากำลังจะไปเป็นอาสาสมัคร ปัจจุบันแม่ และภรรยา มาเยี่ยมเขาที่สุสานบ้าง แต่รักษาระยะห่างตามมาตรฐาน
เขายังจำได้ถึงศพมุสลิมติดโควิดศพแรกที่เขาช่วยฝัง เป็นชายวัย 69 ปี และยังไม่ลืมว่า เขากลัวมากที่จะแตะต้องศพนั้นทั้ง ๆ ที่อยู่ในชุดป้องกัน แต่มาบัดนี้ เขาผ่านการฝังศพผู้ติดเชื้อโควิตมาแล้วหลายสิบศพความหวาดกลัวไม่มีเหลืออยู่เลย แต่ในอารมณ์ความรู้สึกที่ท่วมท้นของเขา เขาเสียใจแทนสมาชิกในครอบครัวของผู้เสียชีวิต ที่ไม่สามารถมองเห็นใบหน้าของคนที่พวกเขารักได้ สิ่งนี้ทำให้บางวันเขาถึงกับต้องร้องไห้อยู่เบื้องหลังแว่นตาขนาดใหญ่ที่ปิดบังใบหน้าเขาไว้
ที่มา: www.channelnewsasia.com
http://news.muslimthaipost.com/news/34772
- มัสยิดเมดเดนเฮด รับรางวัลผู้นำโครงการยอดเยี่ยม
- มุสลิมเกาะคิวชู ดิ้นรนตั้งสุสาน ท่ามกลางกระแสต้าน
- อิหร่านจัดพิธีศพนักวิทยาศาสตร์ที่ถูกลอบสังหารอย่างสมเกียรติ
- ผงะ! สเปนพบสุสานมุสลิมกว่า 400 หลุม
- ซาอุฯ ต้อนรับผู้แสวงบุญอุมเราะฮ์ต่างชาติเป็นครั้งแรก
- มุสลิมทาจิกิสถานกลุ่มแรก คาดบินทำอุมเราะฮ์ปลายเดือนหน้า
- ปากีฯเรียกร้องให้ปกป้องมรดกอิสลาม จากม็อบฮินดูสุดโต่ง