หลังจากที่มัสยิดในสหรัฐอเมริกา และทั่วโลกปิดให้บริการเนื่องจากข้อจำกัดในการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 คำเทศนา(คุตบะห์) ประจำสัปดาห์ ซึ่งกล่าวก่อนการละหมาดญุมอัตในวันศุกร์
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: เปิดตัวแอพ ‘ImamConnect’ คุตบะห์เสมือนจริงที่มุสลิมต้องโหลด!
หลังจากที่มัสยิดในสหรัฐอเมริกา และทั่วโลกปิดให้บริการเนื่องจากข้อจำกัดในการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 คำเทศนา(คุตบะห์) ประจำสัปดาห์ ซึ่งกล่าวก่อนการละหมาดญุมอัตในวันศุกร์ จึงต้องเปลี่ยนเป็นการดำเนินการผ่านทางออนไลน์ และตอนนี้ศรัทธาชนก็เริ่มจะคุ้นเคยจนเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ก็ไม่อาจแทนที่ความรู้สึกของคนในชุมชน ที่ต้องการการบริการทางจิตวิญญาณแบบครบวงจรที่เคยคุ้นเมื่อเดินทางไปมัสยิด
การคิดค้นแอพ ImamConnect ขึ้น ก็เพื่อมุ่งหวังให้มุสลิมสามารถเข้าถึงทุกอย่างผ่านทางออนไลน์ ด้วยแอพนี้ พวกเขาสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาอิหม่าม รวมทั้งผู้ร่วมศาสนาเดียวกันอีกด้วย แอพนี้เป็นดั่งตลาดออนไลน์แห่งแรกของโลก สำหรับบริการเพื่อมุสลิม โดยมันเชื่อมต่อผู้ใช้แอพ กับธุรกิจจริง ๆ ที่ดำเนินการอยู่บนถนนทั่ว ๆ ไป และผู้เชี่ยวชาญเกือบทั่วโลก โดยมันจะให้คำแนะนำในทุกสิ่งนับตั้งแต่การเรียนรู้เกี่ยวกับอิสลาม จนถึงการประดิษฐ์คอตภาษาอาหรับ ใน 14 ภาษาที่แตกต่างกัน
บางคนที่ต้องการคำปรึกษาทางจิตวิญญาณน้อยกว่าคำปรึกษาด้านการดำรงชีวิต พวกเขาสามารถเข้าไปหาคำแนะนำจาก ไลฟ์โค้ช ที่ประสบความสำเร็จในสาขาต่าง ๆ ได้ ผ่านแอพนี้ โดยในรายการบริการที่ระบุไว้ ได้รับการตรวจสอบจากกลุ่มนักวิชาการทั้งจากแนวคิดซุนนีย์ และชีอะฮ์แล้ว
มัดเดสซาร์ อะเหม็ด (Muddassar Ahmed) ผู้ประกอบการในลอนดอน และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งแอพ ImamConnect กล่าวว่า เขาเปิดตัวแพลตฟอร์มนี้ เพื่อให้ชาวมุสลิมรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงบริการตามความเชื่อของมุสลิม โดยพวกเขาไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ถูกต้อง เพราะมันผ่านการตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว และเขาคิดว่านี่เป็นกิจการเพื่อสังคมมากพอ ๆ กับเป็นการทำธุรกิจ และเขาออกแบบมาเพื่อช่วยสร้างความเชื่อมโยงใหม่ ๆ ภายในชุมชนมุสลิม โดยไม่ได้มุ่งหวังกำไรแต่เพียงอย่างเดียว
จากกรณีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีผลให้ชาวอเมริกันมุสลิมที่ไม่เข้ามัสยิดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อ้างอิงการสำรวจชองสำนักสำรวจพิว (Pew Research) ซึ่งเปิดเผยผลสำรวจในปี 2017 ว่า มีชาวมุสลิมอเมริกัน (ที่เข้าร่วมในการสำรวจ) น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง (43%) เดินทางไปละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด
ที่มา: www.religionnews.com