แพทย์ในมาเลเซีย กระตุ้นให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำอาหาร เร่งไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ ก่อนที่เดือนรอมฎอนจะมาถึง แพทย์กล่าวว่า
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : หมอมาเลย์แนะ! ผู้ดูแลอาหาร ฉีดวัคซีนไทฟอยด์ก่อนรอมฎอนมาถึง
แพทย์ในมาเลเซีย กระตุ้นให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำอาหาร เร่งไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ ก่อนที่เดือนรอมฎอนจะมาถึง แพทย์กล่าวว่า การป้องกันแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดโรคระบาดเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเจ้าของกิจการที่เพิ่งหันมาทำธุรกิจด้านอาหารเป็นครั้งแรก หรือ บรรดาผู้ที่ทำอาหารที่บ้านและนำออกจำหน่ายเพื่อเลี้ยงชีพ ในช่วงการระบาดของโควิด-19
ทั้งนี้ หน่วยงานด้านการแพทย์เพื่ออาชีพและสิ่งแวดล้อม Academy of Occupational and Environmental Medicine Malaysia (AOEMM) จึงร่วมมือกับกลุ่ม Facebook Caring Moms เปิดตัวการรณรงค์ให้ความรู้ด้านสุขภาพในหัวข้อ “มั่นใจอาหารปลอดภัยหากผู้ปรุงมีสุขภาพดี – Healthy Food Handlers, Food Safety assured” ขึ้น โดยการรณรงค์นี้จะกระตุ้นให้ผู้ดูแลอาหารพื้นบ้านปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี ในการเตรียม/การส่งอาหาร และเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของตน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์แต่เนิ่น ๆ
ไทฟอยด์ หรือไข้ไทฟอยด์ เป็นการติดเชื้อในระบบที่แพร่กระจายผ่านอาหาร เครื่องดื่ม ที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi (S.Typhi) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของไทฟอยด์ ได้แก่ การสุขาภิบาลที่ไม่ดี การไม่ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย และการขาดน้ำดื่มที่สะอาด
อาการของผู้ที่ติดเชื้อไทฟอยด์ จะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องผูก ท้องร่วง และขึ้นผื่น โดยร้อยละ 1-4 ของผู้ติดเชื้อจะเป็นพาหะเรื้อรังที่ไม่มีอาการ ซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บแบคทีเรียไว้ในระบบทางเดินอาหาร และถุงน้ำดี ได้เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี และพร้อมที่จะแพร่กระจายโรคไปยังผู้อื่นได้ตลอดเวลา
ดร.มาร์ซูกิ อิสฮัค เลขานุการกิตติมศักดิ์ของ AOEMM กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจอาหารพื้นบ้านเติบโตขึ้นเนื่องมาจากการระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเผยแพร่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญในการฉีดวัคซีนไทฟอยด์ให้มากกว่าเดิม
ดร.มาร์ซูกิ อิสฮัค เลขานุการกิตติมศักดิ์ของ AOEMM
ดร.มาร์ซูกิ ซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและการป้องกัน แห่งมหาวิทยาลัยมาลายา และเคยทำงานด้านการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร ที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยมาลายา กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ ผู้จับต้องอาหารต้องใส่ใจในการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การล้างมือ
การระบาดของโรคไทฟอยด์ยังคงเกิดขึ้นในมาเลเซียแม้จะมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ แล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่หุบเขา Klang ซึ่งการแพร่กระจายของไทฟอยด์ในท้องถิ่นเกิดขึ้นถึง 78.9% โดยในระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2015 พบผู้ป่วย 71 รายในกลุ่มผู้จับต้องอาหารในมาเลเซีย ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์
ดร.อันซา เอลิอาส ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์อาชีวอนามัย และสมาชิกสภา AOEMM กล่าวว่า การป้องกันเป็นกุญแจสำคัญในการยับยั้งการแพร่เชื้อไทฟอยด์ และการฉีดวัคซีนเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายสำหรับธุรกิจอาหารตามบ้าน ผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปสามารถฉีดได้ โดยการฉีดเพียง 1 เข็ม ภูมิคุ้มกันจะปรากฏขึ้นหลังการฉีด 1-3 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะต้องฉีดซ้ำทุก ๆ 3 ปี
ที่มา: www.malaymail.com
http://news.muslimthaipost.com/news/35135
- สถานีทำความเย็นที่ใหญ่ที่สุดในโลก มัสยิดฮะรอม พร้อมรับรอมฎอน
- ย่าเลี้ยงอดีตปธน.โอบามา เสียชีวิต 99 ปี สั่งเสียให้ทำพิธีแบบอิสลาม
- Marriott เตรียมเปิดโรงแรมใหญ่ที่สุดในโลกในมักกะฮ์
- รองปธน.อินโดนีเซีย พูดถึงความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ 'พัฒนาเศรษฐกิจแบบอิสลาม'
- ตร.มาเลย์เตือน อย่าประท้วงคำตัดสินศาลประเด็น 'อัลลอฮ์'
- อินโดนีเซียเร่งเปิดสุสานใหม่ โควิด-19 ทำกุโบร์เต็ม!