งานขุดโบราณสถานในเมืองฮาร์รานดำเนินต่อเนื่องมานาน 8 ปี โดยบริเวณนี้เป็นหนึ่งในการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดของโลก
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: รู้หรือไม่? เมืองโบราณฮาร์ราน เคยเป็นที่ตั้งมัดรอซะฮ์แห่งแรกของตุรกี และมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก
ตุรกีขุดพบซากมัดรอซะฮ์ หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก ในเขตโบราณสถานฮาร์ราน (Harran) ในจังหวัด Sanliurfa ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ คาดว่าสร้างตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 12
งานขุดโบราณสถานในเมืองฮาร์รานดำเนินต่อเนื่องมานาน 8 ปี โดยบริเวณนี้เป็นหนึ่งในการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ซึ่งยูเนสโก้ได้ขึ้นทะเบียนไว้ใน Tentative List นาย เมฮ์เหม็ด โอนัล หัวหน้าแผนกโบราณคดี มหาวิทยาลัยฮาร์ราน ซึ่งเป็นผู้นำในการขุดค้น กล่าวย้ำว่า เมืองฮาร์ราน มักถูกกล่าวถึงในหนังสือประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
เขายังกล่าวว่า ความน่าฉงนสนเท่ห์ของการตั้งถิ่นฐาน ถูกเปิดเผยขึ้นจากการขุดในแต่ละวัน ปีนี้มีการค้นพบร่องรอยซากที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ ถนน ประตูที่เป็นอนุสรณ์สถาน และมัดรอซะฮ์ เขายังระบุว่า ในการศึกษาวิจัยสำหรับปีนี้ ได้พบโครงสร้างของมหาวิทยาลัยในที่ตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรก และค่อนข้างมั่นใจในหลักฐานทางโบราณคดีที่ระบุว่า มัดรอซะอยู่ในยุค Zengid ซึ่งก่อนหน้านี้ทราบกันว่า ฮาร์ราน มีมัดรอซะ 5 แห่ง และที่พบนี้เป็นเพียง 1 แห่งในจำนวนทั้งหมด
ซากที่ขุดพบเปิดเผยให้เห็นว่า มัดรอซะ มี 24 ห้อง และตอนนี้การขุดได้เผยให้เห็นประตูที่สร้างเป็นอนุสรณ์สถานของมัดรอซะ ซึ่งมีห้อง 5 ห้อง ได้พบว่าบางส่วนของเฉลียง และยังมีห้องครัวตั้งอยู่ถัดไปจากห้องเหล่านั้น ซึ่งมีเตาขนาดใหญ่ ที่ก่อด้วยอิฐและดินเหนียว ยังได้พบเศษกระดูกแกะ แพะ จำนวนมากในห้องที่ตั้งเตา ทำให้เห็นภาพว่า อาหารถูกเตรียมที่นี่ ก่อนที่ผู้คนจะรีบร้อนหนีออกไปโดยไม่ได้กินอาหาร หลังจากที่มั่นใจว่า พวกมองโกลได้ยึดเมืองไว้ได้แล้ว
ผู้ปกครองท้องถิ่นในฮาร์ราน กล่าวว่า ประวัติด้านการศึกษาในเมืองนี้สามารถสืบย้อนไปได้ถึงช่วง 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล (B.C.) โดยมีการจัดการศึกษาทั้งด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปรัชญา และเทววิทยา เท่ากับว่า เมืองฮาร์ราน เป็นผู้บุกเบิกด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาการด้านการศึกษา และเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก
ครั้งหนึ่งเมืองฮาร์ราน เคยเป็นเมืองหลวงของยุคอัสซีเรียน และอุมัยยัต ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง Sanliurfa ติดกับพรมแดนซีเรีย และยังเคยเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สำคัญสมัยเมโสโปเตเมีย โดยมีถนนที่วิ่งลงสู่ทางใต้ไปยัง เมืองนิเนเวฮ์ (Nineveh) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอิรัก และยังเป็นบริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ 6,000 ปี ก่อนคริสตกาล และยังเป็นเมืองที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิ้ลด้วย
ที่มา: www.dailysabah.com
https://news.muslimthaipost.com/news/35853
- เผยประวัติน่าสนใจ มัสยิดชาห์ เจฮาน ครบ 131 ปี
- พบอีกแล้ว! เหรียญทองยุคอิสลามขุดพบในเยรูซาเล็ม
- มัสยิดแดงในศรีลังกา มัสยิดที่มีหออะซานถึง 49 หอ (ชมภาพ)
- มัสยิดตุรกีอายุ 609 ปี ย้ายหนีน้ำท่วม
- อิสราเอลขุดพบซากเมืองโบราณ 5,000 ปี (ชมภาพ)
- อัชชาม เมืองโบราณก่อนยุคอิสลาม ชุมชนพ่อค้าและผู้แสวงบุญทางตอนใต้ของมักกะฮ์
- เมืองแห่งความกลมเกลียวในสหรัฐฯ ที่บริหารโดยชาวมุสลิม
- บรูไนผุดมัสยิดใหม่ 3 แห่งใน 3 หมู่บ้าน
- เมืองโคโลญจ์ ออกโครงการนำร่อง 2 ปี ให้มุสลิมกระจายเสียงอะซานได้