นักการศาสนาในอินโดนีเซีย กล่าวว่า ไม่ควรให้โรงแสดงละครหุ่นกระบอกแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซีย (วายัง – Wayang) เปิดดำเนินกิจการต่อไป
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: กลุ่มเคร่งศาสนาในอินโดนีเซียต่อต้าน ‘วายัง’
นักการศาสนาในอินโดนีเซีย กล่าวว่า ไม่ควรให้โรงแสดงละครหุ่นกระบอกแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซีย (วายัง – Wayang) เปิดดำเนินกิจการต่อไป
คอลิด บาซาลามะฮ์ กล่าวตอบว่า “วายังควรถูกทำลาย” เมื่อมีผู้ถามว่า “คำสอนของอิสลามกล่าวถึงประเพณีท้องถิ่นนี้ว่าอย่างไร”
วายัง ไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบของความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน และคำสอนเชิงปรัชญาที่มีการถ่ายทอดกันมา ทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่ ชอบดูการแสดงนี้ ซึ่งมักจะเปิดแสดงตั้งแต่เที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า
การแสดงแบ่งเป็น 2 แบบ คือ “วายังออรัง“ ที่ใช้นักแสดงที่มีชีวิต ซึ่งต้องเก่งภาษาชวาและการฟ้อนรำ กับ “วายังกุลิด“ ที่เป็นการเชิดหุ่นกระบอกของดาลัง ซึ่งเป็นปรมาจารย์หุ่นกระบอกที่นำดนตรีมาเล่นพร้อมการแสดงด้วย
โรงละครรูปแบบดั้งเดิมนี้มีต้นกำเนิดในอินเดีย และนำเข้ามาในอินโดนีเซียใน คริสต์ศตวรรษที่ 4 เนื่องจากศาสนาฮินดูที่แพร่กระจายไปยังหมู่เกาะต่าง ๆ ก่อนการเข้ามาของศาสนาอิสลาม
ปัจจุบัน คริสตจักรคาทอลิกในท้องถิ่นใช้ประโยชน์ของการแสดงวายังอย่างกว้างขวาง โดยทำเป็นละครรูปแบบใหม่ที่รวมเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล นำแสดงให้ประชาชนชม
คุณพ่อ อากุสตินัส แฮนดิ เซ็ตยันโต้ นักบวชในสังฆมณฑล Purwokerto และอธิการของวิทยาลัยในเมือง Tegal ในภาคกลางของชวา กล่าวแสดงความกังวลกับความเห็นที่ลดคุณค่าของศิลปะรูปแบบนี้ และว่า วายัง วะฮ์ยู มีความสำคัญ เพราะเขาสามารถเผยแพร่คำสอนคาทอลิก ผ่านการแสดงหุ่นกระบอกที่ได้รับความนิยม และสนุกสนานที่สุดในประเทศ
เขายังอ้างถึงสภาวาติกัน (ที่สอง) ที่กล่าวว่า ความรู้และวัฒนธรรมทุกรูปแบบควรได้รับการเคารพและอนุรักษ์ไว้ และคริสตจักรคาทอลิกควรประสานองค์กรกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเสริมสร้างซึ่งกันและกันได้
วายัง วะฮ์ยู (wayang wahyu) ริเริ่มขึ้นในปี 1960 โดยคุณพ่อทิโมติอุส วิกเนียสโซเอโบรโต แต่เพิ่งมาได้รับความนิยมอย่างมากหลังจากการพัฒนาโดยคุณพ่อวิโยโน่ ซึ่งเป็นนักบวชจากอัครสังฆมณฑลเสมารังในย็อกยาการ์ต้า
คุณพ่ออากุสตินัส เป็นนักเชิดหุ่นกระบอกรุ่นที่ 3 สิ่งที่ทำให้การแสดงของเขาพิเศษกว่า คือ สมาชิกเกือบทั้งหมดในกลุ่มของเขาเป็นมุสลิม ซึ่งเป็นผู้ดำรงศิลปะด้านนี้ในตำบลโครยา (Kroya) ซึ่งเป็นชนบทที่ห่างไกลแห่งหนึ่ง
ที่มา: www.asianews.it
https://news.muslimthaipost.com/news/36032
- มาเลเซียจ่ายเงินชดเชย 60% กรณีเลื่อนไปอุมเราะห์
- นักบินอัฟกันทยอยกลับประเทศ ตอลิบันแสดงความยินดี
- กลุ่มสุดโต่งอินโดฯ แจ้งความผิด ผบ.ทบ.ดูหมิ่นอิสลาม
- รัฐบาลอินโดนีเซียยังคงรักษามัสยิดไว้ หลังบุกเข้าทำลาย
- เหตุอาบน้ำเหมือนศพ ลงโทษสุดโหด โจ๋ขโมยตู้บริจาคเงินมัสยิด ล่าสุดตกลงกันได้แล้ว!!
- วัยรุ่นอินโดฯ คว้าอีโต้ไล่ฟันจนท.มัสยิด เหตุเปลี่ยนรหัส WiFi (มีคลิป)