ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของมาเลเซียได้ออกมาเตือนให้ระมัดระวัง Super Spreader การแพร่เชื้อโควิด-19 ซึ่งอาจจะสูงถึง 50,000 คนต่อวัน
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: เตือนระวัง! โควิด Super Spreader ช่วงเลือกตั้งรัฐยะโฮร์-รอมฎอน
เนื่องจากการเลือกตั้งที่รัฐยะโฮร์ ที่กำหนดไว้ในวันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 2565 กำลังใกล้เข้ามา รวมทั้งเดือนรอมฎอน และวันฮารีรายา ที่จะตามมาต่อเนื่องกันในอีก 2 เดือนข้างหน้า ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของมาเลเซียได้ออกมาเตือนให้ระมัดระวัง Super Spreader การแพร่เชื้อโควิด-19 ซึ่งอาจจะสูงถึง 50,000 คนต่อวัน
ศาสตราจารย์ Moy Foong Ming จากภาควิชาสังคมและเวชศาสตร์ป้องกัน มหาวิทยาลัยมาลายา ให้สัมภาษณ์ว่า เชื้อกลายพันธุ์โอมิครอนมีอัตราการติดสูง และง่ายดาย ซึ่งวัคซีนไม่ได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อทั้งหมด จำนวยผู้ป่วยใหม่อาจเพิ่มขึ้นจนทำลายสถิติได้
แต่จากการที่มาเลเซียมีอัตราการได้รับวัคซีนสูง ทำให้สามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่รุนแรง และการเสียชีวิตจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เชื้อเดลต้าระบาดได้ จึงควรพยายามฉีดวัคซีนให้ได้ถึงร้อยละ 80 ของประชากรผู้ไหญ่ และเพิ่มการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กอายุ 5 – 11 ปี ซึ่งจะทำให้มาเลเซียสามารถอยู่ร่วมกับไวรัสได้ โดยการติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้โอมิครอนจะมีอาการไม่รุนแรงสำหรับผู้ติดเชื้อ แต่ยังคงสร้างอันตรายอย่างน่ากังวลให้กับผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้สูงอายุ รวมทั้งเป็นความเสี่ยงสำหรับกลุ่มคนที่ไม่ได้รับวัคซีน และเพื่อเป็นการปกป้องคนกลุ่มนี้ ผู้คนควรลดการรวมกลุ่มกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และปฏิบัติตามขั้นตอน SOP อย่างเคร่งครัดเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
.........................
เพิ่มเติม: การระบาดแบบ Superspreader คือ การแพร่กระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าแหล่งกำเนิดเชื้อ หรือจำนวนผู้ป่วยจะมีเพียคนเดียว เช่น ผู้ป่วยโรโควิด-19 ข้าไปในพื้นที่ที่มีความแออัดและไม่มีมาตรการป้องกัน ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่บริวณนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
การป้องกันการเกิดการระบาดแบบ Superspreader
– หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด
– สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ
– เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
– ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ
คำแนะนำสำหรับบุคคลที่เข้ไปในพื้นที่เสี่ยงเกิด Superspreader
1. เมื่อทราบว่าตนเองเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัวทันทีเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน นับจากวันที่เข้าไปในพื้นที่เสี่ยง
2. หากมีอาการ เช่น มีใช้สูง ปวดเมื่อย เหนื่อย เพลีย ไอ คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หรืออาการที่พบได้น้อย เช่น ถ่ายเหลว ท้องเสีย เจ็บคอ ในช่วงเวลาเฝ้าระวังหลังกลับจากพื้นที่เสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
ที่มา: www.straitstimes.com , อ.พญ.ปัทมา ตวรพานิช