ฮือฮา! พรมเก่าหายากสมัยราชวงศ์โมกุล บริษัทดังอังกฤษขนประมูลขาย
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ประมูลขาย พรมเก่าหายากสมัยราชวงศ์โมกุล ฝีมืออิสลาม
Christie's แห่งสหราชอาณาจักรจะประมูลพรม Mughal pashmina ที่หายากในยุค Shah Jahan งานฝีมืออิสลาม
แม้มหาเศรษฐีชาวอินเดียผู้รักชาติจะไม่สามารถนำเพชร Koh-i-Noor อันเป็นที่รัก ซึ่งวางเป็นจุดเด่นบนมงกุฎของราชวงศ์อังกฤษมาตั้งแต่ปี 1849 และเป็นเพชรเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลกชิ้นหนึ่ง ที่มีประวัตศาสตร์ของการพิชิตอาณานิคมอันนองเลือด กลับคืนมายังอินเดียได้ แต่ครั้งนี้จะเป็นโอกาสทองที่พวกเขาสามารถจะเป็นเจ้าของพรมฟัชมีน่า ของจักรพรรดิชาห์-เจฮาน แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งเป็นของหายากและเก่าแก่ตั้งแต่จากสมัยประมาณปี ค.ศ.1650
พรมผืนดังกล่าวถูกทอขึ้นเพื่อใช้ในพระราชวังของจักรพรรดิชาห์ เจฮาน ที่ปกครองอินเดียระหว่างปี 1628 – 98 ครั้งล่าสุดพรมนี้ถูกจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิแทน ในกรุงนิวยอร์ก ในการจัดนิทรรศการ Flowers Underfoot: Indian Carpets of the Mughal Era in 1997-98 โดยบริษัทประมูลคริสตี้ จะนำมาประมูลที่กรุงลอนดอน ในวันที่ 27 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ โดยคาดว่า จะมีผู้ประมูลถึงราคา 3.7 ล้านดอลล่าร์ขึ้นไป
Louise Broadhurst หัวหน้าแผนกพรมตะวันออกของคริสตี้ เล่าถึงรายละเอียดของพรมชิ้นนี้ ว่า มีรูปร่างเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส คือ 9 x 8.11 นิ้ว โดยดั้งเดิมพรมผืนนี้มีขนาดประมาณ 4.4 เมตร มีบันทึกที่แสดงให้เห็นว่า พรม 3 ชิ้น จากผืนเดียวกันนี้ ตกอยู่ในการครอบครองของภาครัฐและเอกชน จากการเกิดความเสียหายขึ้นในครั้งก่อน
พรมผืนนี้มีความซับซ้อนในการทอโดยนักทอชาวอินเดีย ที่ใช้วิธีทางธรรมชาติและการผลิตระดับสูงสุดที่พบในราชสำนักโมกุลในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 และเกิดขึ้นก่อนงานชิ้นเอกของจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ ชาวฝรั่งเศส ในต้นศตวรรษที่ 19 อิทธิพลของเปอร์เชียถูกแทนที่ด้วยรูปแบบดอกไม้ในศิลปะอินเดีย ที่สามารถสืบย้อนไปถึงการเสด็จเยือนแคชเมียร์ ของชาห์ เจฮาน ในปี ค.ศ.1620
ในวัฒนธรรมการทอพรม ไหม จะเป็นเส้นใยที่มีค่าที่สุดที่มีอยู่ แต่ในวัฒนธรรมโมกุล ที่มีค่ากว่าคือ “พัชมีน่า” ซึ่งมาจากคำว่า ‘Pashm’ ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งหมายถึงขนสัตว์ทุกประเภท “พัชมีนา” คือขนชั้นในของแพะภูเขาหิมาลัยชนิดหนึ่ง และแหล่งที่มาคือทิเบต ที่ต่อไปยังแคชเมียร์
บรอดเฮิร์สต์ กล่าวเสริมว่า “พรมที่ทอด้วยพัชมีนา เป็นพรมทอที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยพรมดีจะมีจำนวนปมสูงสุดเกิน 2,000 ปมต่อนิ้ว ซึ่งเกินกว่าที่ตาจะแยกแยะได้ พรมชิ้นนี้มีค่าเฉลี่ย 672 ปมต่อนิ้ว”
ของชิ้นสำคัญที่จะนำมาแสดงยังมี กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาอิซนิก จากนักสะสม Victor Adda เครื่องปั้นดินเผานี้พบในเมืองท่าเรือของอียิปต์ จากต้นศตวรรษที่ 20
ยังมีภาพเขียนชิ้นเก่าต้นฉบับดั้งเดิมของจิตรกรชาวยุโรป จากปี 1632 เช่น เซอร์แอนโทนี แวน ไดค์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นช่างเขียนหลักของราชสำนัก กษัตริย์ชาร์ล ที่ 1 แห่งบริเทน ที่จะนำมาประมูลด้วย
ที่มา: www.khaleejtimes.com
https://news.muslimthaipost.com/news/36644
- ซาอุฯ จ่อเผยโฉมแนวปะการังที่มนุษย์สร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- ชมภาพประเทศอาหรับซีเรีย ถ่ายโดยกลุ่มสิทธิมนุษยชนซีเรีย
- 'บาห์เรน' ยันอิสราเอลเข้าประจำการในประเทศอาหรับ ที่นี่ครั้งแรก!
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะใหญ่ที่สุดในอินเดีย เตรียมจัดตั้งหอศิลปะอิสลาม
- มัสยิดโคลน อายุ 1,300 ปี ถูกขุดพบในอิรัก
- ตำนาน มุสลิมไทย กับ ประตูกะบะห์