นับเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 1979 หลังจากเผชิญสงคราม การรุกราน และความไม่มั่นคงมาหลายสิบปี อิรักได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วย Gulf Cup โดยเป็นการแข่งขันระหว่าง 8 ประเทศ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: อิรักเป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงถ้วย Gulf Cup ครั้งแรกตั้งแต่ปี 1979
นับเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 1979 หลังจากเผชิญสงคราม การรุกราน และความไม่มั่นคงมาหลายสิบปี อิรักได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วย Gulf Cup โดยเป็นการแข่งขันระหว่าง 8 ประเทศ ความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นนอกสนามแข่งฟุตบอล จะเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่กว่าความสำเร็จในสนาม สำหรับเจ้าหน้าที่และรัฐบาลอิรัก
ทีมชาติของประเทศทั้งหมดในเอเชียตะวันตก จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม จะมารวมกันที่เมืองท่าบาสรา (Basra) ทางตอนใต้ของประเทศ
หากการแข่งขันครั้งที่ 25 นี้ ดำเนินไปอย่างราบรื่น อาจกระตุ้นให้ฟีฟ่าอนุญาตให้ทีมที่เข้ารอบฟุตบอลโลก เดินทางมายังกรุงแบกแดด ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันระดับนานาชาติมาตั้งแต่ก่อนการรุกรานของสหรัฐอเมริกา ในปี 2003 เพราะเหตุกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความปลอดภัย
ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา มีการแข่งขันรอบคัดเลือกเพียง 2 ครั้งในประเทศ คือ อิรัก-จอร์แดน ในเมืองเออร์บิล ปี 2011 และอิรัก-ฮ่องกง ในเมืองบาสรา ปี 2019 ส่วนการแข่งขันของทีมชาติในเกมอื่น ๆ มีขึ้นในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ จอร์แดน กาตาร์ และเอมิเรตส์
กรุงแบกแดด เคยถูกจัดให้เป็นสถานที่แข่งขันฟุตบอลรอบคัดเลือก ระหว่างอิรัก - เอมิเรตส์ ในวันที่ 24 มีนาคม 2022 แต่หลังจากมีจรวดถูกยิงมาตกที่เมืองเออร์บิล ตลอด 11 วัน ก่อนถึงกำหนดแข่งขัน ทำให้ต้องเปลี่ยนสถานที่ไปแข่งที่ซาอุดีอาระเบียแทน
การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วย Gulf Cup ที่ประสบความสำเร็จ อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย
อาซาด อัล อิดานี ผู้วาการรัฐบาสรา กล่าวว่า “มันเป็นการก้าวไปข้างหน้าเพื่อรักษาสถานะปกติของอิรัก ในด้านกีฬา วัฒนธรรมและสังคม เป็นการส่งข้อความถึงคนทั้งโลกว่า เรามีความสามารถ”
โมฮัมเหม็ด ชีอะ อัล ซูดานี นายกรัฐมนตรอิรัก เน้นย้ำถึงความสำคัญของงานนี้ เมื่อเดินทางไปดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกในบัสรา เมื่อเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา และเขาได้เรียกร้องให้ผู้จัดงานนำเสนออิรักในแง่ที่ดีที่สุด
ฮัยเดอร์ อูฟี เจ้าหน้าที่สมาคมฟุตบอลอิรัก ต้องการให้อิรักดึงแรงบันดาลใจจากการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของกาตาร์ มาเป็นแรงผลักดันในงานนี้ “กีฬากลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในโลก ในการถ่ายทอดวัฒนธรรม และอารยธรรม ผ่านการจัดทัวร์นาเม้นท์ และการแข่งขัน”
ในการแบ่งสาย อิรักอยู่ในกรุ๊ป A ร่วมกับ ซาอุดีอาระเบีย โอมาน และเยเมน ส่วนกรุ๊ป B มี บาห์เรน (อดีตแชมป์) คูเวต กาตาร์และเอมิเรตส์ การแข่งขันครั้งนี้ใช้สนามแข่ง 2 แห่ง คือ สนามกีฬานานาชาติบาสรา และสนาม Al-Minaa Olympic Stadium ซึ่งมีการจัดที่นั่งใหม่ 30,000 ที่นั่ง รอบชิงชนะเลิศจะมีขึ้นในวันที่ 19 มกราคม 2566
การแข่งขัน Arabian Gulf Cup จัดขึ้นทุก 2 ปี ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอล Arabian Gulf Cup แข่งขันกันในกลุ่มสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ อิรัก ซาอุดิอาระเบีย โอมาน กาต้าร์ คูเวต เอมิเรตส์ เยเมน บาห์เรน
ที่มา: www.english.alarabiya.net