ชาวบ้านในกรุงไคโรรวมตัวกันเพื่อเข้าเยี่ยมชมมัสยิด Al-Zahir Baybars Mosque ที่จะเปิดอีกครั้งหลังปิดปรับปรุงมานานหลายสิบปี มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 13 ยุคมัมลุค ราวปี 1268
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: อียิปต์เปิดมัสยิดแห่งประวัติศาตร์ หลังปิดมาหลายสิบปี (ชมภาพที่นี่ที่แรก)
ชาวบ้านในกรุงไคโรรวมตัวกันเพื่อเข้าเยี่ยมชมมัสยิด อัล-ซาฮีร์ บัยบาร์ส (Al-Zahir Baybars Mosque) ที่จะเปิดอีกครั้งหลังปิดปรับปรุงมานานหลายสิบปี มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 13 ยุคมัมลุค ราวปี 1268 เป็นหนึ่งในมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1.2 เฮกเตอร์ (ประมาณ 7.5 ไร่)
Al-Zahir Baybars Mosque
มีการจัดละหมาดในพิธีเปิด ที่มีผู้มีเกียรติมาร่วมงานเป็นอันมาก อาทิ ประธานสภาสูงแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน ประธานสภาสูงแห่งอียิปต์ และอิหม่ามแห่งอัล-อัซฮัร มัสยิดแห่งนี้เริ่มการบูรณะในปี 2007 โดยมีรัฐบาลคาซัคสถานและรัฐบาลอียิปต์ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย
มัสยิดแห่งนี้ตั้งชื่อตาม อัล-ซาฮีร์ บัยบาร์ส ซึ่งเกิดในแผ่นดินที่ปัจจุบันคือ ประเทศคาซัคสถาน และเป็นผู้ปกครองอียิปต์และซีเรีย เป็นบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงจากการสู้รบเพื่อต่อต้านมองโกล และครูเสด ในฐานะสุลต่านแห่งอียิปต์ เขายังเป็นที่รู้จักในด้านการปฏิรูปการปกครอง และช่วยสกัดกั้นมิให้พวกครูเสดเข้ามายังภูมิภาค ในรัชสมัยของอัล-ซาฮีร์ มีการดำเนินการสร้างป้อมปราการหลายแห่งในซีเรีย ดูแลการสร้างเรือรบ เรือบรรทุกสินค้า รวมทั้งสร้างท่าเรือ คู คลอง และมัสยิด ทั้งยังมีการริเริ่มบริการไปรษณีย์ด้วย
Al-Zahir Baybars Mosque
อัล-ซาฮีร์ มีบทบาทสำคัญในการปรับภูมิทัศน์ทางการเมือง และการทหารในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน การปกครองของเขานำไปสู่ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งต่อกองทัพของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ในช่วงสงครามครูเสด ครั้งที่ 7 นอกจากนี้ เขายังมีบทบาทสำคัญในสมรภูมิ อีน ญาลูต (Ain Jalut) ในปี 1260 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ ที่บ่งบอกถึงการล่มสลายของจักรวรรดิมองโกล แม้ว่าเขาจะกลายเป็นผู้นำที่โดดเด่น แต่เขามาจากครอบครัวที่ต่ำต้อย และเป็นทาสในช่วงปีแรก ๆ
ก่อนที่จะมีการบูรณะ มัสยิดได้ทรุดโทรมลงอย่างมาก โดยช่วงปลายศตวรรษที่ 18 มัสยิดถูกใช้เป็นกองบัญชาการทหารของกองทัพนโปเลียน หลังจากนั้นในสมัยออตโตมาน ช่วงศตวรรษที่ 19 มัสยิดถูกใช้เป็นโรงงานผลิตสบู่ และราวปี 1882 เมื่ออังกฤษรุกรานอียิปต์ มัสยิดถูกใช้เป็นโรงฆ่าสัตว์
Al-Zahir Baybars Mosque
ทุกวันนี้ มัสยิดยังคงมีส่วนของโครงสร้างมัมลูคเดิม รวมถึงเสารซึ่งเสริมความแข็งแกร่งระหว่างกระบวนการบูรณะ อิฐและแผ่นหินอ่อนดั้งเดิมจำนวนมาก ยังคงถูกเก็บรักษาไว้เพื่อรักษาเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ การบูรณะทำให้รากฐานแข็งแรงขึ้น เสาหินอ่อนและลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นได้รับการบูรณะเช่นกัน ทางเข้าอันโดดเด่นของมัสยิด ถือเป็นตัวอย่างแรกสุดของก่ออิฐแบบ ablaq masonry ในกรุงไคโร
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างหลายอย่างจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งหลังคาและหออะซานของมัสยิด ทาเรค โมฮาเหม็ด เอล-บิฮัยรี ผู้ดูแลการบูรณะ กล่าว่า มัสยิดต้องผ่านกระบวนการหลายอย่างเพื่อให้กลับสู่สภาพเดิม
“บางส่วนถูกทำลาย บางส่วนถูกรื้อถอน เพราะโครงสร้างไม่เหมาะสมที่จะอยู่ในมัสยิด”
หมายเหตุ: ภาพทั้งหมดจากสำนักข่าว Reuters
Al-Zahir Baybars Mosque
Al-Zahir Baybars Mosque
Al-Zahir Baybars Mosque
Al-Zahir Baybars Mosque
Al-Zahir Baybars Mosque
ที่มา: www.middleeasteye.net
https://news.muslimthaipost.com/news/37389
- มัสยิดอายุหลายร้อยปีในซาอุฯ บูรณะขั้นสุดท้ายใกล้สำเร็จแล้ว!
- มัสยิดใหม่ในอโยธยา อาจมีทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกะอฺบะอฺ
- มัสยิดตุรกีหลายร้อยปี สร้างโดยไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว
- มัสยิดสร้างด้วยโครน เก่าแก่แห่งภาคฮาอีล 105 ปี
- พบมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ซากมัสยิด สุสาน จมใต้น้ำเขื่อนบางลางกว่า 36 ปี
- มัสยิดสร้างด้วยโครน เก่าแก่แห่งภาคฮาอีล 105 ปี