ในขณะที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประชุมกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการที่จะดำเนินการ หลังจากเกิดเหตุการณ์เผาอัลกุรอานซ้ำซาก ตุรเคียและปากีสถานเรียกร้องให้ทั่วโลกดำเนินการที่จำเป็น
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ตุรเคีย-ปากีสถาน จับมือให้ทั่วโลกสู้ "ต่อต้านมุสลิม"
ในขณะที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประชุมกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการที่จะดำเนินการ หลังจากเกิดเหตุการณ์เผาอัลกุรอานซ้ำซาก ตุรเคียและปากีสถานเรียกร้องให้ทั่วโลกดำเนินการที่จำเป็น เพื่อป้องกันการโจมตี ต่อต้านชาวมุสลิม รวมทั้งการดูหมิ่นอัลกุรอาน
ยาสซิน เอกเรม เซริม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศตุรเคีย กล่าวในการประชุมวาระเร่งด่วน เรื่องการกระทำที่แสดงความเกลียดชังทางศาสนา ที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จัดขึ้น ผ่านทางวิดีโอ ว่า “เราขอประณามอย่างรุนแรงต่อการเผาทำลายอัลกุรอานในที่สาธารณะ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเป็นการแสดงอย่างชัดเจนถึงการแพร่หลายของความเกลียดชังทางศาสนา”
เขาเน้นย้ำว่า การแสดงความไม่เคารพในคัมภีร์ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม ขัดแย้งกับหลักการของขันติธรรม ความสงบสุขทางสังคม และการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
“เสรีภาพในการแสดงออกเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม แต่ไม่สามารถใช้ในทางที่ผิดเพื่อเผยแพร่ความเกลียดชัง ไม่อนุญาตให้มีการกระทำเหล่านี้บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออก เราขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน ดำเนินการที่จำเป็นต่อผู้ที่กระทำผิดเหล่านี้ และป้องกันการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำซากอีก”
เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นของตุรเคียในการต่อสู้กับความเกลียดชัง และการเลือกปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ตุรเคีย ระบุว่า ตุรเคียเต็มใจที่จะร่วมมือกับทุกประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อแก้ไขปัญหานี้
ในส่วนของปากีสถาน ซึ่งยังคงเรียกร้องให้ทั่วโลกยืนหยัดต่อสู้กับกระแสที่เพิ่มขึ้นของความเกลียดกลัวอิสลาม และความเกลียดชังทางศาสนา รวมถึงการเผาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามในประเทศต่าง ๆ
บิลาวัล บุตโต ซาร์ดารี นักการทูตระดับสูงของปากีสถาน กล่าวถึงการประชุมวาระเร่งด่วนที่ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน จัดขึ้น โดยเรียกร้องให้ประชาคมโลก ยืนหยัดต่อสู้กับความเกลียดชัง การเลือกปฏิบัติ การไม่ยอมรับ และส่งเสริมความเคารพ ความเข้าใจ และความอดทนซึ่งกันและกัน
เขายังกล่าวว่า การจงใจทำลายคัมภีร์อัลกุรอาน ยังคงดำเนินต่อไป ภายใต้การคว่ำบาตรของรัฐบาลปากีสถาน และด้วยความรู้สึกว่าทำไปแล้วก็ไม่ต้องรับโทษ ตามที่รัฐบาลสวีเดนอ้างว่าไม่เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย
“เราต้องมองว่า นี่เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชัง การเลือกปฏิบัติ และความพยายามยั่วยุให้เกิดความรุนแรง เราต้องร่วมมือกันประณาม และทำให้พวกเขาถูกโดดเดี่ยว”
อัล-กุรอาน เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณของมุสลิมทั่วโลกกว่า 2 พันล้านคน สิ่งสำคัญ คือ ต้องเข้าใจความเจ็บปวดอย่างลึกซึ้งของมุสลิม ที่เกิดการกระทำอันเสื่อมเสียต่ออัลกุรอาน โดยไตร่ตรองไว้ล่วงหน้า
ซาร์ดารี กล่าวถึงเหตุการณ์ในสวีเดน ว่า เป็นการโจมตีความเชื่อของชาวมุสลิม และว่า ต้องทำความเข้าใจว่า ความเกลียดชังและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ต้องถูกแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด
ที่มา: www.dailysabah.com