ประเทศสมาชิก EU และรัฐมุสลิม พบกันในสเปนโดยมีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: สุดยอด! EU และรัฐมุสลิมรวมพลังในสเปน หวังตั้งรัฐปาเลสไตน์
ประเทศสมาชิก EU และรัฐมุสลิม พบกันในสเปนโดยมีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์
แมดริด / สเปน – ประเทศสเปนเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับสูง เกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในฉนวนกาซา เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้แทนจากประเทศมุสลิม และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหลายประเทศ เรียกร้องให้มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับประชาคมระหว่างประเทศ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาแบบ 2 รัฐ กับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์
นายโฮเซ มานูเอล อัลบาเรส รัฐมนตรีต่างประเทศสเปน กล่าวกับผู้สื่อข่าว ว่า “เราพบกันเพื่อผลักดันให้ยุติสงครามในฉนวนกาซาอีกครั้ง เพื่อหาทางออกจากความรุนแรงที่ไม่มีวันสิ้นสุด ระหว่างชาวปาเลสไตน์และอิสราเอล ในด้านวิธีการนั้นชัดเจน คือการดำเนินการตามแนวทางแก้ปัญหาด้วยการตั้ง 2 รัฐ ซึ่งเป็นหนทางเดียวเท่านั้น”
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้นำจากนอร์เวย์ และสโลวีเนีย หัวหน้านโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป นายโจเซฟ บอร์เรลล์ นายกรัฐมนตรีปาเลสไตน์ โมฮัมมัด มุสตาฟา และสมาชิกของกลุ่มเชื่อมโยงอาหรับ-อิสลาม ประจำฉนวนกาซา ซึ่งรวมถึงอียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ จอร์แดน อินโดนีเซีย ไนจีเรีย และตุรเคีย
อัลบาเรส กล่าวว่า “มีความตั้งใจที่ชัดเจน” ในหมู่ผู้เข้าร่วม ซึ่งไม่รวมอิสราเอล “เพื่อเดินหน้าจากคำพูดสู่การกระทำ และเพื่อก้าวไปสู่กำหนดเวลาที่ชัดเจน สำหรับการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล โดยเริ่มจากการที่รัฐปาเลสไตน์เข้าร่วมกับสหประชาชาติ”
อัลบาเรส ยังกล่าวว่า “อิสราเอลไม่ได้รับเชิญ เนื่องจากไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้เชื่อมโยงติดต่อ และว่า “เราจะยินดีที่ได้เห็นอิสราเอลอยู่ที่โต๊ะใดก็ได้ ที่มีการหารือเกี่ยวกับสันติภาพ และการแก้ปัญหาแบบ 2 รัฐ”
วันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สเปน นอร์เวย์ และไอร์แลนด์ รับรองอย่างเป็นทางการ ว่ารัฐปาเลสไตน์เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งปกครองโดยหน่วยงานปาเลสไตน์ (PA) ซึ่งประกอบด้วยฉนวนกาซา และเวสต์แบงก์ โดยมีกรุงเยรูซาเลมตะวันออกเป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน 146 รัฐ จาก 193 รัฐสมาชิกของสหประชาชาติ ยอมรับสถานะของรัฐปาเลสไตน์แล้ว
นายกรัฐมนตรี เปโดร ซานเชซ ของสเปน กล่าวถึงการอยู่ร่วมกันของรัฐอธิปไตย 2 รัฐ บนดินแดนปาเลสไตน์ในอดีต ที่ได้รับคำสั่งว่า เป็นหนทางเดียวที่เป็นไปได้สู่สันติภาพในภูมิภาค การแก้ปัญหา 2 รัฐดังกล่าว มีกำหนดไว้ในการประชุมที่กรุงมาดริด ในปี 1991 และในสนธิสัญญาออสโล ปี 1993 – 95 แต่กระบวนการสันติภาพกลับประสบกับปัญหามาหลายปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม การค้นหาวิธีแก้ปัญหาอย่างสันติครั้งใหม่ จำต้องทำให้เร่งด่วนจากสงครามที่ดำเนินมายาว 11 เดือนในกาซา ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่สุดในความขัดแย้งโดยรวม เช่นเดียวกับความรุนแรงที่ทวีความรุนแรงขึ้นในเขตยึดครองเวสต์แบงก์
เขตเวสต์แบงก์ รวมทั้งเยรูซาเลมตะวันออกก ถูกอิสราเอลยึดครองในสงครามตะวันออกกลาง ปี 1967 และถูกยึดครองนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยการขยายถิ่นฐานของชาวยิวทำให้ปัญหานี้ซับซ้อนขึ้น อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกในปี 1980 โดยความเคลื่อนไหวที่ไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อิสราเอลยังกล่าวอีกว่า การับประกันความปลอดภัยของประเทศตนมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เอสเพน บาร์ธ ไอเด รัฐมนตรีต่างประเทศนอร์เวย์กล่าวกับสื่อว่า การประชุมยังจำเป็นต้องหารือเกี่ยวกับการถอนกำลังของกลุ่มฮามาน ซึ่งควบคุมฉนวนกาซาก่อนเกิดสงคราม และการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับรัฐอื่น ๆ โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย ให้เป็นปกติ
ที่มา: www.reuters.com
https://news.muslimthaipost.com/news/38520
- อิสราเอลถล่มเพจเจอร์ ที่ฮิซบอลเลาะฮ์ใช้ ตาย 9 บาดเจ็บหนัก
- อึ้ง! มาเลเซียบุกช่วยเด็ก 400 คนหลังมีการกล่าวหาที่ไม่คาดคิด
- ทำไมโมร็อกโกถึงต้องสกัดผู้อพยพนับร้อยข้ามไปยุโรป?
- ฮูซีย์อ้างเป็นผู้ยิงขีปนาวุธ โจมตีอิสราเอลอย่างดุดัน
- กองทัพอิสราเอลมีหลักฐานใด ชี้ตัวประกัน 3 รายเสียชีวิตโจมตีทางอากาศ?
- ใบปลิวเตือนภัย! อิสราเอลสั่งชาวเลบานอนอพยพก่อนโจมตี
- มาเลเซียรุกเซี่ยงไฮ้ หวังสร้างลงทุนด้านฮาลาล
- ผู้แทนปาเลสไตน์คว้าสิทธิ์ เป็นสมาชิกเต็มตัวในสมัชชาใหญ่ UN
- สหภาพแรงงานอังกฤษ ลงมติยุติค้าอาวุธกับอิสราเอลอย่างเด็ดขาด
- ซาอุฯ ประณามอิสราเอล มุ่งโจมตีโรงเรียน UN ในกาซา
- อังกฤษยุติ “ฟรีวีซ่า” กับจอร์แดน สหรัฐฯหวั่นปัญหาการอพยพ
- ส.ส.ฟลอริดาเจอแรงต้าน หลังแสดงยินดีต่อนักเคลื่อนไหวเสียชีวิต