
กว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ม้านั่งในโบสถ์ยิวแห่งเมืองกัลกัตตา เต็มไปด้วยสมาชิกชาวอินเดียยิวที่เจริญก้าวหน้า แต่ในวันนี้ ที่นั่งเหล่านั้นว่างเปล่า มีเพียงผู้ดูแลจากครอบครัวมุสลิมที่มาทำความสะอาด และดูแล อำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียน
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: โบสถ์ยิวในกัลกัตตา ครอบครัวมุสลิมช่วยดูแล เหตุใดนับวันไร้คนสืบทอด (ชมคลิป)
กว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ม้านั่งในโบสถ์ยิวแห่งเมืองกัลกัตตา เต็มไปด้วยสมาชิกชาวอินเดียยิวที่เจริญก้าวหน้า แต่ในวันนี้ ที่นั่งเหล่านั้นว่างเปล่า มีเพียงผู้ดูแลจากครอบครัวมุสลิมที่มาทำความสะอาด และดูแล อำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียน
ราบูล ข่าน เล่าว่า ก่อนหน้านี้บิดาของเขาเป็นผู้ดูแลโบสถ์ยิว Magen David Synagogue แห่งนี้มานาน 50 - 60 ปี ตัวเขาเองเริ่มทำงานที่นี่ในปี 2008
อีลิชา ดวีน่า (Elicha Tvena) เลขานุการของโรงเรียน Elias Meyer School กล่าวว่า ปู่ของเขาชอบที่จะให้มีมุสลิมมาดูแลที่นี่ “เพราะเรานับถือพระเจ้าองค์เดียวเหมือนกัน” และชาวยิวก็รู้ว่า “เราไม่กินแฮมหรือเนื้อหมูเหมือนกันด้วย” ดังนั้น จึงแน่ใจได้ว่า จะไม่มีการนำเนื้อหมูเข้ามาในศาสนสถานแห่งนี้
“เราเป็นยิวจากตะวันออกกลาง เราเรียกตัวเองว่า ‘อาหรับยิว’ ครอบครัวของบรรพบุรุษอาศัยอยู่ในอาณาจักรอ๊อตโตมาน และประเทศตุรกี มานานหลายพันปี ก่อนหน้านั้นก็อยู่ในตะวันออกกลาง ดังนั้น พวกเราจึงคุ้นเคยกับอิสลามเป็นอย่างดี”
จากรุ่นสู่รุ่น ครอบครัวมุสลิมดูแลศาสนสถานแห่งนี้ พวกเขามีความสัมพันธ์อันดีเลิศต่อกัน เพราะเคยเล่นกันมาตั้งแต่เป็นเด็ก เคยไปดูหนังด้วยกัน และทำหลายๆ อย่างที่เด็กผู้ชายส่วนมากชอบทำ พวกเขาเป็นเด็กที่เข้ากันได้ดี มีทั้งความรักและความเอื้ออาทรระหว่างกัน
ผู้คนต่างพากันสะดุ้งตกใจเมื่อได้ยินว่า สมาชิกครอบครัวมุสลิมในชุมชนเป็นผู้ดูแลโบสถ์ยิวแห่งนี้ แต่พวกเขาก็รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำงานที่นี่
ราบูล เกิดและเติบโตในกัลกัตตา เมืองนี้สอนให้เขารัก และเขาจำได้ถึงโบสถ์ยิวแห่งนี้ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลาเนิ่นนาน สีเดิม เฟอร์นิเจอร์ชิ้นเดิม มีแต่ผู้คนที่ค่อยๆ หายไป ชุมชนชาวยิวค่อย ๆ หายไป
ในสมัยก่อน เมื่อถึงเวลาสวดมนต์ ชั้นล่างจะเต็มจนล้นไปด้วยผู้ชาย ที่สวดมนต์ของผู้หญิงจะอยู่ชั้นบน พวกเขาและเรา มีความสุขที่เห็นศาสนสถานเต็มไปด้วยผู้คน แต่นับวันผ่านไป ไม่ต้องพูดถึงจำนวนคนที่ลดน้อยลง ซึ่งทำให้ท้อแท้และเศร้าโศก การอพยพออกไปของชาวยิวมาจากเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นทั่วโลก และเหตุการณ์ในระดับประเทศส่วนหนึ่ง เหตุการณ์จลาจลแบ่งแยกที่เกิดขึ้นระหว่างชาวฮินดูกับมุสลิม และกัลกัตตาก็เป็นจุดเกิดเหตุที่ล่อแหลม
ระหว่างช่วงปี 1960 ชุมชนยิวที่มีอยู่ราว 4,000 คน ลดลงเหลือเพียง 600 - 700 คน “คนรุ่นคุณย่า-คุณยาย รู้สึกว่า ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบชาวยิวอยู่ในกัลกัตตาได้อีกต่อไป จนกระทั่งคนกลุ่มสุดท้ายกำลังเริ่มจะย้ายออกไป ตอนนี้เป็นชุมชนขนาดเล็กมาก ที่เหลือแทบจะไม่ถึง 20 – 21 คน และส่วนมากอยู่ในวัยเกิน 70 ปี เราไม่มีคนรุ่นหนุ่ม-สาว ที่จะมาสานต่อชุมชนยิวที่นี่”
แต่ตราบเท่าที่มุสลิมยังอยู่ พวกเขาจะดูแลโบสถ์ยิวให้เรา เพราะพวกเขาคิดเสมอว่า เขามีหน้าที่ดูแลเสมือนเป็นศาสนสถานของพวกเขาเอง
“ฉันไม่ใช่พระเจ้า ที่จะสามารถหยั่งรู้ถึงอนาคต ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอีก 10 – 15 ปีข้างหน้า แต่ฉันหวังอย่างเต็มเปี่ยม ว่า ด้วยพระประสงค์และความเมตตาของพระองค์อัลเลาะฮ์ ชุมชนนี้จะยังคงอยู่รอด สถานที่แห่งนี้ไม่ได้เป็นของฉัน หรือของเขา แต่เป็นของเรา” - news.muslimthaipost.com
- ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เสนอมอบสัญชาติให้แก่มุสลิมโรฮิงยา
- ชาวมาเลเซีย ไปอุมเราะห์ด้วยมอไซต์ธรรมดา ไกลถึง 14,000 กิโล (ชมคลิป)
- ซาอุฯประณามชาติตะวันตก ยุผู้หญิงซาอุฯ หนีออกนอกประเทศ
- แฉ! ทำไมทั่วโลกเข้ารับอิสลาม มากขึ้นอย่างน่าตกใจ
- คนงานมุสลิมอินเดียหลายร้อยจัด ละหมาดวันศุกร์ ไม่หวั่นทางการห้าม
- ส.ส.อินเดียอ้าง หนุมาน เป็นมุสลิม คิดได้ไง?
- ศาสนาอิสลามเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยใด?