ประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ว่าด้วยเรื่อง การละหมาดวันศุกร์ การละหมาดญะมาอะห์ และการจัดกิจกรรมและการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม
จุฬาราชมนตรี งดละหมาดวันศุกร์ ป้องกันโคโรนา 2019
ประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ว่าด้วยเรื่อง การละหมาดวันศุกร์ การละหมาดญะมาอะห์ และการจัดกิจกรรมและการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม สําหรับในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และในพื้นที่ที่รัฐบาลประกาศห้ามรวมตัว (ฉบับที่ 1/2563)
ตามที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMID-19) ได้ลุกลามไป ในกว่า ๑๕๐ ประเทศทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจํานวนมาก และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ได้ประกาศดําเนินมาตรการอย่างเข้มข้นเพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อและลดการสูญเสีย ให้น้อยที่สุด โดยให้งดการจัดกิจกรรมรวมคนจํานวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค นั้น
ในการนี้ สํานักจุฬาราชมนตรีได้พิจารณาตามเจตนารมณ์สําคัญของบทบัญญัติศาสนา อิสลามเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว จึงขอประกาศให้พี่น้องมุสลิมได้พึงตระหนักและปฏิบัติตาม เพื่อลดการสูญเสียและหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้
1. สําหรับในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และในพื้นที่ที่รัฐบาลประกาศ ห้ามรวมตัวให้งดการละหมาดวันศุกร์และการละหมาดญะมาอะห์ที่มัสยิด โดยให้ละหมาดบ่าย (ดุฮ์ริ) 4 รอกาอัต ที่บ้านแทน
2. ให้บิหลั่นทําหน้าที่อะซานประจำเวลาที่มัสยิดทุกเวลาตามปกติ และให้กล่าวคําว่า “อัซซ่อลาตุ บุยูตี้กุม (จงละหมาดที่บ้านของท่าน)” หลังจบการอะซาน พร้อมแจ้งสัปปุรุษว่า “ให้ทุกคนละหมาดที่บ้าน” และ ให้ผู้บริหารมัสยิดจัดการละหมาดเฉพาะกลุ่มที่มีจํานวนไม่เกิน 5 คน โดยมีการเว้นระยะห่างในแถว อย่างน้อย 2 เมตร
3. ให้งดการจัดกิจกรรมและการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ได้แก่ การจัดงานการกุศลของ องค์กรมัสยิด มูลนิธิ สมาคม ชมรม งานบรรยายศาสนธรรมประจําวัน/ประจําสัปดาห์/ประจําเดือน การออกดะวะห์ การเชิญชวนให้ศาสนิกทําความดี) ทั้งในมัสยิดและสถานที่ต่าง ๆ การเรียนการสอนศาสนา ทั้งการสอนอัลกุรอานและศาสนาภาคบังคับ โดยให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตนให้ทบทวนบทเรียนดังกล่าวภายในบ้าน
4. ให้งดหรือเลื่อนการจัดงานฉลองมงคลสมรสไปก่อน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายไป ในทางที่ดีขึ้นหรือเข้าสู่สภาวะปกติ และหรือให้ทําพิธีนิกะฮ์ (สมรส) เฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่เกิน 10 คน
การปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นความจําเป็นตามเจตนารมณ์สําคัญของ บทบัญญัติศาสนาอิสลาม เพราะการมีสุขภาพร่างกายที่ดีเป็นความโปรดปรานที่อัลลอฮ์พระผู้เป็นเจ้า ทรงประทานให้แก่มนุษย์ทุกคน จึงจําเป็นต้องดูแลรักษาร่างกายให้มีสุขภาพที่ดี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่องค์กร หน่วยงาน หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกําหนด เพื่อการรักษาไว้ซึ่งชีวิตของตนเองและสังคมมนุษยชาติให้รอดปลอดภัยต่อไป ทั้งนี้ ขอให้ทุกคนมีความอดทนต่อสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นและวิงวอนขอดุอา (ขอพร) จากอัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้า ด้วยบทขอพรนี้
اللَّهُمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الْبَرَصِ، وَالْجُنُونِ، وَالْجُذَامِ، وَمِنْ سَيِّئِ الأَسْقَامِ
ความหมาย “โอ้ อัลลอฮ์ ข้าพระองค์ฯ ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากโรคด่างขาว โรควิกลจริต โรคเรื้อน โรคโควิด-19 และความเจ็บป่วยที่เลวร้ายทั้งปวง”
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวข้างต้นให้ถือปฏิบัติจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติหรือ รัฐบาลจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2563
(นายอาศิส พิทักษ์คุมพล)
จุฬาราชมนตรี
- สำนักจุฬาราชมนตรี แถลงการณ์ ขอมุสลิมเคร่งครัด เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
- กรมการปกครอง ประกาศเรื่อง ความคืบหน้าฮัจย์ 2563
- ลานตอวาฟว่างเปล่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ในมหานครมักกะห์
- ฟังเสียงอะซาน เรียกร้องให้ละหมาดที่บ้าน
- COVID-19: ซาอุฯเปิดลานมัสยิดให้ตอวาฟ แต่กั้นห้ามเข้าใกล้กะอฺบะอฺ
- มัสยิดฮะรอม-มัสยิดนะบะวี ถูกปิดหลังเสร็จละหมาดอิชาอฺทุกคืน