ฉันรู้ถึงพลังที่อยู่ในจิตใจของเด็กสาว เมื่อ มาลาล่า ยูซาฟซัย ให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารโว้ค เจอดราม่าหนักที่ปากีสถานบ้านเกิดเธอ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: 'มาลาล่า' สัมภาษณ์ลงนิตยสารโว้ก เจอดราม่าหนักที่ปากีสถานบ้านเกิดเธอ
ฉันรู้ถึงพลังที่อยู่ในจิตใจของเด็กสาว เมื่อ มาลาล่า ยูซาฟซัย ให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารโว้ก เจอดราม่าหนักที่ปากีสถานบ้านเกิดเธอ
มาลาล่า ยูซาฟซัย (Malala Yousafzai) วัย 23 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เธอเคยเกือบถูกสมาชิกตอลิบันเด็ดชีวิตในขณะเป็นวัยรุ่นอายุเพียง 15 ปี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2014 ปัจจุบันเป็นผู้บริหารองค์กรการกุศลระดับโลกเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง ในเดือนนี้ เธอเป็นผู้รับเชิญคนดังในงานคืนสู่เหย้าที่มีชื่อว่า ‘Friend’ และในสัปดาห์นี้เธอได้ขึ้นปกนิตยสารโว้ก ที่ออกในสหราชอาณาจักร (British Vogue)
ภาพปกนิตยสารโว้กฉบับนี้ถ่ายโดยช่างภาพ นิค ไนต์ (Nick Knight) โดยยูซาฟซัยสวมชุดสีแดงสดของแบรนด์ Stella McCartney และผ้าคลุมศีรษะหรือฮิญาบ ภายในนิตยสารยังมีเซ็ตภาพเธอในชุดเชิ้ตสีแดงและกางเกงลินิน ตัดกันกับผ้าโพกศีรษะสีฟ้า ออกแบบโดย กาเบรียลา เฮิร์สต์ (Gabriela Hearst) ดีไซเนอร์ชาวอุรุกวัย
โดยพาดหัวนิตยสาร ระบุว่า “ฉันรู้ถึงพลังที่อยู่ในจิตใจของเด็กสาว: ชีวิตที่ไม่ธรรมดาของมาลาล่า”
ในขณะที่เธอกลายเป็นที่รักของชาวตะวันตก เธอกลับเริ่มถูกเกลียดชังในปากีสถานบ้านเกิด เมื่อปี 2012 เธอถูกส่งตัวออกนอกประเทศเพื่อรักษาบาดแผลที่ถูกสมาชิกตอลิบันยิง เนื่องจากสนับสนุนการศึกษาของเด็กผู้หญิง แต่ในบ้านเกิดของเธอในวันนี้ เธอได้สร้างความแตกแยกขึ้นเสียแล้ว เพราะเธอกลายเป็นไอคอนสำหรับแนวคิดสตรีนิยม ในหมู่ชนกลุ่มน้อยที่เป็นเสรีนิยม
ในสัปดาห์นี้ ชาวปากีสถานที่ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมาก มีปฏิกิริยาตอบโต้เธอด้วยความโกรธเคือง หลังจากที่เธอให้สัมภาษณ์กับนิตยสารโว้ก ว่า “ฉันไม่เข้าใจว่า ทำไมผู้คนถึงต้องแต่งงานกัน (โดยมีพิธีทางศาสนา), ถ้าอยากมีใครสักคนในชีวิต ทำไมต้องจดทะเบียน เราแค่อยู่ (เป็นหุ้นส่วน) กันเฉย ๆ ไม่ได้หรือ”
มาลาล่า ยังบอกว่า แม่ของเธอก็คงเหมือนแม่คนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป ที่จะไม่เห็นด้วยกับการอยู่ด้วยกันเฉย ๆ เธอเล่าขำ ๆ ถึงแม่ว่า “แม่คงบอกว่า – อย่าบังอาจพูดเรื่องอยู่ด้วยกันเฉย ๆ ทีเดียว! เธอต้องเข้าพิธีแต่งงาน , การแต่งงานเป็นสิ่งที่สวยงาม”
บทสัมภาษณ์นี้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ หลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องที่เธออยากจะย้ายออกจากบ้านที่อยู่กับพ่อแม่ ในเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เรื่องที่เธอไปเที่ยวผับกับเพื่อน ๆ และเรื่อง การคลุมศีรษะเป็นเพียงวัฒนธรรม แต่ความคิดเห็นในเรื่องการแต่งงานของเธอเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เกิดความโกรธเคือง
ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งกล่าวว่า เขารู้สึกโกรธที่ตอลิบันไม่ได้ฆ่าเธอ ก่อนที่เธอจะมาให้สัมภาษณ์ในสิ่งที่ทำให้ปากีสถานต้องอับอาย
อีกหลายคนแสดงความเห็นว่า การแต่งงานเป็นซุนนะฮ์ เป็นแนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และมาลาล่ากำลังเยาะเย้ยแนวทางแห่งอิสลาม “การเป็นหุ้นส่วน คือ การล่วงประเวณี”
ปากีสถานเป็นประเทศอนุรักษ์นิยมเต็มขั้น ส่วนมากขายและหญิงจะถูกจับคู่ให้แต่งงานกัน การเป็นหุ้นส่วนชีวิตแบบที่ไม่มีสัญญาการแต่งงานของอิสลามนั้น มีอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงกลุ่มเล็ก ๆ แต่คนทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องลามก
เซียอุดดีน ยูซาฟซัย บิดาของมาลาล่า เขียนปกป้องลูกสาวผ่านทวิตเตอร์ว่า คำพูดของลูกสาวถูกบิดเบือนโดย ‘trolls’ โซเชียลมีเดียตีความสิ่งที่เธอพูดอย่างผิด ๆ โดยตัดมาเพียงบางตอนจากข้อความทั้งหมด แล้วมาเปลี่ยนแปลงและตีความใหม่
มีการเผยแพร่แฮชแท็ก #ShameOnMalala (#มาลาล่าน่าไม่อาย) อย่างกว้างขวางในปากีสถาน แต่มีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่แสดงความชื่นชมและภูมิใจในตัวเธอ พวกเขาแสดงความงุนงง ว่า เหตุใดเธอจึงถูกเกลียดชังทั้ง ๆ ที่เธอเป็นวีรสตรีแท้ ๆ
ที่มา: www.npr.org
http://news.muslimthaipost.com/news/35358
- มุสลิมเชื้อปากีสถานคนแรก ขึ้นแท่นผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจฮุสตัน
- 8 สตรีมุสลิมที่ส่องประกายในปี 2014
- เข้ารับอิสลาม เหตุฝันได้ยินเสียงลูกเรียกจากมัสยิด
- 'ฮิลลารี คลินตัน' ผู้หญิงที่น่าชื่นชมของชาวอเมริกัน
- มาลาลา&ไกลาส ร่วมคว้ารางวัลโนเบลสันติภาพไปครอง หลังเป็นกระบอกเสียงเพื่อเด็ก
- 'มาลาลา-สัตยาธี' รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 2014
- 'มาลาลา' วอน 'ซูจี' ช่วยโรฮีนจา
- มุสลิมเชื้อปากีสถานคนแรก ขึ้นแท่นผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจฮุสตัน